Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungsri Simple
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2022 เวลา 03:00 • ไลฟ์สไตล์
ควรมีสัดส่วนหนี้สินไม่เกินเท่าไหร่ ถึงจะบอกได้ว่า “เรามีสุขภาพการเงินที่ดี”
เรื่องหนึ่งที่เราทุกคนตรวจทำกันทุกปีก็คือ "การตรวจสุขภาพประจำปี" เพื่อตรวจสอบร่างกายของเราว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ มีอะไรตรงไหนที่ควรระวังบ้าง หรือถ้าเกิดอะไรผิดปกติจะได้รีบจัดการแก้ไขก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะปัญหาเรื่องของสุขภาพส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นปัญหาที่จะสะสมเป็นเวลานานกว่าจะแสดงอาการ หลาย ๆ ครั้งถ้ารอให้แสดงอาการป่วยก็อาจจะรักษาไม่ทันหรือถ้าเข้ากระบวนการรักษาก็จะมีต้นทุนที่สูงอย่างเช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น
1
ซึ่งเชื่อหรือไม่ว่าในเรื่องของการเงินเองก็มีสิ่งที่เรียกว่าการตรวจ "สุขภาพการเงิน" ด้วยเช่นกัน เพราะปัญหาเรื่องของการเงินมีความใกล้เคียงกับปัญหาสุขภาพ ตรงที่ว่าปัญหาเรื่องของเงินจะแสดงอาการให้รู้สึกได้ หลาย ๆ ครั้งปัญหานั้นก็ใหญ่และกินระยะเวลานานไม่ต่างจากโรคมะเร็งที่เรารู้จักเลย
ควรมีสัดส่วนหนี้สินไม่เกินเท่าไหร่ ถึงจะบอกได้ว่า “เรามีสุขภาพการเงินที่ดี”
ตัวอย่างปัญหาทางการเงินที่พบบ่อยมากที่สุดก็คือ ปัญหาเรื่องของ "หนี้สิน" และ “เงินออม” ที่หลาย ๆ ครั้งกว่าจะรู้ตัวว่าตัวเองมีปัญหา ปริมาณหนี้ก็เพิ่มพูนเป็นก้อนโตจนไม่สามารถผ่อนจ่ายได้ หรือบางครั้งก่อหนี้ด้วยความรู้และคิดว่าตัวเองสามารถรับมือได้ แต่สุดท้ายก็กลายมาเป็นปัญหา ซึ่งถ้าหากเรามีการตรวจสุขภาพตัวเองอย่างต่อเนื่องเราก็สามารถพบเจอปัญหาได้และแก้ไขได้เร็ว
1. เราไม่ควรมีหนี้สินเกิน 50% ของสินทรัพย์ทั้งหมด
โดยหลักการแล้วเกณฑ์มาตรฐานที่แนะนำก็คือ ไม่ควรมีหนี้สินเกิน 50% ของสินทรัพย์ที่มีทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ณ ปัจจุบันเรามีสินทรัพย์มูลค่าทั้งหมด 1,000,000 บาท ประกอบไปด้วยเงินฝาก 200,000 บาท รถยนต์มูลค่า 500,000 บาท กองทุนรวม 250,000 บาท และสินทรัพย์อื่นรวมกันอีก 50,000 บาท ซึ่งด้วยหลักมาตรฐานแนะนำไว้ว่า เราไม่ควรมีหนี้ทุกประเภทรวมกันเกิน 500,000 บาทนั่นเอง เหตุผลก็เพื่อป้องกันไม่ให้เราเป็นหนี้เกินจำเป็นและมีภาระที่ต้องชำระคืนในอนาคตที่สูงจนเกินไป เพราะโดยธรรมชาติของหนี้ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ภาระเรื่องของ “ดอกเบี้ย” ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
2
ซึ่งถ้าหากเราตรวจสุขภาพทางการเงินของตัวเองแล้วพบว่า ณ ปัจจุบันมีหนี้สินเกิน 50% ของสินทรัพย์ เราก็จะได้เริ่มระมัดระวังตัวเองในการก่อหนี้ในอนาคต หรือเร่งออมเงินเพื่อให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น และลดสัดส่วนหนี้สินรวมลงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
2. การผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ทั้งหมด
อีกหนึ่งเกณฑ์มาตรฐานที่แนะนำให้ตรวจสอบดูทุกครั้งก็คือ "ภาระการผ่อนชำระในแต่ละเดือน" ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งภาระการผ่อนชำระก็จะนับรวมการผ่อนรายการที่เป็นหนี้ทั้งหมด เช่น ค่าผ่อนรถยนต์ ผ่อนบ้านที่อยู่อาศัย รวมไปจนถึงภาระการผ่อน 0% ทั้งหมดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนด้วย
ส่วนเหตุผลที่แนะนำว่าไม่ควรเกิน 40% ก็เพราะว่าเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถชำระในอนาคตได้ ในกรณีที่รายได้ขาดหายหรือว่ารายได้ลดลง นอกจากนี้เหตุผลที่เกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ 40% ก็เพราะว่าเราจะได้เหลือเงินไปจัดการเป้าหมายการเงินอื่น ๆ ในชีวิตด้วย อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าเบี้ยประกันสำหรับการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ หรือถ้าใครที่มีครอบครัวแล้ว ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาของบุตรและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย
จะเห็นได้ว่าในแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าหาก "ภาระการผ่อนชำระ" ในแต่ละเดือนสูงมากจนเกินไปอาจจะทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินอื่น ๆ ที่สำคัญได้ ซึ่งเมื่อตรวจสุขภาพทางการเงินแล้วพบว่ามีภาระก่อนผ่อนชำระที่ใกล้เคียงหรือเกิน 40% ไป เราก็อาจจะเริ่มระมัดระวังในการก่อหนี้อื่น ๆ เพิ่มในอนาคต หรือพยายามปิดชำระหนี้ที่สามารถปิดได้ก่อนเพื่อให้ภาระลดลงก็ได้เช่นกัน หรือถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องก่อหนี้จริง ๆ เราได้เร่งมือหารายได้เพิ่มเติมเพื่อเตรียมรับภาระหนี้สินที่กำลังจะเพิ่มขึ้น
3. ควรมีเงินออมอย่างน้อยที่สุด 10% ทุกเดือน
เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินประโยคว่า “คนจะรวยไม่วัดกันว่ามีรายได้เท่าไหร่ แต่ต้องดูที่ว่าเหลือเก็บเท่าไหร่” เพราะปัญหาเรื่องการเงินก็สามารถเกิดกับคนที่มีรายได้ที่สูงได้เช่นเดียวกัน ถ้าหากไม่มีเงินออมเลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาการเงินในอนาคตอื่น ๆ ตามมาได้ อย่างเช่น มีเงินเก็บไม่พอเกษียณ หรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน อย่างค่ารักษาพยาบาลหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ก็อาจจะทำให้ไม่มีเงินมาใช้ในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ซึ่งเงินออมเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดสุขภาพทางการเงินที่ดีได้ โดยค่ามาตรฐานที่แนะนำก็คือ ควรมี “เงินออมอย่างน้อยที่สุด 10% ของรายได้ที่หาได้ในแต่ละเดือน” เพื่อช่วยให้เราสามารถมีเงินออมสำหรับเป้าหมายการเงินต่าง ๆ ในอนาคตได้
ทั้งนี้เรื่องของสุขภาพทางการเงินไม่ได้มีแต่เรื่องของ "หนี้สิน" หรือ “เงินออม” เท่านั้น ยังมีอีกหลากหลายแง่มุม สำหรับใครที่สนใจแนะนำให้ลองเข้าไปตรวจสุขภาพทางการเงินได้ เพื่อตรวจสอบดูสถานะปัจจุบันของตัวเราว่าเป็นอย่างไร มีตรงไหนที่ต้องระวังเป็นพิเศษหรือไม่
ทั้งนี้เกณฑ์ต่าง ๆ เป็นเพียงค่า "มาตรฐาน" ให้เราใช้เป็นหลักในการตรวจสอบสถานะทางการเงินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร ซึ่งหลาย ๆ ครั้งก็อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อ่านเพิ่มเติม
krungsri.com
3 วิธีเช็กสุขภาพการเงินที่ง่ายกว่าที่คิด
เข้าใจและรู้ใจลูกค้า ด้วยบริการสินเชี่อส่วนบุคคลที่หลากหลายและครอบคลุมทุกความต้องการ โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา
25 บันทึก
19
2
28
25
19
2
28
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย