10 ม.ค. 2022 เวลา 01:00 • คริปโทเคอร์เรนซี
สรุป #ภาษีคริปโต เสียยังไง เสียแบบไหน
พรี่หนอมชวนวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นครับ
ภาษีคริปโต รายได้แบบไหนบ้างที่ต้อง "เสียภาษี"
เริ่มต้นแบบนี้ก่อนครับ...
กฎหมายเรื่องภาษีคริปโตเกิดขึ้นเมื่อปี 2561 และไม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
หลักการของกฎหมายมีสั้น ๆ 3 ข้อ คือ
4
1. ส่วนแบ่งกำไรที่ได้ต้องเสียภาษี
2. ผลประโยชน์ที่เกิดจากการโอนต้องเสียภาษี
3. ให้ผู้จ่ายเงินได้หัก 15% เมื่อมีการจ่ายเงินได้ และหักแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์ Final TAX
แต่ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า กฎหมายทั้งหมดที่เล่ามา อาจจะไม่เหมาะสมแล้ว เพราะโลกของคริปโตได้ไปไกลกว่าปี 2561 มาก
ทำให้เราเห็นว่ากฎหมายเก่ากำลังถูกมาบังคับใช้กับเทคโนโลยีใหม่
แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นหลักการพอจะยึดหลักไว้ได้ สำหรับการเสียภาษีเงินได้กรณีนี้ คือ เรื่องเงินได้ต่างประเทศ (หลักถิ่นที่อยู่)
นั่นคือ ถ้ากรณีเป็นเงินได้จากต่างประเทศจะไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย
ถ้าหาก
1. อยู่ในไทยในปีนั้นไม่ถึง 180 วัน
2. ไม่ได้นำเงินได้เข้ามาในปีที่เกิดเงินได้
1
เราจึงได้รับคำแนะนำว่า ถ้าหากเทรดที่ต่างประเทศแล้วถือกำไรไว้ เอาเข้ามาปีถัดไป จะไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง
4
เงินได้แบบไหนต้องเสียภาษีบ้าง ?
แต่กรณีของคนที่เทรดที่ไทย ในเมื่อกฎหมายยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เลยทำให้การตีความของรายได้เป็น 3 ทางดังนี้
1. กรณีที่เทรด (กำไรจากการแลกเปลี่ยน) สรรพากรตีความว่าคิดตาม Transaction ที่มีกำไร โดยไม่ให้นำขาดทุนที่เกิดขึ้นมาหักออกได้เลย
3
และหากมีการซื้อขายที่กระดานเทรด (Exchange) หากเกิดรายได้ (กำไร) เมื่อไร ก็ถือว่าเป็นรายได้ทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องถอนเงินออกมาเข้าบัญชีธนาคาร
1
2. กรณีที่รับผลตอบแทน (ล็อกเหรียญ/Staking) มองเหมือนการได้ดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร ผลตอบแทนต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลด้วยเช่นกัน โดยทั้งข้อ 1-2 ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 4
4
3. กรณีขุด (Mining) จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 เหมือนการผลิตสินค้าเพื่อขาย โดยจะเป็นรายได้ ก็ต่อเมื่อมีการขายให้กับทางผู้ซื้อแล้วเท่านั้น และให้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายตามจริงได้ (ไม่มีสิทธิ์หักเหมา)
1
และที่สำคัญก็คือ หากผู้จ่ายมีการจ่ายเงินได้ให้ผู้รับเงิน ก็ต้องหักภาษี 15% ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
วิธีการคำนวนรายได้
จากทั้งหมดนี้เราจะเห็นปัญหาว่า
1. การหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไม่สามารถทำได้ เพราะผู้จ่ายไม่ทราบว่าผู้รับเงินเป็นใคร (ผ่าน Exchange) และหากให้ดำเนินการจริงย่อมเป็นภาระกับผู้จ่ายเงินได้
1
2. การวัดต้นทุนที่เกิดขึ้นยากมากในทางปฎิบัติ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนการทำรายการที่เกิดขึ้น หรือวิธีการคำนวณต้นทุนในการซื้อขายว่าจะใช้วิธีไหน อีกทั้งกรณีของการขุดเหรียญ เราจะเห็นว่าการหักค่าใช้จ่ายจริงทำได้ยากมากในทางปฎิบัติ
2
3. ผลตอบแทนที่ได้รับกรณีต่างๆ จะคำนวณด้วยมูลค่าเท่าไร ณ วันใดถึงจะเหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าอยู่ตลอดเวลา และถ้าหากมูลค่าลดลงจนขาดทุนจะคิดอย่างไร ?
1
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการคำนวนรายได้
บทสรุปสุดท้ายของเรื่องนี้
1. ถ้าหากใครอยากยื่นภาษีให้ถูกต้อง คงต้องกำหนดความถูกต้อง (หลักการ) ในการคำนวณขึ้นมา เพื่อพิสูจน์ว่าคิดด้วยมูลค่าแบบไหนอย่างไร
2. อาจจะต้องรอแนวทางปฎิบัติจากทางสรรพากร เพื่อให้รู้ถึงวิธีการคำนวณหรือแนวทางการยื่นภาษีอีกทีหนึ่ง
3. กฎหมายที่ล่าช้าและเป็นภาระต่อผู้เสียภาษี ควรได้รับการแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าเรืองนี้ไม่ใช่ประเด็นแค่เรื่องภาษีและสรรพากร แต่ควรมองถึงนโยบายของประเทศว่า ต้องการสนับสนุนคริปโตเคอร์เรนซี่อย่างไรในอนาคต เพราะจะเป็นตัวกำหนดทั้งแนวทางต่างๆ รวมถึงกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องอีกทีหนึ่งครับ
2
ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม จากการรวบรวมข้อมูลและทำความเข้าใจกฎหมายด้วยตัวเอง เพื่อให้มองภาพรวมของการจัดการภาษีที่ถูกต้อง "จริงๆ" เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีและประเทศครับ
หากใครมีประเด็นอะไรเพิ่มเติมหรือข้อสังเกตอื่น แนะนำได้เลยนะครับ 🙂
#TAXBugnoms
โฆษณา