6 ม.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
โอมิครอนชะลอภาคการผลิตของไทย
1
จากข้อมูลของ IHS Markit ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 57.7 ในเดือนธันวาคม ลดลงจาก 58.3 ในเดือนพฤศจิกายน แต่เป็นไปตามข้อมูล Flash ที่ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ที่ 57.8 อย่างไรก็ตามดัชนีดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ซึ่งโดยปกติแล้ว หากค่าดัชนี PMI สูงกว่า 50 ชี้ว่าภาคการผลิตกำลังขยายตัว
1
อัตราการเติบโตขอการผลิตปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี 2564 แต่ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าช่วงต้นปีอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ผลิตหลายรายกล่าวถึงปัญหาคอขวดในกระบวนการผลิต เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบต่างๆ ในการผลิตยังเผชิญกับความล่าช้าในการส่งมอบวัตถุดิบ และค่าขนส่งปรับเพิ่มขึ้นสูง ปัญหาโดยรวมส่งผลให้ราคาต้นทุนวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
1
ในยูโรโซน ดัชนี PMI ภาคการผลิตลดลงเหลือ 58 โดยอิตาลีมีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุด ในขณะที่ฝรั่งเศสเติบโตได้ช้าที่สุด ข้อมูลเผยให้เห็นว่าปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานกำลังคลี่คลายลง โดยระยะเวลารอสินค้าโดยเฉลี่ยลดลงจนถึงระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 อิตาลีเป็นผู้นำด้านการผลิตในยูโรโซน สังเกตได้จากค่า PMI ที่ระดับ 62 แม้ว่าจะมีการขยายตัวที่ชะลอตัวลงก็ตาม กรีซและออสเตรียตามมาเป็นอันดับที่สองและสาม ด้วยดัชนีที่ 59 และ 58.7 ตามลำดับ
2
PMI ของจีนปรับเพิ่มขึ้นจาก 49.9 ในเดือนพฤศจิกายน มาเป็น 50.9 ในเดือนธันวาคม ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ที่ราว 50.0 โดยอัตรานี้ถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว เนื่องจากปัญหาโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลงแล้ว การผลิตเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปี โดยได้แรงหนุนจากแรงกดดันด้านราคาที่ผ่อนคลายลง ในขณะเดียวกัน ตัวชี้วัดราคานำเข้าลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นลดสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 20 เดือน
1
ดัชนี PMI เฉลี่ยของอาเซียนแสดงการเติบโตใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธันวาคม โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 52.7 เนื่องจากภูมิภาคเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากผลกระทบที่ได้รับจากโควิด-19
1
5 ประเทศจาก 7 ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการจัดทำดัชนี PMI พบว่ากิจกรรมด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม 2564 โดยสิงคโปร์เป็นผู้นำในแง่ของการเติบโต โดยดัชนี PMI แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 58.0
1
ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ในอินโดนีเซียปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ส่วนประเทศอื่น ๆ อย่าง มาเลเซียและเวียดนาม มีการขยายตัวสูงขึ้นในเดือนธันวาคม โดยการฟื้นตัวดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของผลผลิตที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับปริมาณยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
1
ในทางกลับกัน ภาคการผลิตของประเทศไทยหดตัวลง โดยดัชนี PMI ลดลงเหลือ 49.5 ในเดือนธันวาคม จาก 50.6 ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากขยายตัวได้ดีในช่วง 2 เดือนก่อน หลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19
1
แต่ถึงแม้ว่าภาคการผลิตจะมีการเติบโตอย่างมั่นคง แต่ภาคการผลิตก็ยังได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่อ่อนแอในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างช้า ๆ
1
#โอมิครอน #PMI #เศรษฐกิจไทย
#Bnomics #Industry #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน :
ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ศศิชา เป่าแตรสังข์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ :
จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา