Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Salaryman ติดปีก
•
ติดตาม
8 ม.ค. 2022 เวลา 04:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าขนส่งตู้ละครึ่งล้าน ของแพงขึ้นทั่วโลก
มันเกิดขึ้นได้ยังไง ?
.
เชื่อไม๊ครับ ตอนนี้ค่าขนส่งเฉลี่ยทั่วโลกคือ 360,000 บาทต่อตู้ ใช่ครับ!!! คุณอ่านไม่ผิด แค่ตู้เดียว โดนไปเกือบครึ่งล้าน บางตู้ส่งจากจีนไปยุโรปโดนไป 600,000 บาท ทั้งๆ ที่ ไม่กี่ปีก่อน เรายังส่งกันที่ตู้ละ 50,000 บาท กันอยู่เลย เรียกได้ว่าราคาขึ้นพรวดเดียว 700% มันมาไง ? ผมจะเล่าให้ฟังครับ
.
ก่อน Covid ราคาตู้ 50,000 เนี่ย ยังถูกต่อราคาอีกนะครับ หลายครั้งที่ลูกค้ามักจะบอกสายเรือว่า ผมขอลดเหลือ 45,000 ไม่งั้นผมไม่เอา สุดท้ายสายเรือต้องยอมลดราคา เพื่อให้ได้ลูกค้า ผมเองยังเคยเห็นตู้จากไทยไปฮ่องกง ส่งกันที่ตู้ละ 4000 บาท
.
1
แต่ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปแล้ว ภายในเวลาอันสั้น ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกเลย แน่นอนครับ การเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันแบบนี้ ย่อมมีหลายสาเหตุประกอบกัน ผมขอย่อยมาเป็น 5 ข้อ ตามช่วงเวลา เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ
.
1) ช่วง Covid มาใหม่ๆ ความกลัวมหาศาล ธุรกิจพากันลดระดับสินค้าในคลัง
.
คุณคงยังจำอารมตอนที่โลกเพิ่งรู้จัก Covid กันได้ใช่ไม๊ครับ คนกลัวกันมาก จินตนาการกันไปไกล ทุกคนบอกว่าเศรษฐกิจจะพังยับ คนไม่มีอารมซื้อของอะไร นอกจากเจลล้างมือ และ แมส :)
.
13
คนทำธุรกิจเค้ามักจะเก็บสินค้าเป็น Day coverage นะครับ เช่นถ้าคิดว่าขายได้วันละ 100 ชิ้น เก็บเผื่อซัก 30 วัน เค้าจะเก็บสต๊อคสินค้าชิ้นนั้นไว้ 100×30 = 3000 ชิ้น
.
นี่หละครับประเด็น! ด้วยความกลัวโควิด คนซื้อของน้อยลง คนทำธุรกิจก็คิดว่าน่าจะขายได้น้อยลง จากที่เคยคิดว่าจะขายได้วันละ 100 ชิ้น กลายเป็น 50 ชิ้น
.
แถมไปอีก ด้วยความกลัว ทุกคนก็คิดว่า Cash is King ต้องเก็บเงินสด เพราะฉะนั้น อย่าไปเก็บสินค้าคงคลังมันมากเลย จาก 30 วัน เก็บแค่ 20 วันพอ
.
1
ผลก็คือจาก 100×30 เปลี่ยนเป็น 50×20 หรือพูดง่ายๆ ก็คือลดสินค้าในคลังจาก 3000 ชิ้น เหลือแค่ 1000 ชิ้น
.
การผลิตก็ลดลง การขนส่งก็ลดลง เพื่อลดระดับสินค้าในคลังให้เป็นไปตามเป้าใหม่ ซึ่งทุกคนก็โอเค โควิดระบาด ไม่มีคนงานไปผลิตอยู่แล้ว
.
1
ฟังดูก็ไม่มีอะไรหนิ? น่าจะสมเหตุสมผลแล้วที่ทำแบบนั้น ใช่ครับ! มันสมเหตุสมผล ทุกคนเลยทำแบบนั้น แต่ทุกอย่างกลับไม่เป็นไปตามที่คิด ไปดูข้อต่อไปกันเลยครับ
.
3
2) ผิดคาด คนเลิกกลัวกันโคตรไว
.
เคยสังเกตไม๊ครับ ตอนโควิดมาใหม่ๆ คนติดเพิ่มขึ้นมา 10 คน กลัวกันสุดๆ ไม่ยอมออกจากบ้าน แต่ตอนนี้มาวันละ 10,000 คน กลับทำตัวปกติ
.
4
ใช่ครับ! คนลดระดับความกลัวกันเร็วมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้ธุรกิจผิดคาด อยู่ดีๆ คนก็กลับมาซื้อของกันเป็นปกติในเวลาอันสั้น ทำให้การลดสินค้าในคลังก่อนหน้านี้ กลายเป็นข้อผิดพลาด
.
2
เรื่องยุ่งๆ ก็เริ่มจากตรงนี้ครับ ลดระดับสินค้าในคลังไปแล้ว แต่ลูกค้าดันกลับมา ของไม่พอขายซะงั้น!
.
เทศกาลการปั้มแหลกจึงเกิดขึ้น... Supply Chain และ Logistics ของทุกบริษัทถูกสั่งให้ปั้มการผลิตและสินค้าคงคลังให้กลับมาที่เดิมให้ได้
.
แต่ความเป็นจริงมันไม่ได้ง่ายแบบนั้น กำลังการผลิต และพื้นที่บนเรือที่จอดนิ่งในช่วงต้นของ Covid มันย้อนเวลาแล้วเอากลับมาใช้ไม่ได้นะครับ
.
ลองนึกภาพง่ายๆ ครับ ถ้าคุณปลูกข้าว ปกติได้ปีละ 10 ตัน แล้วคุณหยุดทำนาไป 1 ปี เพราะคิดว่าจะขายไม่ออก แต่อยู่ดีๆ กลับมาขายดี... คุณบอกว่างั้นปีนี้ปลูก 20 ตันเลย มันจะได้ที่ไหน! นาก็แปลงเดิม เร่งยังไงมันก็ได้ 10 ตันนั่นหละครับ เวลาที่เสียไปแล้วก็เสียไปเลย เอากลับมาใช้ไม่ได้
.
4
นี่หละครับคือสิ่งที่เกิดขึ้น บูม!!! การขนส่ง และวัตถุดิบทั่วโลกขาดแคลนในเวลาอันสั้น มีคนอยากได้วัตถุดิบมากมาย มีคนอยากส่งสินค้ามากมาย ในขณะที่จำนวนเรือมีเท่าเดิม (ต่อเรือใหม่ไม่ได้นะครับ ใช้เวลาเป็นปี)
.
3) ความกลัวหาย แต่โควิดยังไม่หายนะ
.
แม้ความกลัวจะหายไป แต่ Covid มันยังอยู่นะครับ! มาตรการการกักตัว และคนที่ไปทำงานไม่ได้เพราะ Covid ก็ยังมีอยู่
.
2
นั่นก็หมายความว่า คนขับรถ พนักงานท่าเรือ พนักงานขนส่งในคลัง พนักงานในโรงงาน ก็ยังขาดแคลนอยู่ การจะเร่งกำลังการผลิตและขนส่ง เพื่อให้ทันกับความต้องการที่ U-turn มาแบบไม่ทันตั้งตัว (ตามที่พูดถึงในข้อก่อนหน้า) แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
.
1
มาถึงตรงนี้ต้องบอกว่าหนักครับ ความต้องการพุ่งขึ้น แต่ของเพิ่มตามไม่ได้ เป็นแบบนี้ติดต่อกันหลายเดือน จนปัญหาเริ่มสะสมเป็น snowball ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
.
4) การขนส่ง กลายเป็นการประมูล
.
ผมซื้อตู้ขนส่งมาเป็น 10 ปี เพิ่งเคยเจอนี่หละครับ ที่สายเรือเดินมาบอกว่าว่า "ขอขึ้นราคา 5 เท่า ถ้าไม่ให้ก็จะไม่ได้ส่งของ"
.
4
ใช่ครับ! พอพื้นที่บนเรือไม่พอ คนที่จ่ายเยอะที่สุดถึงจะได้ขึ้นเรือ ทุกอย่างกลายเป็นการประมูล
.
2
แถมเป็นการประมูลของสินค้าต่างชนิดกันอีกด้วย สมมุติคุณขายสบู่ แต่บนเรือมีส่ง Iphone ด้วย กลายเป็นสบู่ ต้องประมูลราคาตู้แข่งกับ iphone... คงไม่ต้องบอกใช่ไม๊หละครับว่า คนขาย iphone ย่อมมีกำไรส่วนต่างที่เยอะมากพอจะเอามาทุ่มประมูล ทำให้คนขายสบู่ ตกที่นั่งลำบาก
.
แต่ไม่ว่าราคาค่าขนส่งจะแพงแค่ไหน คงจะไม่มีใครบอกว่า "งั้นผมไม่ส่งแล้ว" เพราะการไม่ส่ง ย่อมหมายถึงการปิดธุรกิจ ทุกคนเลยทุบกระปุกสู้ เท่าไหร่เท่ากัน แต่ต้องส่งของออกไปให้ได้... นี่หละครับคือต้นตอของราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นพรวดเดียวเป็น 6-7 เท่า
.
5) เละหนักขึ้นไปอีก เมื่อทุกคนรีบ
.
คุณเคยทำอะไรแบบรีบๆ แล้วมันช้าลงไม๊ครับ? แบบเดียวกันเลยครับ พอทุกคนยิ่งรีบ ระบบ Supply Chain ยิ่งพัง
.
เรืออัดกันจนแน่นท่า ทำให้ท่าเรือแออัดและทำงานช้า ท่าเรือบางท่าทำงานหนักเกินไป จนเกิดอุบัติเหตุ เครนเสีย สุดท้ายต้องปิดท่าเรือเพื่อปรับปรุง
.
ปัญหาคลองสุเอซที่เป็นข่าวดังปีที่แล้ว ก็เกิดจากความรีบ ขนส่งอัดตู้ไปเยอะมากและใช้เรือขนาดใหญ่เพื่อให้ขนได้เยอะๆ จนสุดท้ายกลายเป็นจระเข้ขวางคลอง การขนส่งหยุดชะงักไปเป็นอาทิตย์
.
ความรีบของทุกคนไม่ได้ช่วยให้เร็วขึ้นเลย
กลับทำให้ปัญหาแย่ลงไปอีก
.
นี่หละครับคือต้นตอของค่าขนส่งที่แพงขึ้นทั่วโลก วัตถุดิบเกือบทุกอย่างบนโลกก็กำลังราคาขึ้นด้วยเหตุผลเดียวกัน จนเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน และยังน่าจะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปอีกตลอดปี 2022
.
คนที่เจ็บหนักสุด คือคนที่ทำธุรกิจเล็กๆ ครับ เพราะพวกเค้าไม่ได้มีเงินทุนมากพอจะมาทุ่มประมูล และเผาเงินระยะยาว หลายครั้ง ธุรกิจรายใหญ่ปรับราคาเพิ่มเพื่อลดภาระได้ แต่ธุรกิจเล็ก (ที่ซื้อต่อรายใหญ่มา) เค้าปรับเพิ่มราคาไม่ได้ กลายเป็น "ปลาเล็ก ที่ต้องแบกภาระใหญ่"
.
2
2
ไม่แปลกเลยครับที่เราจะเห็นคนทำธุรกิจรายย่อย แทบทุกวงการออกมาบ่นกัน พวกเค้ากำลังเจ็บหนักจริงๆ
.
สู้ๆ นะครับ ผมเป็นกำลังใจให้ ทุกอย่างเป็นวัฎจักร กัดฟันอีกนิด แล้วมันจะผ่านไปครับ #SalarymanEstator
▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃
หากคุณเป็นนักลงทุน ที่ทำควบคู่งานประจำ
หรือชอบเนื้อหาของ SalarymanEstator
ฝากกดไลค์ 👍
กดแชร์ 🌎
กดติดตาม 🌝
เพื่อเป็นกำลังใจให้กับเรา
และจะได้ไม่พลาดเนื้อหาใหม่ๆ ของเรา ด้วยนะครับ
▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃
การเงิน
การลงทุน
มนุษย์เงินเดือน
11 บันทึก
53
15
34
11
53
15
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย