Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ช่างกฎหมายมันส์ (Lettibelaw)
•
ติดตาม
11 ม.ค. 2022 เวลา 03:02 • อสังหาริมทรัพย์
วิศวกร การก่อสร้าง และกฎหมาย
วันนี้แพะจังจะมาเล่าเรื่องของวิศวกร วางตังมาแล้วจะเล่าให้ฟัง
.
วิศวกรนี่ในสายตาของ นักกฎหมายนี่จัดว่าน่าสงสาร โดยเฉพาะสายโยธา เพราะจะโดยเหมาไปรวมกับผู้รับเหมาบ้านๆ
และมักโดนด่ารวบไปอยู่เสมอ แม้ว่าไอ้พวกที่ก่อปัญหาเกือบทั้งหมด เป็นพวกที่ไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพวิโยธา
.
ตามพระราชบัญญัติวิศวกร2542+ประกาศกฎกระทรวง อาคารที่ี่มีความสูงตั้งแต่4 เมตร หรือช่วงคานห่างมากกว่า 5 เมตร ต้องมีวิศวกรที่ได้รับอนุญาต วิศวกรรมควมคุมสาขาวิศวกรรมโยธา ดูแล
.
ซึ่งหมายความ แม้ว่าจะเป็นวิศวกรเหมือนกันแต่ถ้าไม่ใช้ สาขาโยธาก็ไม่สามารถมาดูแลในส่วนนี้ได้
.
แต่ความซวยของคนสาขานี้คือ กฎหมายห้ามคนที่ไม่ใช่สาขานี้ทำคือ
1.ให้คำปรึกษา 2.ศึกษาวิเคราะห์ หาทางเลือกที่เหมาะสม 3.ออกแบบ และคำนวณ 4.ควบคุมการก่อสร้าง
5.ตรวจสอบ 6.อำนวยการใช้ ซ่อมบำรุง
.
แต่ไม่ได้ห้ามคนนอก “รับเหมาก่อสร้าง”
.
ซึ่งหมายความว่า ใครก็ได้สามารถประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างก็ได้ สร้างไม่ได้มาตรฐาน หรือทิ้งงานก็ได้ ไม่มีสภา หรือสมาคมคอยห้ามหรือลงโทษ (เอาจริงๆ งานของสมาคมธุรกิจมีสมาชิกหลายคนที่มีปัญหาเข้าไปอยู่ในระดับกรรมการ)
.
แต่พอโดนด่าใครโดนด่า😏😏😏.... วิศวกรโยธา โดนด่า เพราะผู้รับเหมามาจ้างในเซ็นในแบบ แม้ผูกพันแค่ในแบบ แต่เวลาคนเปิดชื่อมาเจอก็ถือว่าอาจจะร่วมหัวกันมาหลอกได้
(ส่วนสถาปนิกลอยตัวเพราะ คนเขาถือว่ามันจบแค่แบบ)
.
เราต้องทำดังนี้
1.ทุกครั้งที่จ้างผู้รับเหมาสร้างบ้าน ต้องขอดูใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา ทุกครั้ง ถ้าแม่งบอกเป็นเจ้าของไม่จำเป็นต้องมี ต้องขอคุยกับลูกน้องที่มีใบอนุญาตอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เอาให้ชัวร์ว่าไม่ได้จ้างหน้าม้า
2. เมื่อตกลงให้ผู้รับเหมาทำงาน บอกไปเลยว่าจะจ้างผู้ตรวจเป็นบุคคลที่ 3 ในการตรวจสอบการก่อสร้างตลอดงาน ค่าใช้จ่ายจะเพิ่ม อีก 5-7 % (แต่ถูกกว่าค่าทนายเยอะ)
ถ้าทำได้ตามนี้ ก็น่าจะสบายใจในการจ่ายตังได้แล้ว(ถ้าโดนนี้จัดว่าโคตรซวย)
.
อะพูดคุ้มตังละ แล้วเจอกันใหม่เมื่อมีคนเปย์
ปล ขอบพระคุณรูปประกอบฟรี ภาพถ่ายโดย Rodolfo Quirós จาก Pexels
รับเหมาก่อสร้าง
กฎหมาย
กฎหมายย่อยง่าย
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย