4 ม.ค. 2022 เวลา 00:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปเรื่อง “LTF”
การนับปีของ LTF นับตามปีปฏิทิน ถ้าซื้อก่อนปี 2559 ต้องถือไว้อย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน ถ้าซื้อตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ต้องถือไว้ อย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน ซึ่งปี 2565 เป็นปีแรกที่ LTF ที่ซื้อปี 2559 ครบกำหนดขายได้ตามเงื่อนไขใหม่
การนับตามปีปฏิทินตามเงื่อนไขของ LTF มาดูตัวอย่างกัน ถ้าเรามีการซื้อ LTF 3 ครั้งในปี 2559 เช่น เดือนมกราคม เดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม 2559 จะนับทั้งหมดตรงนี้ซื้อในปี 2559 และนับเป็นปีปฏิทินที่ 1 และนับปี 60 เป็นปีที่ 2, ปี 61 เป็นปีที่ 3, ปี 62 เป็นปีที่ 4, ปี 63 เป็นปีที่ 5, ปี 64 เป็นปีที่ 6 และปี 65 เป็นปีที่ 7
LTF ลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 62 และมี SSF ในปี 63 ซึ่งการนับปีของ SSF เป็นการนับแบบวันชนวัน และต้องถืออย่างน้อย 10 ปี จะเห็นว่า การนับปีเพื่อครบเงื่อนไขการถือครอง และระยะเวลาต่างจาก LTF ชัดเจน
LTF ถึงแม้จะไม่สามารถลดหย่อนได้แล้ว ก็ยังมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารดูแล LTF ให้นะ
LTF ที่ครบกำหนดแล้ว ถ้าจะถือต่อ ก็สามารถถือต่อไปได้ ไม่ได้ว่าต้องขายทันทีเมื่อครบกำหนด และเมื่อครบกำหนดแล้วจะขายเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งการขาย LTF ควรเลือกขายเป็น “จำนวนหน่วยลงทุน” ไม่ควรเลือก "จำนวนเงิน" เพื่อจะได้ไม่ขายเกินในส่วนที่ยังไม่ครบกำหนด
ส่วนรายละเอียดว่า ครบกำหนดขายได้มีอยู่กี่หน่วย ของแต่ละกองจะมีแสดงไว้ให้เราเห็นนะ
ขายคืน LTF แบบถูกเงื่อนไข ก็ต้องยื่นภาษี ซึ่งไม่มีผลต่อภาษี แต่จะได้ไม่ต้องเสียเวลา ที่อาจถูกพี่สรรพากรตามมาให้แก้ให้ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้นถ้าขายปีนี้ ก็เก็บใบรายละเอียดที่ทาง บลจ. เขาส่งมาให้ไว้กรอกยื่นภาษี ซึ่งปีภาษี 65 ก็จะยื่นตอนต้นปี 66 นะ
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#กองทุนรวม
#LTF
#ขายLTF
#เงื่อนไขLTF
โฆษณา