4 ม.ค. 2022 เวลา 17:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ
⭐ สรุป Oppday CPALL Q3/2021: ร้านสะดวกซื้อที่รายได้หายแค่ 4% แต่กำไรสุทธิลดไปถึง 63% ⭐
Published: 25 Nov 21
ที่ผ่านมาร้าน 7-11 ยอดขายตกลงอย่างหนักจากมาตรการ lockdown และจากการขาด นทท.ต่างชาติ ในไตรมาสนี้ส่งผลกำไรสุทธิลดลง 63% เพราะแต่เดิม NPM ของ 7-11 ก็ต่ำอยู่แล้วมาจาค่าใช้จ่ายคงที่ที่เกี่ยวการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารค่อนข้างสูง และยังบวกกับภาระดอกเบี้ยจากหนี้เงินกู้ที่ต้องจ่าย ทำให้ไตรมาสนี้กำไรลดลงฮวบฮาบ ถึงแม้รายได้จะหายไป 4% ก็ตาม
1. ลักษณะธุรกิจ
- ดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-11 และลงทุนในธุรกิจ cash & carry ภายใต้ Makro
2. ภาพรวมและผลการดำเนินงาน 9M21
✔ รายได้ลดลง 4% และกำไรสุทธิลดลง 63%
✔ ยอดขาย 62% มาจาก 7-11 ส่วน 38% เป็น Makro
✔ จำนวนสาขา 3Q21 มีทั้งหมด 12,882 สาขา อยู่ในปั้มปตท. 15% (1,889 สาขา)
✔ ยังตั้งเป้าขยายสาขาปีละ 700 สาขา แต่เปิดไปแล้ว 450 สาขา
✔ SSSG ลดลง 9.2% เพราะเจอ lockdown เปิดแได้แค่ 04.00 - 20.00
✔ Average dailt sales/ store 62,281
✔ ลูกค้าเข้าร้านลดลง 730 คน แต่ยอด average per Bill ปรับดรขึ้นเป้น 85 บาท
✔ ค่าใช้จ่ายในการขายหลักเป็นค่าใช้จ่ายพนักงาน 29%
✔ GPM รอบนี้ ลดลง เนื่องจาก makro ขายดีขึ้นซึ่งเป็นธุรกิจที่ GPM ต่ำทำให้มากกดดัน GPM CPALL
✔ NPM ลดลงเหลือ 1.1% เพราะดอกเบี้ยจ่าย Lotus เข้ามาด้วยส่วนนึง
✔ หนี้สินสุทธิ 1.8x ยังน้อยกว่า 2 เท่า
✔ โอนกิจการ Lostus Aisa ให้ Siam Makro ทำ
▬ 7-11 Breakdown (12,822 สาขา) ▬
By Area
- BKK: 57%
- Provincal: 43%
By Stand Alone/ In PTT Gas Station
- Stand Alone: 15%
- In PTT Gas Station: 85%
Coporate/Business Partner
- Coporate: 53%
- Business Partner 47%
▬ Revenue Contribution 3Q21 (GPM) ▬
- Food & Beverage Product: 74% (26.6%)
- Non-Food Product: 26% (26.5%)
▬ SG&A Expense Breakdown ▬
- Personel: 29%
- Store MGT Fees: 16%
- Rental and D&A: 19%
- Advertising: 14%
- Utilites: 9%
- Other: 13%
▬ Finance 3Q21 ลบ. (%) ▬
- Revenue: 135,500 (-4% yoy)
- NP: 3,998 (+63% yoy)
- GPM: 21% (-1% yoy)
- EBIT Margin: 3.4% (-1.6% yoy)
- EBITDA Margin: 7.6% (-1.2% yoy)
- NPM: 1.1% (-1.9% yoy)
3. แผนงานในอนาคตและการเติบโต
▬ แผนและแนวโน้ม 4Q21 ▬
- ตั้งเป้า 700 สาขา ซึ่งตอนนี้เหลืออีก 250 สาขาที่ต้องเปิด
▬ แผนและแนวโน้มการเติบโต 2022 ▬
- ตั้งเป้า งบลงทุน 12,000 ลบ. ในการเปิดร้าน 700 สาขา
4. ข้อมูลอื่นๆใน Q&A Section
- 4Q21 ตอนคลาย lockdown ลูกค้าเข้าร้าน 7-11 และยอดใช้จ่ายต่อบิลากขึ้น และ Delivery เป็นตัว drive ให้ยอดขายเฉลี่ยต่อบิลมากขึ้น
- สินค้าแบรนด์ CPALL ทาง CPALL จะเป็นคนทำ marketing expense
- ปีนี้ทำไม่ทำโปรโมชัน Stamp ซึ่งเป็นตัว Drive ทำให้ยอดขายดี เพราะตรงกับช่วง Lockdown
- แผนการเปิดสาขา7-11 เปิดได้ตามใบอนุญาติของเจ้าของ Lisense ตอนนี้มีลาวและกัมพูชา
- ก่อนโอนกิจการ CPALL จะ Consilidated งบ makro เข้ามาทั้งหมด และรับส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจาก Lotus Asia
- 4Q21 เป็นต้นไป งบ Lotus จะไปอยู่ใน Makro ทั้งหมด แล้ว CPALL จะ Consolidated งบ Marko มาทั้งหมด
- ผบห.ยังเชื่อว่าแน้วโน้ม Covid-19 มีแนวโน้มดีขึ้น
- สาขาที่มีพื้นที่ค่อนข้างเยอะ ส่วนมากจะเป็นของ CPALL ลงทุนเองเพราะใช้มูลค่าเงินลงทุนสูง
- เมนูข้าวกล่อง Chefcare กำไรเข้ามูลนิธิทั้งหมด
💡 Key Takeaways 💡
- ยังครองส่วนแบ่งร้านสะดวกซื้อในประเทศเป็นอันดับ 1 เหมือนเดิม จุดแข็งของ 7-11 เลยเรื่องของ Food & Service และความ Variety ของสินค้า นี่แหระที่เจ้าอื่นมีไม่เท่า ยิ่งจำนวนสินค้ามีใน 7-11 หลากหลายเท่าไหร่คนน่าจะยังเลือก 7-11 ต่อไป
- รายได้ลดลงไปไม่เยอะ แต่กำไรหายหมดเพราะมาจาก NPM ที่บาง แต่ยังมีจุดแข็ง ทำให้กลายเป็นธุรกิจที่หน้าใหม่ไม่อยากเข้า เพราะลงทุนเยอะกำไรน้อย
- รอดูปีหน้า ถ้าไม่มี lockdown จะเห็นภาพของ Online ชัดขึ้นว่าจะมาแทนพวก นทท.ต่างชาติได้ไหม
- สาขาที่เปิดใหม่ที่ใช้เงินลงทุนสูงยังมี Oppunity ในการหารายได้ในอนาคตอีก
- จำนวนสาขา 12,688 สาขา ถือว่ามีช่องทางการจำหน่ายเยอะสุด สมมุติคิดแบบสุดโต่ง 7-11 เอาลูกอมมาขายเม็ดละ 1 บาทเข้ามาขาย แล้วขายได้วันละเม็ด จะ convert เป็นรายได้ 4.6 ล้านบาทต่อปี
- ถ้าเราลองใช้ logic ด้านบน ลองดูว่ากลุ่มสินค้าช่วงไหนเป็นกระแสมากๆ แล้วขายดี ราคากี่บาท ก็คูณไปเราจะพอเห็น Momentum ได้บ้าง
ใครมีความคิดเห็นใดๆสามารถ commnet ได้นะครับ
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ 😄
สามารถฟัง Oppday ตัวเต็มได้ที่ ▶️ https://www.youtube.com/watch?v=-0wzc6Lupho
โฆษณา