3 ม.ค. 2022 เวลา 00:00 • การศึกษา
Past 2.2 นำการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในหัวข้อที่แล้วเราได้เรียนรู้เรื่องการเรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงงานที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ข้อและเป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนของโรงเรียน Summit ในหัวข้อนี้เราจะพูดถึงขั้นตอนที่ 2 นำการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบ PBL นักเรียนจะได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยนักเรียนจัดกลุ่มกันเอง และสร้างกลุ่มที่สนใจในเรื่องเดียวกันขึ้นมา เพื่อหาข้อมูล หาแหล่งศึกษา จำแนกเนื้อหา สร้างเพลย์ลิสต์การเรียนรู้ ออกแบบหลักสูตรและแผนการเรียน ด้วยตัวของนักเรียนเอง
การที่นักเรียนจะลงมือนำการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น นักเรียนต้องเกิดแรงจูงใจ เพื่อเอาชนะเป้าหมายก่อน
ซึ่งแรงบันดาลใจนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้ารูปแบบการเรียนการสอนยังเป็นแบบเน้นบรรยาย จดเนื้อหา เพื่อนำไปสอบเพียงเท่านั้น แต่นักเรียนต้องรู้จักการกำหนดเป้าหมาย วางแผนระยะสั้น กลาง ยาว จัดการเวลาให้เหมาะสม ร่างแผนการของตนเอง ดำเนินการตามแผน ทบทวนความคืบหน้า หารือกับครูพี่เลี้ยงสม่ำเสมอ และสุดท้ายคือการประเปินตนเองว่าอะไรที่ทำสำเร็จและอะไรที่ทำไม่สำเร็จ
.
ในหนังสือแนะนำการกำหนดเป้าหมายแบบ SMART
โดยในชั่วโมงแรกของสัปดาห์ทั้งครูและนักเรียน จะได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง ตามความตั้งใจของตนเอง มีแพลตฟอร์ม ในการกำหนดเป้าหมาย
การกำหนดเป้าหมายแบบ SMART คือ การกำหนดเป้าหมายที่มีความชัดเจน เป็นจริง ตามกรอบเวลา
S (Specific) เป้าหมายที่กำหนดต้องเจาะจง
M (Measurable) ประเมินผลได้
A (Actionable) ทำได้จริง
R (Realistic) ทำได้จริง
T (Timebound) มีกรอบเวลาที่ชัดเจน
นักเรียนแต่ละคนจะได้ทำตามเป้าหมายของตนเอง บางครั้งก็ร่วมกันทำเป้าหมาย ในขั้นสุดท้ายของชั่วโมง ครูและนักเรียนทุกคนจะร่วมกันสรุป สิ่งที่ได้จากกิจกรรม และจะทำการกำหนดเป้าหมายแบบนี้ในทุก ๆ สัปดาห์
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการกำหนดเป้าหมายด้วยตนเอง นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการทำเป้าหมายให้ทันเวลา
และมีกลยุทธเพื่อทำเป้าหมายให้สำเร็จ โดยมีพฤติกรรมที่แสดงออก 5 ประการ ดังนี้คือ
1)การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
2)การแสวงหาความท้าทาย
3)ความพากเพียร
4)การจัดการอุปกรรค
5)การขอความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
#การนำการเรียนรู้ด้วนตนเอง จะทำให้นักเรียนได้เป็นผู้กำหนดแนวทางของตนเอง ได้ลงมือทำด้วยตนเอง ในเรื่องที่ตนเองสนใจจนเกิดความเชี่ยวชาญ และยังสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนรู้ รู้จักการปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อไปสู่ความสำเร็จ ถึงแม้นักเรียนจะทำเป้าหมายไม่สำเร็จ นักเรียนจะต้องถามตนเองให้ได้ว่า ได้เรียนรู้อะไร ? เราต้องสร้างให้นักเรียนไม่กลัว “ความล้มเหลว” เราต้องสอนให้เขาเรียนรู้จากความผิดพลาด ในการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
ในบางครั้งเราอาจจะต้องปล่อยนักเรียนไปลองผิดลองถูกด้วยตนเองและเจอความผิดพลาดบ้าง ถ้าเขาไม่พบกับความผิดพลาดล้มเหลว เขาอาจจะล้มเลิกทันที ไม่มีใครอยากให้นักเรียนล้มเหลว แต่บางครั้งเราต้องปล่อยให้เขาได้เรียนรู้จากความล้มเหลวโดย ไม่กลัวความผิดพลาด (ถ้าเรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย) ทดลองทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า พลาดแล้วพลาดอีก ระหว่างที่พลาดก็ให้เรียนรู้ หาวิธีการที่จะไม่ทำพลาดซ้ำอีก พูดง่าย ๆ คือ “เราต้องปล่อยให้พวกเขาได้เรียนรู้ และเติบโตด้วยตัวเขาเอง”
#บทบาทของครูที่เปลี่ยนไป “ชั้นเรียนบุฟเฟต์”
บทบาทของครูในการนำความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนคือเปลี่ยนบทบาท เป็นผู้คอยชี้แนะแนวทาง คอยตอบคำถาม คอยเป็นพี่เลี้ยงให้แก่นักเรียนอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่ว่าเราปล่อยให้นักเรียนไปเรียนรู้ด้วยตนเองเพียงลำพัง บางครั้งก็ต้องสอนทักษะที่เขาไม่รู้ และมีความจำเป็นต่องานที่เขาทำบ้าง แต่ต้องระวังในการช่วยเหลือ โดยไม่เป็นการ “ทำแทน” ครูต้องอดทนเล็กน้อย เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเขา มีเวลาในการเรียนรู้ที่เหมาะสม “เชื่อมั่นในกระบวนการเติบโตอย่างเป็นระบบ
ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนที่ 2 การนำความรู้ด้วยตนเอง ครั้งต่อไปเรามาดูขั้นตอน การสะท้อนคิด ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการ “เตรียมพร้อม” ของโรงเรียน Summit
.
ฝากกดไลค์ กดแชร์ เพื่อรับบทความดี ๆ ทุกวันและเป็นกำลังใจให้กับเพจเราด้วยนะครับ ขอบพระคุณทุกท่านมาก ๆ ครับ
Past 2 #เตรียมพร้อมอย่างไร ?
Sarun's School
#การศึกษา
#prepared
โฆษณา