11 ม.ค. 2022 เวลา 17:02 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BREAKING !! : สหรัฐฯ ควรใช้แนวทางของจีน !? นั่นคือคำกล่าวล่าสุดของ Ray Dalio มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทด้านการลงทุนมูลค่า 1.5 แสนล้านดอลลาร์ และเขายังชี้ว่าประเทศอื่น ๆ ก็ควรใช้แนวทาง "ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน" ของจีน นอกจากนี้ยังกล่าวคำที่น่าสนใจว่า "ยุคสมัยแห่งพรสวรรค์" มันคืออะไร ? มาดูกัน
ถือเป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้ว ! ที่ Ray Dalio มหาเศรษฐี ชื่อดังผู้ก่อตั้งบริษัท Bridgewater Associates ที่ปัจจุบันมีมูลค่า 1.5 แสนล้านดอลลาร์ ได้พูดถึงความหลงใหลของตัวเขาเองต่อประเทศจีน
และเขาก็ยังคงชื่นชมประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดนี้ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และพันธมิตร หันมามุ่งเน้นในการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านความมั่งคั่ง และในขณะเดียวกันก็กล่าวชื่นชมแนวทางของประเทศจีนในการสร้าง "ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน" (common prosperity)
โดยเขาได้แสดงความคิดเห็นในการประชุมกับบริษัท UBS Group AG เอาไว้ว่า
“การผลักดันของประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ช่วยกระจายความมั่งคั่งและโอกาสที่เท่าเทียมกันมากขึ้นในหมู่ประชากร และทำให้เศรษฐกิจสามารถดึงเอากลุ่มผู้ที่มีความสามารถมาทำงานได้จากวงกว้างมากขึ้น แต่การรณรงค์ครั้งนี้มักจะถูกเข้าใจผิดจากนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งกลัวว่าจีนจะกลับไปสู่รูปแบบคอมมิวนิสต์เช่นเดียวกับในสมัยของประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง”
(President Xi Jinping’s push helps redistribute wealth and opportunities more equally among its population, allowing the economy to draw upon a wider talent pool, The campaign is often misunderstood by international investors, who fear the country is returning to the communist model under Chairman Mao Zedong.)
2
Dalio กล่าวเสริมว่า
1
“ก่อนอื่น คุณต้องรวย จากนั้นคุณต้องกระจายโอกาสเหล่านั้นอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ ก็ต้องการความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันมากขึ้นผ่านระบบของตนเอง และประเทศอื่น ๆ อีกจำนวนมากก็ต้องการเช่นนั้น”
(First you get rich, then you make a point of distributing those opportunities in a more equal way, The U.S., through its own system, needs more common prosperity, and a lot of other countries do.)
เขาชี้ให้เห็นว่าในประเทศจีนนั้น การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านความมั่งคั่งถือเป็นเรื่องระดับชาติ และเกี่ยวข้องกับหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และอสังหาริมทรัพย์ (การมีที่อยู่อาศัยของผู้คน)
แน่นอนว่า Dalio นั้นมองว่าการยกระดับกฏระเบียบทางด้านการเงินของจีนตลอดปี 2021 ที่ผ่านมานั้นจะส่งผลดี และทำให้เศรษฐกิจ ของจีนมั่นคงมากขึ้นในระยะยาว แต่ในระยะสั้นนี้ เราคงได้เห็นผลกระทบกันไปแล้วตลอดปี 2021 ที่ผ่านมา เนื่องจากดัชนีหุ้นจีนต่างก็ปรับตัวลดลง ทำให้ MSCI China ร่วงเกือบ 23% (เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกเลยทีเดียว)
ยุคสมัยแห่งพรสวรรค์ (Talent Generation)
สำหรับการตีความหมายของคำว่า Talent Generation นั้น Dalio กล่าวถึงการขับเคลื่อนนโยบายความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของจีนเอาไว้ว่า
“คุณไม่รู้หรอกว่าพรสวรรค์ระดับสูงจะมาจากที่ไหน ซึ่งมันก็มีแนวโน้มว่าจะมาจากคนจน คนด้อยโอกาส เฉกเช่นเดียวกับที่มาจากคนที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ดังนั้น คุณจึงต้องดึงเอาพรสวรรค์นั้นมาใช้ จากนั้นคุณก็ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น และคุณก็สร้างระบบที่ยุติธรรมยิ่งขึ้น”
1
(You don’t know where the top talent is going to come from. It’s just as likely to come from poor people, disadvantaged people as it is from the most superbly groomed people, So you draw upon that talent, and you make a better economy more prosperous and you create a fairer system.)
Ray Dalio ถือเป็นมหาเศรษฐีอีก 1 คนนอกจาก Elon Musk ที่ออกมากล่าวว่าเขายินดีจะเสียภาษีมากขึ้นหากมั่นใจว่าเงินนั้นจะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะการส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมกัน และผลผลิตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น
1
และแน่นอนว่ามุมมองของเขาต่อจีนนั้นตรงข้ามกับจอร์จ โซรอส (George Soros) ซึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์ประเทศจีนอย่างรุนแรง และยังกล่าวถึงบริษัทด้านการจัดการสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง BlackRock Inc ว่ากำลังนำเงินไปลงทุนในประเทศจีน ซึ่งจะสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ได้
1
โซรอสกล่าวชัดเจนว่า การทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ไปยังประเทศจีนในตอนนี้ถือเป็นความผิดพลาดที่น่าสลดใจ (pouring billions of dollars into China now is a tragic mistake.)
อย่างไรก็ตาม หากจะพยายามหาจุดยืนที่แตกต่างระหว่างมุมมองของ Ray Dalio และ George Soros นั้น ก็คงอยู่ที่ว่ามุมมองของ Dalio มองถึงการเติบโตในระยะยาว แต่มุมมองของ Soros นั้นมองถึงความเคลื่อนไหวของตลาดในระยะสั้นมากกว่า (ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะ Dalio เป็นนักลงทุน ส่วน George Soros เป็นนักเก็งกำไร)
1
กลับมาที่ความเห็นของ Ray Dalio ซึ่งเขาได้กล่าวเปรียบเทียบสถานการณ์รระหว่างสหรัฐฯ-จีน เอาไว้ว่า
“สิ่งที่เราเห็นโดยส่วนใหญ่ก็คือ สหรัฐฯ กำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งรวมถึงสิ่งอื่น ๆ อย่างเช่น ระดับการศึกษา, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และสิ่งอื่นๆ ที่กำลังลดลง แม้ว่าเทคโนโลยีจะยังคงเป็นจุดได้เปรียบสำหรับสหรัฐอเมริกา แต่อัตราการเปลี่ยนแปลงนั้นช้ากว่าจีน”
(What we see by most of those is that the U.S is encountering more of those risky elements, also other things like education levels, competitive advantages and so on are on decline, While technology is still a bright spot for the U.S., the rate of change is slower than China.)
1
ทั้งนี้ ไม่มีใครรู้ว่ามุมมองของ Ray Dalio จะเฉียบคม ถูกต้อง หรือผิดพลาดกันแน่ แต่ถึงกระนั้นเขาก็ได้แสดงให้เห็นว่าเขาเชื่อในสิ่งที่พูดจริง ๆ เนื่องจากบริษัท Bridgewater ของเขานั้นเริ่มเข้าไปลงทุนในประเทศจีน เป็นมูลค่าอย่างน้อย 5 พันล้านดอลลาร์มาตั้งแต่ปี 1993 แล้ว
นอกจากนี้ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัทของ Dalio ระดมทุนได้ถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการเปิดตัวกองทุนส่วนบุคคลแห่งใหม่ในประเทศจีน และยังถือเป็น Hedge Fund ที่ใหญ่ที่สุดของจีนอีกด้วย
กองทุนหลักของ Dalio ชื่อว่า Pure Alpha II สร้างผลตอบแทนได้ประมาณ 8% ในปี 2021 ซึ่งถือว่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตของดัชนีหุ้นในตลาดหลัก ๆ แต่หากมองโดยรวมนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา Ray Dalio ยังถูกยกย่องให้เป็น 1 ในนักลงทุนที่สร้างผลตอบแทนได้สูงและมั่นคงที่สุดในโลก
2
มุมมองของ Ray Dalio ต่อ Evergrande และอสังหาฯ ของจีน
นอกจากประเด็นอื่น ๆ แล้ว แม้แต่ในเรื่องของภาคอสังหาฯ นั้น Ray Dalio เองก็มองว่าความกังวลที่เกิดขึ้นจะไม่ลุกลามกลายเป็นวิกฤตในวงกว้าง แม้ว่านักลงทุนบางส่วนจะได้รับผลกระทบก็ตาม
เขากล่าวว่าภาคอสังหาฯ ของจีนจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาล เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญของ GDP (ประมาณ 25% ของ GDP จีน) ดังนั้นแม้ว่าจะมีการปล่อยให้นักลงทุนบางส่วนเจ็บตัวจากความเสี่ยง แต่โดยรวมแล้ว Dalio มั่นใจว่าจะไม่เกิดวิกฤตเป็นวงกว้าง (ตรงข้ามกับมุมมองของ Soros)
1
Dalio กล่าวเสริมว่า การลงทุนในประเทศจีนนั้น ต้องมองเป็นเชิงกลยุทธ์ และจะต้องไม่กระโดดเข้าออกเนื่องจากกระแสข่าวร้ายที่ถาโถมเข้ามาในระยะสั้น (กล่าวคือใจต้องนิ่งนั่นแหละครับ)
และเขายังให้ความเห็นทิ้งท้ายไว้อีกว่า นักลงทุนไม่ควรมองข้ามประเทศจีน เพราะมีโอกาสในการเติบโตอีกมากในระยะยาว
1
ข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน
ล่าสุด Goldman Sachs ได้ออกมาปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนลงเหลือ 4.3% (จากเดิม 4.8%) โดยมองถึงผลกระทบจากการระบาดของ Omicron
อย่างไรก็ตาม Goldman Sachs ให้ความเห็นว่าแนวโน้มผลกระทบทางเศรษฐกิจภายในปีนี้จะถูกชดเชยด้วยมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาลและธนาคารกลางของจีน ซึ่งในปีนี้เลือกที่จะดำเนินนโยบายสวนทางกับหลายประเทศทั่วโลก (รวมถึงสหรัฐฯ) ที่กำลังกระชับนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ผลกระทบส่วนใหญ่ในปี 2022 ต่อเศรษฐกิจของจีนมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ของปีมากกว่าช่วงไตรมาสที่ 3-4
ส่วนทาง Bloomberg นั้นคาดการณ์ GDP ของจีนเติบโตที่ 5.2% ในปีนี้
นอกจากนี้ ล่าสุดยังมีข่าวออกมาว่าทางการจีนได้ออกมาสร้างความมั่นใจว่าการระบาดของ Omicron จะไม่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งจะเป็นสถานที่สำคัญที่จีนใช้เปิดตัว Digital Yuan ในวงกว้างมากขึ้น
ดังนั้นเราคงต้องมาติดตามกันต่อไปว่าเศรษฐกิจของจีนในระยะสั้นนี้จะเป็นอย่างที่ Geroge Soros ว่าเอาไว้จริง ๆ หรือไม่ ? หรือจีนจะสามารถเอาชนะคำทำนายนี้ของผู้ที่ได้ฉายาว่าพ่อมดการเงินได้
ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันข่าวสารที่แท้จริงไปกับ World Maker
🙏 ขอบคุณทุกท่าน 🙏 ที่ติดตาม World Maker ฝากกด Like และ Share เพื่อเป็นกำลังใจและให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 😊
References :
โฆษณา