3 ม.ค. 2022 เวลา 06:39
คนเราทำชั่วก็ได้ชั่วแหละครับ...555
ผมมองว่าผู้ตั้งคำถามคงเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะคำว่าทำชั่ว นั่นคือการทำใดๆออกไปคนในสังคมไม่ชอบ นั่นแหละคือการทำชั่ว
ในคำถามที่ว่า ทำชั่วแล้วได้ดี คำว่าดีคงหมายถึงสิ่งของไม่ใช่ความรู้สึก ผมเรียกว่าค่าตอบแทนทางกายภาพนะครับ มันไม่ใช่ความดี
คนทำชั่วแล้วได้ดี หากแปลให้เป็นคำพูดชัดๆ ก็เหมือนกับคำว่า ทำไมคนที่ทำตัวน่ารังเกียจถึงมีแต่คนชื่นชอบ ...ขัดแย้งกันนะครับ แต่หากกล่าวว่า ทำไมคนชั่วถึงหน้าที่การงานเติบโต มีเงินทองมากมายหรือมีชีวิตที่สุขสบาย ครงนี้มาจากองค์ประกอบหลายอย่าง หรือเรียกว่ากรรมครับ กรรม ก็หมายถึงการกระทำ ถึงเขาจะทำในสิ่งที่สังคมไม่ชอบ แต่การกระทำนั้นสร้างผลกำไรมากก็เลยได้ทรัพย์มาก นอกจากกรรมแล้ว ยังมีเรื่อง อำนาจ บารมี ปัญญา เข้ามาอีก
ทั้งหมดนี้พระพุทธองค์เลยไม่เน้นให้ผู้แสวงหาสัจธรรมเพื่อหลุดพ้นปฎิบัติ ไม่ต้องทำดี ไม่ต้งทำชั่ว ให้ปล่อยวาง (ดีชั่วเป็นเรื่องของสังคมคิดขึ้นมาเอง) ในคณะสงฆ์ ก็มีสังคมและก็มีดีชั่ว เพียงแต่ดีในคณะสงฆ์มันสอดคล้องกับการดับทุกข์ส่วนชั่วก็คือสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับการดับทุกข์ ความดีชั่วจึงไม่เหมือนกับสังคมฆารวาทที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามกิเลสครับ...555
โฆษณา