8 ม.ค. 2022 เวลา 14:05
เราควรเรียนรู้อะไร เพื่ออยู่ได้ในโลกอนาคต? -บทที่2/2
(อ่านบทที่ 1/2 ย้อนหลังได้ที่)
กลับมาต่อที่แนวคิดของ โรงเรียนแนวใหม่ Samskriti ในเมือง Isha ที่วางหลักสูตรเตรียมสร้างเด็กในยุคอนาคต...
... นอกจากโรงเรียนนี้จะเน้นพัฒนาศักยภาพ ที่ตรงจุดแล้ว เค้าอาศัยแนวคิดว่า... หากกระบวนการ (process) การเรียนรู้ ได้กำหนดมาถูกต้อง แล้ว ... ผลลัพธ์ที่สำเร็จ มันจะตามมาเอง อย่างไม่ต้องกังขา....
เด็กๆที่ผ่าน "กระบวนการเรียนรู้" แบบนี้ไป ..ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดๆ ทั้งที่มีอยู่ และอาชีพที่เป็นของใหม่ในอนาคต...จะไม่เป็นปัญหาสำหรับเด็กเหล่านี้
แนวคิด เน้น process นี้ เคยมีอาจารย์ท่านนึง ใช้ยกตัวอย่าง การสอน ยิงธนู ขึ้นมาบ่อยๆ... กล่าวคือ... การ เน้นท่ายืน ท่ายก การจับ การจัดระเบียบร่างกาย ก่อนการยิง แม้จะหลับตาตอนยิง มันก็จะไม่คลาดเป้า ..
ส่วนคนที่ไม่เน้นการจัดระเบียบร่างกาย (ที่เป็น
กระบวนการ) แต่พึ่งการใช้สายตา เล็งที่เป้าเพียงอย่างเดียว เมื่อความมืดมาเป็นอุปสรรค ย่อมหมดทางชนะ
เรื่องแนว how to นั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนที่ขวนขวายเรื่อง "การเรียนรู้อย่างยั่งยืน" ต้องเคยได้ยินมาบ้าง
... คนเรา ย่อม อยากเรียนรู้ วิธีการตกปลา..มากกว่า... การเรียนนับปลาที่ตกเสร็จแล้ว
แน่นอน how to เป็นสิ่งสำคัญ... แต่ระบบการศึกษากลับไม่เน้นที่ how to learn (ซึ่งโฟกัสไปที่ตัววิธีหรือตัวกระบวนการในการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด)
ยิ่งในเมืองไทย... พวกเราโตมาในระบบการศึกษา ที่มีคนกำหนดหลักสูตร ตารางสอน และอาจารย์เดินมาบอกทุกอย่างให้จำ มาโดยตลอด....จนกลายเป็นความเคยชิน และดำดิ่งลงไปในเนื้อหาของสิ่งต่างๆ... เอาผลลัพธ์คือคำตอบที่ถูกใจอาจารย์มากากบาทในข้อสอบ.. ไม่ค่อยได้กลับมาตกผลึก ที่ตัวกระบวนการเรียนรู้ของตัวเอง
...แม้แต่ แพทย์ ซึ่งน่าจะเป็นคนที่ฉลาด ความจำเป็นเลิศ.. ก็ถูกหล่อหลอมให้อยู่ในแม่พิมพ์แห่งการเน้นตัวคำตอบสุดท้ายเช่นกัน..
มีอาจารย์หมอท่านหนึ่ง กล่าวถกปัญหาด้านการศึกษาของแพทย์ไว้... คร่าวๆ ว่า
....ในกระบวนการเรียนแพทย์ หลักสูตรมันกำหนดให้แพทย์คิดเหมือนๆกัน .. จะสอบได้ดีก็ต่อเมื่อตอบได้ตรงกับที่อาจารย์พูด ... และวิธีการที่ใช้มากที่สุดคือ การให้ฟังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง.. สิ่งเหล่านี้ ทำให้แพทย์ "คิดเองน้อยลง".. และเชื่อว่า สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญ บอกมา ...เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ....เป็นความเชื่อกลุ่ม... เอาไปใช้ได้เลย
ในภาพรวม ... การเรียนรู้แบบ เน้น "ยัดผลลัพธ์ ให้จำไปใช้เลย" นั้นมันอยู่ทุกวงการ จนเราแทบไม่ได้เฉลียวใจถึงผลกระทบระยะยาวกันจริงๆ
ถ้าคิดต่อ...เรา จะเห็นถึงความน่ากลัว ของกระบวนการเรียนรู้ที่ ไม่ถูกทาง ... ว่ามันสามารถผลิต คน ให้เหมือนหุ่นยนต์..ที่ถูกควบคุมสมองไว้ทางอ้อม แบบไม่รู้ตัว.. ออกมาได้นะเนี่ย..
(อันนี้ ไม่ได้กล่าวจ้วงล่วงเกินใครนะ... เป็นแค่พูดไปตามเนื้อผ้า โดยรวมๆ)
หาก ใครเรียนรู้ แบบนี้ คงไม่แปลกใจ ที่ เวลาจะคิดหาสิ่งใหม่ ที่แตกต่างจากเดิม มันจะค่อนข้างยากมากๆ .. เพราะสมองมักจะรอให้คนอื่น คิดนำมาก่อน ... "บอกวิธีให้ได้ผลลัพธ์มาเลย"..ตามความเคยชิน
ในกรณีที่ เกิดอุบัติการณ์ใหม่ รึ มีสิ่งใหม่ๆ ที่ต้องเรียนรู้ จะทำอย่างไร ?
.. หากเจอคนที่ "เราคิดว่า น่าเชื่อถือ" เราก็อาจจะรับเอาคำตอบเค้ามาเลย.. โดยไม่มีหนทาง หาความรู้ที่ถูกต้องเองได้... ทำให้ เราถูกหลอกได้ง่ายๆ
.. หากไม่มีใคร (ที่น่าเชื่อถือ) มาบอกวิธี.. เราก็ต้องคลำเอง..แต่มัก คลำไม่ถูก เพราะไม่รู้วิธีเริ่ม
ดังนั้น ในทุกๆ จังหวะชีวิต.. ไม่ว่า เราจะเข้าไปเผชิญอะไร จะต้องเรียนรู้อะไร
... สิ่งที่ควร ตั้งใจ จับจ้องที่จะเรียนจริงๆ ก็คือ ตัวกระบวนการ... เริ่มที่ กระบวนการคิด นั่นล่ะ
.. ใช้ความคิด ถามเจาะไปที่ประเด็นว่า ...
1) กระบวนการทำ แบบนี้ เป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดแล้ว จริงรึไม่
2) เหตุใด เขาจึงมีขั้นตอนแบบนี้ ลำดับมันสลับกันได้มั้ย เพราะอะไร
3) เค้าคิด วิธีการ ในแต่ละขั้น ออกมา ได้ยังไง
..
ข้อ3 นี่คือ ขั้นลึก เรียกได้ว่า ศิษย์ก้นกุฏิเท่านั้นกระมัง ที่จะรู้
และ การส่งต่อ กระบวนการคิด นี่ถือเป็นวิทยายุทธลัพธ์อย่างหนึ่ง
ที่ ส่งผล ให้ คนที่รับถ่ายทอดจากสำนักเดียวกัน จะออกมามีลักษณะ ในเชิงความคิด ที่คล้ายคลึงกันนั่นเอง...
ดังนั้น การเลือกสำนักอาจารย์ ที่ยินดีถ่ายทอด ความคิด ที่ลึกซึ้งและถูกต้องให้นั้น เป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญต่อการหล่อหลอมตัวตนและคุณลักษณะการเรียนรู้อย่างมาก
กลับมามองมาที่ตัวกระบวนการ
เมื่อเราทำสิ่งเดิมนั้น ด้วยกระบวนการเดิม จนเกิดการทำซ้ำ.. เราจะเชี่ยวชาญด้านนั้นได้อย่างรวดเร็ว
แน่นอน สิ่งสำคัญคือ ความถูกต้องของตัวกระบวนการนั้น .. หากมันถูกต้อง.. เมื่อใช้กระบวนการนั้นซ้ำ ต้องได้ความสำเร็จ เช่นเดิม
หากเป็นสิ่งใหม่ ที่เรากำลังเรียนอยู่....การตกผลึก จนได้ กระบวนการที่พิสูจน์ว่าทำซ้ำแล้วได้ผลดี... คือจุดที่แสดงว่า เราเข้าใจ และเชี่ยวชาญด้านนั้นจริง
ทางตะวันตก การวิจัยตัวกระบวนการ ใช้เป็นหัวข้อปริญญาโท ของนิสิตในมหาลัยต่างๆ..
ที่เด่นๆ ที่คนไทยอาจจะรู้จักมาสักพัก เช่น เรื่อง business model canvas ของคุณAlexander Osterwalder ผู้คิดค้น และเป็นผู้ก่อตั้ง Strategizer. ซึ่งตัว canvas อันโด่งดังไปทั่วโลก ก็เกิดจากโจทย์ที่เน้นศึกษาตัวกระบวนการ คิด และกรั่นกรองจนได้ หลักคิดที่สำคัญ สำหรับ business model ออกมานั่นเอง
Strategizer
อันที่จริง การได้หลักคิดที่สำคัญ เพื่อตกผลึกได้กระบวนการที่ดีที่สุด... มักจะเกิดจาก ความสามารถในการตั้งคำถามที่ถูกต้อง ตรงจุด
ปัจจุบันก็เริ่มมี เน้นการพัฒนาความรู้ไปที่ตัว กระบวนการกันมากขึ้น และพยายาม เน้นไปที่ กระบวนการเรียนรู้แบบครอบคลุม ให้เรียนอะไรก็ได้... คือ เรียนตัวกระบวนการ "การเรียนรู้" มันอีกต่อนึง
ยกตัวอย่าง กระบวนการ การเรียนรู้ (Learn how to learn) ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน... เช่น
- "กระบวนการ เรียนรู้เรื่องซับซ้อนใหม่ๆ ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ"
- "กระบวนการ เรียนรู้จดจำ ชื่อคนให้ได้มากๆ"
- "กระบวนการ พัฒนา เซลล์สมอง ให้มีประสิทธิภาพ"
- "กระบวนการ จัดระเบียบ สิ่งที่คิด"
- "กระบวนการ จัดคลื่นสมองและจิตใจ"
เป็นต้น
สิ่งสำคัญที่ขอทิ้งท้าย อีกประเด็นหนึ่งคือ เราควรต้องรวบให้ได้ว่า ตัวเรา มี กระบวนการ "การเรียนรู้" ของตัวเอง ในลักษณะไหน.. ต้องปรับอะไร ให้เข้ากับ เรื่องใหม่ที่เราต้องการรู้นั้น
หวังว่า ทุกคนจะ ตกผลึก บางอย่าง และนำไปใช้เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้อย่างยั่งยืนได้ในอนาคต 😉👌
โฆษณา