9 ม.ค. 2022 เวลา 12:11 • ปรัชญา
นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 8
1
เรื่อง “เศรษฐีกับยาจกตกปลา”
1
เครดิตภาพ: Pixabay by Myriams-Fotos
มีเศรษฐีคนหนึ่งเห็นยาจกคนหนึ่งตกปลาอยู่ริมทะเล จึงเดินเข้าไปแล้วพูดว่า
...
  • เศรษฐี : เจ้าทำไมไม่คิดหาวิธีที่จะตกปลาให้ได้มากกว่านี้ เช่นว่าซื้อเรือมาสักลำ
  • ยาจก : ข้าจะต้องทำอย่างนั้นทำไม
  • เศรษฐี : ถ้าหากเจ้าซื้อเรือ เจ้าก็จะออกไปตกปลาได้ไกลกว่านี้ ที่นั่นย่อมมีปลามากกว่านี้
  • ยาจก : หลังจากนั้นล่ะ
  • เศรษฐี : หลังจากนั้นเจ้าก็นำเงินที่ได้จากการตกปลา ไปซื้อเรือที่ใหญ่กว่านี้ ไปตกในที่ลึกกว่านี้ ย่อมจะได้ปลามากกว่านี้
  • ยาจก : หลังจากนั้นล่ะ
  • เศรษฐี : หลังจากนั้นเจ้าก็เอาปลาที่จับได้ไปขายเอาเงินมาเยอะๆ ร่ำรวยขึ้น และจะได้มาตกปลาที่นี่อย่างหมดความกังวลใดๆ
1
  • ยาจก : ตอนนี้ข้าก็ตกปลาอยู่ที่นี่อย่างไม่มีความกังวลใดอยู่แล้ว
4
  • สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
...
  • อย่าปล่อยให้ตัวเอง ติดนิสัยใช้เกินความจำเป็น
7
ไม่เพียงแค่เรื่องสิ่งของหรือเงินทองเท่านั้นที่เกินความจำเป็น ยังรวมถึงวิถีการใช้ชีวิต ร่างกายและความรู้สึก ที่เราใช้กันเปลืองๆ ทำงานหนักหน่วงเพื่อรายได้ เพื่อความสุขที่เราโหยหา แล้วเราหันมามองตัวเองบ้างไหมว่าร่างกายจะพร้อมไปกับเราได้นานแค่ไหน
2
...
  • เรารู้สึกดีเมื่อได้สิ่งที่เราอยากได้หลายแหล่ แต่เราลองนึกย้อนกลับว่าต้องเสียหรือลงแรงอะไรไปบ้าง มากเกินความจำเป็นหรือไม่ เปรียบได้เหมือนสิ่งที่เศรษฐียกขึ้นมาบอกยาจกให้ทำในนิทานเรื่องนี้
4
“ยอมเป็นหนี้ เพื่อสิ่งของที่ไม่จำเป็นในชีวิต” “สุขชั่วครู่ตอนนี้ ค่อยไปสางแก้ทีหลัง” เป็นประโยคหรือคำพูดที่เรามักจะได้ยินหรือรับรู้กันในยุควัตถุนิยมอย่างสมัยนี้
6
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นง่ายๆจากความไม่พอดีในใจของเราเอง นั่นก็เป็นผลให้ใช้ทุกอย่างอย่างไร้ความจำเป็น หรือ เกินความจำเป็นไปแล้วก็ว่าได้ ขาดความสมดุลในการใช้ชีวิต
3
...
1
  • เป้าหมายหรือความสุขสูงสุดในชีวิต คืออะไร ตั้งเป้าให้ชัดเจน ลดหรือขจัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องและเกินความจำเป็นที่จะมุ่งสู่เป้าหมายนั้น
6
ชีวิตเรามีเพียงครั้งเดียว ใส่ใจและพิจารณารอบคอบกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตดูสักหน่อย เพื่อความสุขสูงสุดในชีวิตของเรา
2
  • ผู้เขียนขอยกคำคมของจิตรกรและช่างพิมพ์ ชาวอิตาลี ที่เกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องนี้ ตามด้านล่าง
เครดิตภาพ: AZ Quotes
“You cannot demonstrate your own greatness by remaining at one extreme, but by reaching out to both extremes at the same time, and filling the intermediate space.”— Giorgio Morandi
2
“คุณไม่สามารถแสดงความยิ่งใหญ่ของตัวเองได้โดยการยึดที่ความสุดขั้วด้านใดด้านหนึ่ง แต่ต้องออกมาจากขั้วทั้งสองด้านก่อน และเติมด้วยช่องว่างของทางสายกลาง”
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา