Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บ้านหมอตั้ม
•
ติดตาม
11 ม.ค. 2022 เวลา 04:54 • สุขภาพ
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Disc)
หากใครกำลังมีอาการ ปวดคอ ปวดบ่า และมีอาการชาร้าวลงแขน หรือปวดหลัง ปวดสะโพก และมีชาร้าวลงขาร่วมด้วยแล้ว คุณอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นหนึ่งในโรคโรคยอดฮิตในปัจจุบันนี้ก็ได้นะ..... นั่นคือ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั่นเอง โดยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของหมอนรองกระดูกและพยาธิสภาพรอบๆกระดูก หมอนรองกระดูกมีการปลิ้น หรือยื่นไหลออกมากดทับเส้นประสาท ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกก็ตาม โดยจะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆขึ้น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการสำคัญคือ ปวดบริเวณที่เป็นสาเหตุ (คอหรือ หลัง) ปวดร้าวไปบริเวณอื่น หรือมีอาการทางระบบประสาทตามแนวของเส้นประสาทที่กดทับ เช่น อาการชา แสบร้อน เป็นต้น กรณีที่อาการรุนแรงอาจมีอาการจนถึงขั้นปวดมากจนแตะ-สัมผัส หรือขยับไม่ได้ หรือแม้แต่กล้ามเนื้ออ่อนแรงเลยทีเดียว
กรณีส่วนต้นคอ อาจร้าวไปที่ บ่า แขน ตลอดจนถึงนิ้วมือ
กรณีส่วนเอว-หลังล่าง อาจร้าวลงไปที่สะโพก ขา น่อง ตลอดจนนิ้วเท้า
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
1. ปัจจัยทางสรีรวิทยา
1.1อายุ: มักพบในผู้ที่มีอายุประมาณ 30-50 ปี
1.2เพศ: มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง( ในอัตราส่วนประมาณ 2:1)
2. ความผิดปกติทางด้านโครงสร้างของกระดูก
ความผิดปกติทางโครงสร้างของกระดูกที่ผิดรูปไป หรือเอียงคดไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. ความเสื่อมสภาพ
มักพบได้จาก ผู้ใช้แรงงานหนักใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป ทำงานในท่าทางที่ผิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
4. การบาดเจ็บจากภายนอก
การบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน การเคล็ดหรือแพลงอย่างเฉียบพันกระดูกหัก
การเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวที่รุนแรง
5. ปัจจัยอื่นๆ เช่นการสูบบุหรี่ มีผลกระทบต่อเลือดที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง
โรคอื่นๆ เช่นโรคเบาหวาน มีผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดบริเวณกระดูกสันหลัง
การวินิจฉัยโดยการ MRI จะเห็นผลดีที่สุด สามารถแยกแยะโรคหมอนรองกระดูกแต่ละพยาธิสภาพได้ดีที่สุด
การรักษาโดยการฝังเข็มจีน และทุยหนา(รวมถึงการจัดกระดูกด้วย)
เน้นหลักการ ลดการติดขัด, เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลมปราณ ช่วยให้กล้ามเนื้อชั้นลึกที่หดเกร็งมีการคลายตัวออก และจัดกระดูกเพื่อช่วยปรับโครงสร้างร่างกายให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้หมอนรองกระดูกมีพื้นที่ในการไหลกลับเข้าที่ เข้าตำแหน่งได้
อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจ และส่งต่อเคล็ดลับตลอดจนวิธีการป้องกันดูแลสุขภาพอย่างง่ายๆ โดยแพทย์จีนโอฬาร กันด้วยนะครับ👍
บทความโดย แพทย์จีน โอฬาร พิพัฒน์มงคลพร (พจ.49)
#หมอตั้ม #แพทย์จีน #ฝังเข็ม #ทุยหนา #นวดจัดกระดูก #หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท #หมอนรองกระดูก #หมอรองกระดูกทับเส้น #มือชา #เท้าชา #ขาชา #ปวดเส้นประสาท #ปวดคอ #ปวดบ่า #ปวดหลัง
ถ้าสนใจในการรักษาหรือขอคำปรึกษา สามารถนัดหมาย ผ่านทาง inboxเพจ บ้านหมอตั้ม หรือติดต่อผ่านLine Official
http://line.me/ti/p/~@fnf6372u
ได้นะครับ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย