Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทำสรุป
•
ติดตาม
11 ม.ค. 2022 เวลา 00:42 • ความคิดเห็น
พลังของการเปลี่ยนคำบางคำ
เคยมีบางครั้งไหมครับ ที่คุณจำกัดตัวเองจากคำบางคำ?
ฉัน “เด็กเกินไป” ที่จะทำอย่างนั้น ฉัน “แก่เกินไป” ที่จะทำแบบนี้
แต่ในประเทศญี่ปุ่นหลายๆเมือง เช่น เมืองนากาโน่ กำลังทลายกำแพงเหล่านั้น ให้กับวัยเกษียณช่วง 60-75 ปี
อย่างที่หลายๆคนทราบกันดีครับ ประเทศญี่ปุ่นคือ ประเทศที่มีปริมาณผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ซึ่งถ้าหากให้นับกันอย่างละเอียดก็ประมาณ 1ใน3ของประชากรทั้งหมด
จากปริมาณผู้สูงอายุที่สูงในญี่ปุ่น ในมุมหนึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการแพทย์และเทคโนโลยีต่างๆที่มีคุณภาพที่ดีของญี่ปุ่น และในอีกแง่มุมหนึ่งก็แสดงให้เห็นว่า คนหนุ่มสาวในญี่ปุ่นอาจต้องจ่ายเงินภาษีมากยิ่งขึ้นเพื่อเลี้ยงดูคนสูงอายุในประเทศที่ไม่ได้ทำงาน
มากไปกว่านั้นในส่วนของคนที่มีอายุ 60-75 ปี บางคนก็รู้สึกว่าตัวเองยังสามารถทำงานได้ และไม่อยากให้คำว่าอายุมาปิดกั้นโอกาส ข้อมูลจากเว็บไซต์ thejapantimes ระบุว่า 42.3% ของผู้คนในวัย 60 ยังคงต้องการที่จะทำงานต่อไป
ดังนั้นจึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นเลือกที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการบัญญัติคำใหม่ สำหรับผู้คนในช่วง 60-75 ปี ว่า "Pre-old "
คำว่า "Pre-old" กำลังจะบอกพวกเราทุกคนว่า คนอายุ 60-75 ปี ยังสามารถที่จะทำงานต่างๆ ได้เหมือนกับคนหนุ่มสาว และไม่นับเป็นวัยเกษียณอีกต่อไป
และคำๆเดียวนี้เอง ส่งผลให้ในประเทศญี่ปุ่นสามารถเพิ่มปริมาณของคนทำงานในประเทศ และในอีกด้านก็เป็นการสร้างผลลัพทธ์เชิงบวกต่อกลุ่ม Pre-old เช่น การสร้างรายได้ หรือสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง
จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนคำแค่บางคำ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงในหลายๆสิ่งให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อผู้อ่านท่านไหนที่รู้สึกท้อแท้หรือคิดว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้ให้ลองเปลี่ยนคำพูดที่เป็นบวกกับตัวเองกันนะครับ
ที่มา
1.
นิตยสาร ZEIT SPRACHEN เรื่อง Too young to be old
2.
https://www.japantimes.co.jp/news/2019/10/26/national/japanese-60s-working-part-time-65-survey/
ไลฟ์สไตล์
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย