4 ม.ค. 2022 เวลา 03:23 • ปรัชญา
คำว่า "คนอวดฉลาด" ส่วนตัวแล้ว เรา judge ตรงที่ "กาลและเทศะ" ซึ่งก็คือเวลาและสถานที่ ยกตัวอย่าง หากคุณอยู่ในห้องประชุมและเกิดคำถามหนึ่งขึ้นมาในที่ประชุม แล้วมีสมาชิกท่านหนึ่ง รู้ลึกรู้ดี จึงตอบคำถามนี้ทันใด บางครั้งแม้คำตอบนี้จะมีส่วนถูกแต่มันอาจจำเป็นต้องมีข้อพิสูจน์อ้างอิงเพิ่มเติม ดังนั้น คำตอบที่อวดฉลาด ก็อาจทำให้ที่ประชุมเกิดความโกลาหลได้ (นี่คือ บทเรียนความอวดฉลาดของเราในอดีตและเป็น lesson learned สำคัญที่มักนำเอามาใช้สอนน้องๆค่ะ)
คนอวดฉลาด อาจเป็นคนที่เก่ง รู้จริงและหัวไว แต่วิจารญาณในการอวดแสดงเป็นเรื่องเฉพาะตัว และต้องไม่ปฏิเสธว่าคำนี้ จะถูกมองและตัดสินโดย"คนอื่น" โดยที่เจ้าตัวอาจไม่รู้ตัว หรือหากรู้ตัว เจ้าตัวก็อาจจะไม่ใส่ใจ และ/หรือไม่สนใจ แถมคนที่มองก็หลากหลาย บ้างหมั่นไส้ โดยไม่มีเหตุผล แถมไม่เวทนาตัวเองบ้างเลย บ้างเฉยๆ บ้างนินทา ก็ว่ากันไปค่ะ
คนๆนี้ ไม่ใช่คนเลว หรือเป็นพฤติกรรมที่ควรถูกต่อว่าต่อขาน สิ่งที่ควรต่อว่าต่อขานคือ "การอวดฉลาดโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ" หรือ "กาลเทศะ" ต่างหาก
ขอบคุณคำถามค่ะ :)
โฆษณา