7 ม.ค. 2022 เวลา 00:09 • สุขภาพ
อัจฉริยะ x โรคระบาด เมื่อตลอดประวัติศาสตร์ของโรคระบาดทำให้โลกเราเจริญรุ่งเรืองขึ้น
ต้องบอกว่าผ่านพ้นเข้าสู่ปีที่สามที่โลกของเราเต็มไปด้วยการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และแน่นอนว่ามันได้สร้างความหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้น ความสูญเสียและความเจ็บปวดมากมายได้เกิดขึ้นและยังคงเกิดขึ้นอยู่จนถึงทุกวันนี้ และเราก็ยังไม่รู้ว่ามันจะจบสิ้นเมื่อใด
4
อัจฉริยะ x โรคระบาด เมื่อตลอดประวัติศาสตร์ของโรคระบาดทำให้โลกเราเจริญรุ่งเรืองขึ้น
ตอนนี้เรามีวัคซีนอยู่แล้ว และรู้ดีว่ามาส์กสามารถปกป้องคนรอบข้างจากการแพร่ระบาดของโรคได้ แต่โลกเรานั้นมีความซับซ้อน และการผสมผสานของความไร้อำนาจ ความโกรธ การแบ่งขั้วทางการเมือง และการปล่อยข้อมูล fake news ทำให้วิกฤตินั้นยังแสนสาหัสอยู่
1
ด้วยความหนักหน่วงของทุกสิ่ง บางทีมันอาจจะเป็นการดีที่เราจะมองดูโรคระบาดอื่นๆ จากในอดีต เพื่อสำรวจสิ่งที่พวกมันให้มา ความเจ็บปวด การสูญเสีย และความโดดเดี่ยวที่ถูกบีบบังคับซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการระบาดใหญ่ได้หล่อเลี้ยงผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบางส่วนของโลกตะวันตก ทั้งด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์
1
มรณะสีดำแห่งศตวรรษที่ 14
Francesco Petrarch กวีและนักวิชาการชาวอิตาลี ใช้ชีวิตผ่านโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ นั่นคือกาฬโรค ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 200 ล้านคนทั่วยุโรป เอเชีย และแอฟริกาเหนือระหว่างปี 1346 ถึง 1353
2
หลังจากนั้นได้กลับมาระบาดเป็นระยะในหลายทศวรรษ ซึ่งเป็นตอนที่ Giovanni Boccaccio เพื่อนของ Petrarch เขียน Decameron ของเขาที่ร้อยเรื่องราวเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับชาวเมือง Florentines ที่สิ้นหวัง ซึ่งหนีไปยังชนบทเพื่อปกป้องตัวเอง
ในไม่ช้า ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาก็ปะทุขึ้นในอิตาลี และค้นพบสิ่งแรกผ่านความทุกข์ทรมานของโรคระบาดที่เกี่ยวข้องกับ Petrarch “ปี 1348 ของเราที่เหลืออยู่คนเดียวและทำอะไรแทบจะไม่ถูก” เขาเขียนไว้ในหนังสือของเขา
“เราลืมไปว่าการใช้อุปกรณ์ของเราเพื่อสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อนฝูงในระยะทางไกลนั้นง่ายเพียงใด”
2
ซึ่งสำหรับ Petrarch และ Boccaccio ทั้งหมดต้องทำด้วยตนเองหรือทำเป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีการขนส่งที่ไม่มีความแน่นอนจากการแพร่ระบาดของโรค บังคับให้พวกเขาทั้งสองรู้สึกถึงความสันโดษ
จดหมายที่ไม่ตอบกลับในยุคนั้นอาจหมายถึงการเสียชีวิตของผู้รับ ถึงกระนั้น Petrarch ก็รู้สึกสบายใจในการเขียนจดหมายถึงเพื่อนฝูงและนำพานักคิดผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยโบราณของกรีกและโรมันกลับมามีชีวิตอีกครั้ง
ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอมตะผ่านกวีนิพนธ์และร้อยแก้วของเขาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจและหล่อเลี้ยงผู้อ่านของเขาผ่านการเปลี่ยนแปลงที่ยากลำบากของการใช้ชีวิตและการตายในยุคนั้นมาได้นั่นเอง
3
กาลิเลโอกับการปฏิวัติโคเปอร์นิกัน ในศตวรรษที่ 17
ในตอนท้ายของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นเวลาเกือบ 300 ปีหลังจากยุคของ Petrarch โรคระบาดกลับมาอีกครั้งในอิตาลีโดยได้รับผลกระทบมาจากสงครามสามสิบปีที่ทำลายล้างยุโรปตอนกลาง
นี่คือเวลาของการเผชิญหน้าของกาลิเลโอกับ Roman ในขณะที่เขายืนกรานที่จะผลักดันโลกทัศน์ของเขาในการปฏิวัติโคเปอร์นิกันที่มองว่าดวงอาทิตย์ ไม่ใช่โลกที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
หนังสือของเขา Dialogue Concerning the Two Chief World Systems ได้เสนอการอภิปรายที่มีอคติอย่างมากเกี่ยวกับการจัดเรียงของดาวเคราะห์ เห็นได้ชัดว่าเป็นการสนับสนุนจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
1
ในปี ค.ศ. 1630 นักบวชชาวโดมินิกันที่สนับสนุนมุมมองของกาลิเลโอได้อนุมัติหนังสือต้นฉบับดังกล่าว ภายหลังการแก้ไขบางส่วน ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดโรคระบาดในอิตาลีอีกครั้ง ทำให้ผู้คนต้องจำกัดการเดินทางและแยกตัวออกจากที่อยู่อาศัย
กาลิเลโอมองเห็นโอกาส เขาจัดการส่งต้นฉบับจากโรมไปที่บ้านของเขาในฟลอเรนซ์ เมื่อผ่านการอนุมัติจากการถูกเซ็นเซอร์ในกรุงโรม หนังสือเล่มนี้ก็ได้ถูกจัดตีพิมพ์
เมื่อพระสันตะปาปาเห็นหนังสือเล่มดังกล่าวก็โกรธจัด กาลิเลโอได้ทำแก้ไขเพิ่มจากการร้องขอจากศาสนจักรโดยให้ยอมรับว่าพระเจ้าทรงทำให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากตะวันออกไปตะวันตกทุกวันผ่านปาฏิหาริย์ (ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ดวงอาทิตย์ที่เคลื่อน แต่โลกที่กำลังหมุนต่างหาก)
2
แต่เขากลับทำในลักษณะเยาะเย้ย โดยพระสันตะปาปาไม่พร้อมที่จะปรับตัวในช่วงเวลาของการเผชิญหน้าระหว่างคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ หนังสือเล่มนี้ถูกเซ็นเซอร์และกาลิเลโอถูกบังคับให้ละทิ้งมุมมองของจักรวาลแบบ heliocentric ของเขา ถึงกระนั้น หนังสือเล่มนี้ก็ยังรั่วไหลออกจากอิตาลี และการปฏิวัติของโคเปอร์นิกันก็เริ่มต้นขึ้น
1
ขอบคุณโรคระบาดที่ทำให้เรามีแคลคูลัสและฟิสิกส์
1
จากนั้นในปี ค.ศ. 1665 ที่ประเทศอังกฤษ โรคระบาดทำให้ Isaac Newton ที่ยังอายุน้อยต้องหนีจากการศึกษาของเขาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ไปยังฟาร์มของมารดาในวูลสธอร์ป ซึ่งเขาอาศัยอยู่เป็นเวลาสองปี และแน่นอนว่า มีต้นแอปเปิลอยู่ในฟาร์มแห่งนี้
1
ในช่วงสองปีนั้น ความอัจฉริยะของ Newton ระเบิดพลังออกมา มันเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ เขาใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์อย่างเต็มที่ซึ่งไม่มีใครเทียบได้ในยุโรปในขณะนั้น เพื่อสร้างผลงานที่สร้างสรรค์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ ซึ่งนักชีวประวัติในยุคแรกเรียกว่า anni mirabilis (“ปีอันมหัศจรรย์”)
ในต้นปี ค.ศ. 1665 Newton ได้ค้นพบสิ่งที่เราเรียกว่าดิฟเฟอเรนเชียลแคลคูลัส ในวันนี้ และปีถัดมาในเดือนมกราคมก็มีทฤษฎีของสี และในเดือนพฤษภาคมต่อมาก็ได้สร้างแนวคิดของแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ (Integral Calculus)]
3
และในปีเดียวกันนั้นเอง เขาก็ได้ค้นพบเรื่องของแรงโน้มถ่วงที่ขยายไปถึงลูกทรงกลมของดวงจันทร์ และจากกฎของเคปเลอร์เกี่ยวกับช่วงเวลาของดาวเคราะห์ที่อยู่ในสัดส่วนที่แยกจากกันของระยะห่างจากจุดศูนย์กลางของลูกทรงกลม
ทำให้มนุษย์เราได้เรียนรู้ว่าแรงที่ยึดดาวเคราะห์ไว้ในลูกกลมของพวกมันจะต้องเป็นกำลังสองของระยะห่างจากจุดศูนย์กลางที่พวกมันโคจรอยู่
4
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงโรคระบาดในปี ค.ศ. 1665-1666 เพราะในสมัยนั้น Newton อยู่ในวัยที่พร้อมสำหรับการประดิษฐ์คิดค้น ทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และปรัชญาที่มีใจจดจ่อมากกว่าครั้งไหนๆ
โดยสรุป ในช่วงสองปีที่เกิดโรคระบาดนี้ Newton ได้วางรากฐานของแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์และปริพันธ์ ทฤษฎีแสงและสี กฎการเคลื่อนที่ และทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องอัจฉริยะมาก ๆ สำหรับนักเรียนอายุ 23 ปี
จาก Petrarch ถึง Newton เราได้เรียนรู้ที่ถึงช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดผ่านการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ ผู้คนต่างมุ่งสู่สถานที่ปลีกวิเวก เพื่อการสร้างสรรค์อย่างปลอดภัยเหนือการต่อสู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างชีวิตและความตายจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่นั่นเองครับผม
4
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
The original article appeared here https://www.tharadhol.com/plague-genius/
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
อย่าลืมเข้าไปพูดคุยกันในกลุ่มสำหรับ Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
คลิกเลย --> https://bit.ly/3E2DdM8
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา