6 ม.ค. 2022 เวลา 09:20 • การศึกษา
สบู่ฟองแรก
เหตุการของฟองสบู่ลูกแรกที่มนุษย์โลกอย่างเราได้ได้รู้จักนั้นฟังดูอาจจะทำให้ถึงกับม้วนคิ้วมาชนกันได้เลยถึงที่มาและเป็นต้นตอของสภาวะวิกฤตครั้งนี้ เพราะว่าเจ้าสาเหตุตัวปัญหาครั้งแรกนี้เปิดขึ้นจากเจ้าดอกไม้ที่มีชื่อว่า “ดอกทิวลิป” หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการก็คือ “The Dutch Tulip Mania Bubble” หรือแปลงเป็นไทยก็คือ วิกฤตฟองสบู่ทิวลิป
ก่อนอื่นต้องย้อยไปก่อนเลยเพราะว่าเหตุการนี้เกิดขึ้นในช่วง ศตวรรษที่ 17 ในช่วงเวลานั้นเป็นยุครุ่งเรืองของชาวเนเธอร์แลนด์ ในยุคนั้นจะเรียกกันว่าชาวดัตช์ หรือ ชาวฮอลันดา นั่นเอง ในช่วงเวลานั่นชาวเนเธอร์แลนด์นั้นมีความเชี่ยวชาญในการค้าขายเป็นอย่างมาก แถมยังมีการเดินทางไปทั่วทุกๆมุมโลกเพื่อไปทำการค้าแลกเปลี่ยนสิ่งของต่างๆ จนร่ำรวยกันยกใหญ่ จนทำให้เรียกได้ว่าคนรวยเดินกันเต็มบ้านเต็มเมืองกันเลยทีเดียวเชียวพอคนรวยมีกันเยอะขนาดนี้ก็เกิดการที่จะต้องอวดความร่ำรวยกันสักหน่อย ไม่ว่าจะเป็นทรัพสินใดๆที่คนให้คุณค่า
ในช่วงเวลานั้นๆจะต้องมีมาอวดกันให้ได้ แต่ด้วยความที่ทำการค้าไปทั่วโลกก็มักจะมีสินค้าใหม่ๆ เข้ามาเป็นที่นิยมกันอยู่เรื่อยๆ ไปพนวกเข้ากับ เจ้าดอกทิวลิปพอดิบพอดี หลายคนอาจสงสัยแล้วทำไมต้องดอกทิวลิปด้วยล่ะ คือเจ้าดอกทิวลิปนั้นไม่ใช่พืชพื้นเมืองของแถบยุโรปอยู่แล้ว มันจึงดูสวยงามและแปลกใหม่ขึ้นมาทันตา ทำให้ในช่วงเวลานั้นใครมีดอกทิวลิปไว้ครอบครองนั้นคือคนที่ถือว่าร่ำรวยมากๆ และยิ่งดอกทิวลิปของให้มีสีสันแปลงประหลาดยิ่งขึ้นไปอีกก็ยิ่งถือว่าต้องร่ำรวยมากๆแน่นอน
ในเมื่อเป็นนี้หัวการค้าอย่างชาวดัชจะปล่อยให้โอกาศหลุดมือได้อย่างไร ทำให้ยิ่งเพิ่มความต้องการของดอกทิวลิปยิ่งขึ้นไปอีก แต่เจ้าดอกทิวลิปนั้นมีปัจจัยทางด้วยการผลิตที่จำกัดเพราะออกดอกเพียงช่วงเดือน มิถุนายน ไปจนถึงเดือน กันยายน เท่านั้น ทำให้หลังจากนั้นผู้คนก็เริ่มแห่กันมาขอซื้อกับผู้ที่มีหัวดอกทิวลิปอยู่เพื่อนำไปปลูกต่อในอานาคตหวังว่าจะกลับมาขายได้กำไรเป็นกอบเป็นกำแน่นอน ด้วยปริมาณของหัวดอกทิวลิปมีจำกัดเพราะพึ่งได้รับความสนใจ จนถึงขั้นเกิดการจองซื้อหัวดอกทิวลิปล่วงหน้า ที่เรียกว่า สัญญาซื้อขายทิวลิปล่วงหน้า (Future Contract) เป็นตัวการันตีว่าถ้าเจ้าหัวดอกทิวลิปออกมาเมื่อไหร่ก็จะได้หัวทิวลิปนั้นแน่นอน พอมีการต้องการเยอะมากๆ เลยกลายเป็นเปิดช่องทางของพวกพ่อค้าทั้งหลายที่จะเข้ามาทำกำไรกันยกใหญ่ จึงเป็นที่มาของการเก็งกำไรนั่นเอง
2
จากแรกๆที่หัวทิวลิปนั้นราคาต่อ 1 หัวนั้นอยู่ที่ 5-15 กิลเดอร์ แต่จากผลของการเก็งกำไรทำให้ราคาของหัวทิวลิปนั้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จากสิบเป็นร้อยจากร้อยเป็นพัน ด้วยราคาที่พุ่งขึ้นไม่หยุดนี้ยิ่งทำให้มีนักลงทุนรวมไปถึงประชาชนคนทั่วไปก็อยากจะเข้ามาซื้อเพื่อทำกำไรกันมากขึ้น จนถึงขั้นมีคนนำที่ดินมาแลกกับหัวดอกทิวลิปเพียงแค่หัวเดียว การซื้อขายเก็งกำไรก็หมุนวนเวียนกันไปจนอยู่ดีๆ เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 อยู่ๆ การซื้อขายก็เริ่มมีปัญหาจากการอิ่มตัวของราคาและความต้องการที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้คนเริ่มวิตกกังวลว่า เจ้าฟองสบู่ที่สะสมมาได้แตกลงแล้ว ก็รีบแย่งกันเทขายสัญญาซื้อขายหัวทิวลิปกันยกใหญ่ จนทำให้ราคาของหัวทิวลิปนั้นลดลงอย่างมากในช่วงเวลาแค่เดือนเดียว จนน้อยกว่าราคาแรกเริ่มด้วยซ้ำ เหตุการในครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทำให้เศรษฐกิจในช่วงนั้นซบเซาต่อเนื่องไปหลายปีเลยทีเดียว
โฆษณา