3 ม.ค. 2022 เวลา 07:14 • การศึกษา
ประวัติ คาถานกยูงทอง (โมราปริตร)ในบทสวดมนต์ตามงานมงคลต่างๆ มีเรืองเราใน มหาโมรชาดกดังนี้
ในอดีตกาลนานมา ในสมัยของพระเจ้าพรหมทัตต์ ครองนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดในครรภ์นางนกยูงในป่า ณ เมืองชายแดนต่อมานางนกยูงได้ตกไข่ฟอง ในที่ๆหากิน แล้วบินไป เนื่องจากแม่นกยูงแข็งแรง ไม่มีโรค
ไข่ฟองนั้นจึงเหมือนดอกกรรณิการ์ตูมๆ มีสีเหมือนสีทอง. เมื่อเวลาครบกำหนด เปลือกไข่ก็แตก ฟักออกมาเป็นลูกนกยูงทอง มีตาคล้ายผลกระพังโหมจะงอยปากสีเหมือนแก้วประพาฬ มีสร้อยสีแดงสามชั้นวงรอบคอ ผ่านไปกลางหลัง มีลักษณะเลิศกว่านกยูงทุกตัว.
เมื่อนกยูงโตขึ้น มีร่างกายใหญ่ขนาดดุมเกวียน รูปร่างสง่างาม. ฝูงนกยูงเขียว ทั้งหมด ต่างประชุมกันและยกให้ นกยูงทองเป็นนายของพวกมัน
วันหนึ่งพญานกยูงทองนั้นได้ไปดื่มในสระแห่งหนึ่ง มองเห็นเงาของตนในน้ำ จึงได้รู้ว่าตนนี้มีรูปงามยิ่งกว่านกยูงทั้งหลาย จึงคิดว่า การที่ตัวเองเด่นเกินไป ถ้าเราอยู่ในแดนของมนุษย์ พร้อมฝูงนกยูงเขียวเหล่านี้ อาจจะนำพาภัยมาถึงฝูงจากการถูกมนุษย์ล่า คงต้องไปหาป่าหิมพานต์อาศัยอยู่ลำพังจึงจะพ้ภัย
**พอตอนค่ำ นกยูงทองก็แอบบินออกไปโดยไม่บอกให้ฝูงนกยูงที่หลับอยู่รู้ และบินไปในป่าหิมพานต์ ผ่านทิวเขาไป 3 ทิว จนถึงทิวที่ 4 มีสระน้ำขนาดใหญ่เต็มไปด้วยนอกบัว
มีต้นไทรใหญ่ บนเขาลูกหนึ่ง
ตรงกลางเขามีถ้ำอยู่ พญานกยูงทองจึงบินไปยังถ้ำ เกาะพื้นข้างหน้า และมองอยู่ พบว่าทำเลถ้ำนี้ดี เข้าออกถ้ำไม่ได้นอกจากบินขึ้นลง เป็นที่ปลอดภัยจาก แมว งู มนุษย์ ตรงนี้เหมาะเป็นที่อยู่อันสำราญของเรา
วันรุ่งขึ้น นกยูงทองบินออกจากถ้ำ เกาะที่ยอดเขา หันหน้าทางตะวันออก เห็นพระอาทิตย์กำลังขึ้น จึงเพ่งมอง และสวดพระปริตร เพื่อขอความคุ้มครองตนเองในเวลากลางวัน
โดยภาวนาว่า อุเทตยัญ จักขุมาเอกะราชา แปลว่า พระเจ้าองค์เอก ทรงพระจักษุพระองค์นี้ กำลังอุทัยดังนี้เป็นต้น แล้วร่อนลงไปหาอาหารกิน
โดยใจความแปลของพระปริตร ที่พญานกยูงทองกล่าวมีข้อความดังนี้ว่า
พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ทำพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ทำพื้นปฐพีให้สว่าง ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพราหมณ์ทั้งหบาย ผู้ถึงซึ่งเวท คือความรู้ในธรรมทั้งปวง และขอพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาข้าพเจ้าเถิด ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้ที่พ้นจากกิเลสแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ธรรมอันเป็นเครื่องทำให้พ้นจากกิเลส นกยูงนั้นได้ทำพระปริตรเครื่องป้องกันอย่างนี้แล้ว จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหารในเวลากลางวัน
พระอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทองยังพื้นปฐพีให้สว่าง ย่อมอัสดงคตตกไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเพียงดังสีทอง ทำพื้นปฐพีให้สว่าง ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ถึงซึ่งเวท คือความรู้ในธรรมทั้งปวง และขอพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักาาข้าพเจ้าเถิด ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้องของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้ที่พ้นจากกิเลสแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อใของข้าพเจ้า จงมีแด่ธรรมอันเป็นเครื่องทำให้พ้นจากกิเลส นกยูงนั้นได้ทำพระปริตรเครื่องป้องกันอย่างนี้แล้ว จึงได้สำเร็จการอยู่ในเวลากลางคืน ฯ
วันหนึ่ง ลูกนายพรานคนหนึ่งมาเที่ยวป่า เห็นนกยูงทองเกาะเหนือยอดเขา
ลูกนายพรานจำคำสั่งเสียของพ่อได้ว่า ถ้าพระราชาถามถึงพญานกยูงทองบนเขาเมื่อไหร่ ให้บอกพระราชาทันที
อยู่มาวันหนึ่ง อัครมหสีของพระเจ้าพรหมทัต นามว่า เขมา ฝันเห็นกยูงทองได้แสดงธรรมกับพระนาง เมื่อนางฟังจบก็กล่าวสาธุ พญานกยูงทองก็บินไป นางจึงให้คนทั้งหลายช่วยกันจับนกยูงทองตัวนั้น และตื่นขึ้นพอดี พระนางอยากบอกความฝันกับพระราชา แต่กลัวจะไม่เชื่อ จึงแกล้งทำเป็นแพ้ท้อง พระราชาจึงถามพระนางว่า เธอไม่สบาย เป็นอะไรหรือเปล่า
นางเขมาจึงตอบว่า อยากฟังธรรมจากพญานกยุงทอง
พระเจ้าพรหมทัตก็สงสัย จะไปหาจากไหนได้ แต่นางยังคงคะยั้นคะยอ ตัดพ้อว่า ถ้าไม่ได้ฟังละก็ ไม่ขอมีชีวิตต่อไป พระราชาจึงปลอบว่า ก็ได้ๆเดี๋ยวหาให้
พระราชากลับมานั่งที่บัลลังก์กลุ้มใจ และถามบรรดาเสนาอำมาตย์ว่า จะหานกยูงทองจากไหนดี
พวกอำมาตย์จึงให้ไปถามพวกพราหมณ์
พวกพราหมณ์จึงตอบว่า ทั้งสัตว์น้ำ ปลา เต่า ปู กวาง หงษ์ นกยุง นกกระทา มีพวกที่สีเหลืองเหมือนทองอยู่ มนุษย์ที่มีผิวสีเหลืองเหมือนทองก็มีอยู่ในคัมภีร์ลัษณมนตร์ของพวกข้าพระองค์มีอยู่พระเจ้าข้า
พระราชาจึงเรียกพวกลูกนายพรานในแคว้นมาถาม ได้คำตอบว่า แม้ไม่เคยเห็น แต่พ่อบอกเอาไว้ว่าอยู่ตรงโน้น พระราชาจึงสั่งให้จับนกยูงทองมาให้ได้ และประทานทรัพย์จำนวนมากให้กับพราน และลูกเมียเป็นรางวัล
นายพรานจึงไปยังที่ของนกยูงทองและทำบ่วงดักรอ แต่ไม่ว่าจะดักกี่วัน ก็ไม่ติดกับสักที
นางเขมาเมื่อไม่สมปรารถนาจึงตรอมใจตายไปเพราะไม่สมปรารถนา
พระราชาจึงโกรธมาก เพราะนกยูงทองตัวนี้จะทำเมียตรอมใจตาย และ เขียนในแผ่นทองประกาศว่า ทิวเขาที่สี่ในป่าหิมพานต์ มีนกยูงทองอาศัยอยู่ ถ้าได้กินเนื้อนกยุงตัวนี้ คนนั้นจะไม่แก่ไม่ตาย และเอาแผ่นทองใส่ในหีบไม้แก่น และสวรรคต
มาในสมัยพระราชาองค์ต่อมา ได้เปิดหีบไม้ดู จึงปรารถนาจะกินเนื้อนกยูงทอง เพื่อเป็นอมตะ
จึงส่งพรานคนหนึ่งไปจับพญานกยุงทองตัวนั้น แต่เมื่อพรานคนนั้นไปก็จับไม่ได้สักที และตายก่อน
จนล่วงเลยมา 6 รัชกาลแล้ว ลูกพรานก็ตายไปทั้ง 6 คน
พอมาถึงสมัยราชาคนที่ 7 ก็ให้พรานรุ่นที่ 7 ไป แต่เมื่อจะจับแล้วก็เวลาล่วงเลยไป 7 ปี
พรานคนนั้นจึงคิดสว่า ทำไมบ่วงจึงไม่รูดรัดขาของพญานกยุงทองซักทีกันนะ
***จึงแอบดุ ก็พบว่า พญานกยูงทองกำลัง เจริญพระปริตรทุกเช้า และใช้อำนาจแห่งการถือพรหมจรรย์ บ่วงจึงไม่ติดเท้า
นายพราน จึงไปยังปัจจันตชนบท ดักนางนกยูง และฝึกให้มันฟ้อนรำด้วยการตบมือ จนเมื่อทำตามแล้ว ก็เอาไปใช้ล่อนกยูงทอง
เมื่อพญานกยูงทองได้เห็นนางนกยุง จากที่กดข่มกิเลสไว้ 700 ปี เจอนางนกยูงก็เกิดความกระสันทันที และไม่สามารถเจริญสมาธิได้ และบินตามนางนกยูง ไปติดบ่วงในพรานที่ไม่เคยรูดเท้าได้มาตลอด และห้อยหัวลง
นายพรานเมื่อได้เห็น ก็คิดว่าพญาสัตว์ตัวนี้ จับไม่ได้มาตลอด 700 ปี แต่มาเสียท่าด้วยอำนาจแห่งกิเลส การเอาสัตว์มีศีลเช่นนี้ไปให้พระราชาเพื่อหวังบรรณาการ ไม่ควรเลยสักนิด และจะปล่อยพญาสัตว์
แต่อีกใจก็คิดว่า นกยูงตัวนี้มีกำลังเหมือนช้างสาร แรงเยอะ เข้าไปใกล้อาจจะโดนจิกฆ่าได้
แต่ถ้าดิน เท้ากับปีกจะเสีย จึงคิดจะไม่เข้าไปใกล้ และตัดบวกด้วยคมลูกศรแทน จึงยกธนูขึ้นสอดลูกศร และยืนจ้องอยู่
**ฝ่ายพญานกยูงทองคิดว่านายพรานกำลังซุ่มยิงธนูเพื่อสังหารจากระยะไกลจึงร้องข้อชีวิตว่า
เฮ้เพื่อน ถ้าท่านจะจับข้าเพิ่มหวังเงินราวัลละก็ อย่าฆ่าข้าพเจ้าเลย จับเป็นไปให้พระราชาดีกว่านะ ท่านจะได้ทรัพย์ไม่ใช่น้อยๆเลย
ลูกนายพรานได้ยิน จึงคิดว่า พญานกยูงคงคิดว่าตนเอาลูกศรเล็งเพราะจะยิงใส่ จึงปลอบใจว่า
เราไม่ได้จะฆ่านะ เราจะตัดเชือกด้วยลูกธนูต่างหาก
พญานกยูงจึงถามกลับว่า ท่านดักจับข้ามา 7 ปี อดทนมาตั้งมาก พอจับได้ ก็จะมาปล่อย ท่านปล่อยข้าเพราะอะไร มาถือศีลงดปาณาติบาตซะแล้วหรือยังไง
ทั้งสองจึงสนทนาเรื่อง โลกนี้กับโลกหน้า และการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์จะได้ไปสวรรค์
นายพรานอธิบายว่า การที่ตนมาเป็น Hunter ก็เพราะ พราหมณ์พวกหนึ่งที่สอนผู้คนว่า เทวดาไม่มีจริง กรรมดีกรรมชั่วไม่มี ทานเป็นเรื่องของคนโง่บัญญัติไว้ เพราะตนหลงคารมพวกพราหมณ์กลุ่มนี้ จึงประกอบอาชีพนายพราน
ส่วนพวกชีเปลือยผู้มีวาทะว่าทถกอย่างขาดสูญ และเป็นพวกใกล้ชิดกับพวกนายพรานแบะชักชวนให้นับถือ ลัทธิอุจเฉทวาท หรือ Nihilism กันไปหมด เพราะหลงเชื่อชีเปลือย
เพราะเชื่อว่า ผลแห่งกุศล อกุศลไม่มี จึงฆ่าฝุงนก และนึกว่าพวกชีเปลือยเป็นอรหันต์
พญานกยูงได้ยิน จุงตำหนิว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งที่บอกทุกอย่างไม่มีจริง บอกว่า ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ไม่มีในโลกนี้ แต่มีในโลกหน้า แต่ยังบอกว่า ดาวทั้งสองเป็นเทวดาในมนุษย์โลก ดูแล้วย้อนแย้งกันดี
การที่บอก กรรมดี กรรมชั่วไม่มีจริง ทานคือเรื่องของคนโง่ ล้วนแต่เป็นวาทะเลวทรามทั้งสิ้น และท่านหลงผิดแล้ว
นายพรานจึงตอบว่า ท่านกล่าวถูกแล้ว แล้วข้าพเจ้าควรทำอย่างไรดีจึงจะไม่ไปนรก โปรดบอกข้าด้วยเถิด
พญานกยูงจึงบอกว่า มีสมณะกลุ่มนึงที่เป็นภิกษุห่มผ้าย้อมฝาด บิณฑบาตไปด้วยอาการสงบรำงับ และสอนเรื่องโลกหน้าให้เกรงกลัวภัยนรก จากนั้นก็สอนนายพรานถึงธรรมะจากพ0ระภิกษุของพระพุทธเจ้า
นายพรานคนนี้ แท้จริง เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าที่มีบารมีใกล้เต็ม และญาณแก่กล้าแล้วเมื่อพิจารณาไตรลักษณ์ จึงได้บรรลุอรหันต์เป็นพระปัจเจกในที่สุด
จากนั้นก็ถามพยานกยูงต่อ่า เราจะปล่อยนกที่โดนกักขังที่เหลืออยู่ในนครของตนยังไงดี
นกยูงทองจึงแนะนำให้สัจจกิริยา กล่าวคามสัตย์ ให้นกทั้งหลายพ้นจากการกักขัง กลบในที่ของตน
เมื่อกล่าวคำสัตย์จบ นกทั้งหลายที่โดนขัง โดนบ่วง หรือโดนแมวตะครุบ ต่างหลุดออกจากการโดนจับ และบินออกจากเรือนทุกหนทุกแห่ง
พระปัจเจกพุทธเจ้า ยกมือลูบศรีษะ ก็กลายเป็นเพศนักบวชทันที เหมือนพระเถระ 60 พรรษา มีบาตรจีวร อัฐบริขารพร้อม
และกล่าวยกย่องไหว้นกยูงทองในฐานะที่พุึ่ง หลังจากกระทำประทักษิณ ก็เหาะไปยังเงื้อมผาชื่อ นันทมูล
นกยูงทอง ก็กระโดดจากปลายคันแร้ว ไปหาอาหารที่เดิม
เมื่อเล่าชาดกจบ พระพุทธเจ้าจึงสรุปว่า นายพรานนั้นดักพญานกยูงได้ ก็ได้พ้นทุกข์ เหมือนที่เราพ้นทุกฉันนั้น
พระปัจเจกพุทธเจ้าในตอนนั้นก็ปรินิพพาน
พญานกยุงทองนั้นคือ เราตถาคต ผู้เป็น สัมมาสัมพุทธเจ้าในตอนนี้นี่เอง
สำหรับคาถาของพญานกยูงทองที่ชื่อว่า โมราปริตรนั้น มักอยู่ใน บทสวด 7 ตำนาน หรือ 12 ตำนาน ในหนังสือมนต์พิธี หรือ สวดมนต์ข้ามปี มักสวดในงานมงคล เช่นงานแต่งงาน เป็นปริตรที่รู้จักทั้งในไทย และพม่า
โดยเชื่อกันว่า สวดคาถานกยุงทอง เพื่อให้ตนเองคลาดแคล้วจากอันตราย เหมือนที่พญานกยุงทองลอดจากบ่วงของนายพรานมาตลอด 700 ปี ก่อนที่จะมาติดนางนกยูงพลาดท่าให้กับกิเลส
คาถานกยูงทอง
  • คาถานกยูงทอง
  • ศาสนาพุทธ
  • พุทธศาสนา
  • ชาดก
  • นิทานชาดก
โฆษณา