8 ม.ค. 2022 เวลา 13:42 • การศึกษา
Srimulyani and Hermanto (2022)
วันนี้มาลองอ่านบทความวิจัยที่เกี่ยวกับ ESE จากฝั่ง ASEAN คือจากอินโดกันมั่งครับ
Srimulyani, V. A., & Hermanto, Y. B. (2022). Impact of Entrepreneurial Self-Efficacy and Entrepreneurial Motivation on Micro and Small Business Success for Food and Beverage Sector in East Java, Indonesia. Economies, 10(1), 10.
งานนี้ศึกษาผลของ ESE และ Entrepreneurial motivation (EM) ที่มีต่อการรับรู้ในเรื่องความสำเร็จในธุรกิจ Business success (BS) และศึกษาผลของการเป็นตัวแปรคั่นกลาง (Mediator) ของ EM กลุ่มที่ศึกษาในงานนี้คือกลุ่ม MSEs ในอุตสาหกรรม F&B ในประเทศอินโดนีเซีย
งานนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจและใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) และแบบวัดทั้งสามตัวแปรคือ ESE, EM, and BS นำมาจากแบบวัดที่พัฒนามาอยู่แล้ว และได้ใช้ Path analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
กลุ่มตัวอย่างในงานนี้มีจำนวน 267 คนและผลพบว่า ESE และ EM มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ BS และ EM partially mediates ความสัมพันธ์ระหว่าง ESE และ BS กล่าวคือ ถ้าเราต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจเราควรต้องมีการรับรู้ ESE และ EM และ ESE จะเกิดขึ้นก่อนแและเมื่อมี ESE แล้วก็จะมี EM เพิ่มขึ้นซึ่งจะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตามบทความวิจัยนี้มีจุดอ่อนอยู่บ้างเช่น Research gap ยังไม่ค่อยชักจูงใจเท่าใดนัก และจุดอ่อนที่คิดว่าใหญ่สุดของบทความนี้คือ แบบวัดตัวแปรตาม BS ซึ่งเป็นการถามการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จทางธุรกิจจากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งค่อนข้าง Subjective ถ้างานนี้วัดตัวแปรตาม BS แบบ Objective ได้ก็จะน่าสนใจมากขึ้น สุดท้ายแบบวัดของตัวแปรต้น ESE และ EM นั้นก็ไม่ได้มีการชี้แจงชัดเจนนักว่านำมาจากไหนและมีความตรงและความเที่ยงแค่ไหน (Validity and Reliability) เพราะในงานวิจัยสาขานี้มีการพัฒนาแบบวัดตัวแปรแนวนี้ที่ดี ๆ ค่อนข้างเยอะ
โฆษณา