Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Is Life
•
ติดตาม
7 ม.ค. 2022 เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
บาร์ออกซิเจน - สวรรค์ชั่วคราวของคนนิวเดลี ในวันที่ PM2.5 ปกคลุมเมือง
3
ฤดูฝุ่น PM2.5 ได้วนมาอีกครา
2
ตามข้อมูลขณะเขียนบทความนี้ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ติดอันดับ 15 ของโลก
ส่วนอันดับหนึ่งนั้นเป็นเมืองนิวเดลี ของอินเดีย
ที่นิวเดลี มลภาวะทางอากาศได้กลับมาคละคลุ้งครอบคลุมเมืองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
1
ทางการได้ประกาศ WFH เพื่อลดมลพิษจากการเดินทาง ตลอดจนให้ยุติงานด้านก่อสร้าง
1
ภาวะดังกล่าวเป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเพียงชั่วคราว ซึ่งก็ไม่ได้ให้ผลในทางบวกสักเท่าไหร่นัก
กอปรกับฝุ่นควันที่ปกคลุมเมืองนิวเดลีนั้นมาจากหลายปัจจัย หาใช่เพียงการคมนาคมและการก่อสร้าง แต่ยังรวมถึงการทำงานของโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าต้นทุนต่ำ
ทางตอนเหนือของอินเดียยังมีธุรกิจผลิตอิฐขนาดเล็กหลายพันแห่ง ซึ่งใช้ไฟ เตาเผา และปล่องไฟธรรมดา
3
และยังมีเรื่องการเผาขยะชีวมวล ตอกย้ำให้มลพิษยิ่งมากและยิ่งแย่ลงไปทุกขณะ
2
ถามว่าหนักแค่ไหน - ตอบได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่คนอินเดียไม่สามารถมองเห็นเทือกเขาหิมาลัยได้อย่างในอดีต
เหมือนมีม่านหนามากั้นระหว่างดวงตากับภูมิทัศน์
หรือในผลกระทบทางสุขภาพ แพทย์ชาวอินเดียเปรียบว่า มันไม่ต่างอะไรกับการสูบบุหรี่สิบมวนต่อวัน (เมื่อค่ามลพิษสูง 220 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ทารกแรกเกิดในวันนี้ (โดยเฉพาะในครอบครัวที่ยากจน) มีสิทธิเป็นมะเร็งปอดได้ตั้งแต่เด็ก ไม่ต่างอะไรกับคนที่สูบบุหรี่ทุกวันติดต่อกัน 20-30 ปี
1
โดยตามสถิติของประเทศอินเดีย ในปี 1988 ผู้ป่วยมะเร็งปอดร้อยละ 90 เป็นคนสูบบุหรี่ และส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุ 50-60 ปี
แต่ในปัจจุบัน ผู้ป่วยมะเร็งปอดร้อยละ 50 เป็นคนไม่สูบบุหรี่ และมาจากกลุ่มประชากรที่อายุน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 40 ปี และต่ำกว่า โดยไม่จำกัดเพศ
แม้ปัจจุบันทางการอินเดียจะประกาศสงครามกับปัญหามลพิษผ่านโครงการ National Clean Air Program (NCAP) แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มีความคืบหน้าอะไรมากนัก
1
ชี้วัดได้จากสถิติของเมืองต่างๆ ยังติดอันดับ TOP5 ของโลกเสมอๆ ในทุกๆ ฤดูกาล
ในความที่ยังไร้ซึ่งสิ่งการันตีถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เวลานี้จึงเกิดธุรกิจแบบแปลกๆ ขึ้นมาสนองตอบความต้องการของผู้คน
นั่นก็คือ บาร์สำหรับผู้ต้องการ ‘ออกซิเจน’
หรือก็คือบาร์ที่ขายอากาสบริสุทธิ์ให้กับผู้ที่ต้องการหลีกหนีสภาพอากาศแย่ๆ ของเมืองนั่นเอง
โดยบาร์ออกซิเจนแห่งแรกของเมืองเดลีที่ชื่อว่า 'Oxy Pure' เปิดเมื่อปี 2019 ให้บริการจำหน่ายออกซิเจนบริสุทธิ์ 80-90% เป็นเวลา 15 นาที มีราคาเริ่มต้นที่ 299 รูปี (ประมาณ 130 บาท)
1
ตามคำโฆษณา บาร์จำหน่ายออกซิเจนบริสุทธิ์นี้ ไม่ได้ขายแค่อากาศ แต่ยังขายรู้สึกในรูปแบบของกลิ่นที่ชวนให้ผู้คนที่ต้องไปเผชิญมลภาวะได้รับอารมณ์ผ่อนคลายในรูปแบบต่างๆ
1
อาทิ เรื่องความเหนื่อยล้าทางจิตใจ ความผิดปกติของการนอนหลับ ปัญหาความดันโลหิต และ ความเครียด
มีทั้งกลิ่นมินต์ กลิ่นลาเวนเวนเดอร์ ประหนึ่งการเลือกซื้อเทียนหอมมาจุดไว้ในห้องนอน
ในช่วงแรกนั้น ธุรกิจนี้ไม่ถูกยอมรับมากนัก - ก็ใครล่ะจะอยากซื้ออากาศหายใจ ทั้งที่มันของฟรีๆ มาเนิ่นนานนับแต่บรรพกาล
แต่เมื่อสภาพอากาศไม่ได้ดีขึ้น สุดท้ายมันจึงกลายเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ไปโดยปริยาย
จากบาร์แรกในปี 2019 ปัจจุบันมีบาร์ลักษณะเดียวกันผุดขึ้นมาอีกหลายแห่ง กระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ ที่มลภาวะย่ำแย่
ขณะเดียวกัน ถังออกซิเจนแบบพกพาก็กลายเป็นอีกสิ่งที่ขายดิบขายดี นับตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด
1
อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ระบบทางเดินหายใจ ให้ความเห็นว่า การสูดดมออกซิเจนบริสุทธิ์เพียงชั่วครั้งชั่วคราวไม่สามารถช่วยให้คนเรามีสุขภาพดีขึ้นได้ หากว่าช่วงเวลาอื่นๆ ของวันยังต้องเจอกับมลพิษดังเช่นที่เป็นอยู่
1
มันเป็นเพียงความคิดแบบทุนนิยม ที่ให้ความสุขเพียงชั่วครั้งชั่วคราว
แต่ในอีกมุม สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนภาพการบริหารจัดการของรัฐได้ทางหนึ่ง
1
ในวันที่คุณภาพชีวิตของผู้คนไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานที่รัฐสามารถเอื้ออำนวยให้มีชีวิตอย่างปกติสุข การหาทางออก โดยการพึ่งพาตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ต่างคนต่างต้องขวนขวายหาทางกัน
แม้จะเป็นความสุขเพียงชั่วครั้งชั่วคราว - ก็ยอม
ในความคิดเห็นหนึ่งของผู้ใช้บริการ 'Oxy Pure' ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “เมื่อมลภาวะทำให้เราหายใจไม่ออก การซื้อออกซิเจน 15 นาที ก็ถือเป็นความสุขที่บริสุทธิ์”
ก็ได้แต่หวังว่า สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ลำพังรายจ่ายเรื่องการซื้อหน้ากากอนามัยก็ทำเอาแย่อยู่แล้ว
อย่าให้ถึงต้องซื้ออากาศเอาไว้หายใจกันอีกเลย
#IsLIFE #AirPollution #OxygenBar #NewDelhi
อ้างอิง
IQ Air :
https://bit.ly/3f2yoqM
ABC :
https://ab.co/3pXaWSi
Indian Express :
https://bit.ly/3f4aXxj
Economic Times :
https://bit.ly/3eVnBir
Photo : Reuters
30 บันทึก
54
4
83
30
54
4
83
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย