Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
X21
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2022 เวลา 01:21 • สิ่งแวดล้อม
X world’S : EPISODE 2 GREEN SPACE X POCKET PARK
GREEN SPACE สำหรับกรุงเทพฯ มีไม่เพียงพอจริงหรือไม่อย่างไร?
เรามักจะเห็นหรือได้ยินจากสื่อว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวที่น้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดไว้ 9 ตร.ม./คน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม แต่สำหรับกรุงเทพฯ นั้นปัจจุบันพื้นที่สีเขียวอยู่ที่สัดส่วน 6.9 ตร.ม./คน ซึ่งน้อยกว่า WHO กำหนดไว้ แต่พื้นที่ที่ประชาชนใช้งานได้ก็กลับน่าตกใจที่มีเพียง 0.92 ตร.ม./คน ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำที่สุด เพราะจะยิ่งทำให้อนาคตน้อยลงไปเพราะจะสวนทางกับประชากรและผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งตลอด 8-9 ปีที่ผ่านมาพื้นที่สีเขียวได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเขตของกรุงเทพฯ ที่มีพื้นที่สีเขียวเพียงพอ เพราะจากจำนวนเขตในกรุงเทพฯ ทั้งหมด 50 เขต กลับมีเพียง 11 เขต ที่มีพื้นที่สีเขียวถึงเกณฑ์ที่กำหนดของ WHO และก็มีเพียง 3 เขต ที่มีอัตราการเติบโตของพื้นที่สีเขียวสูงสุด คือ เขตบางแค เขตดุสิต และเขตคลองสามวา
ปัจจุบันพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ ที่เรารู้จักนั้นก็มีตั้งแต่ สนามหลวง (ปัจจุบันใช้งานระดับราชการ), สวนวิราเบญจทัศ, สวนเบญจกิติ, สวนลุมพินี เป็นต้น ทั้งทางกรุงเทพฯ ก็ได้มีโครงการ GREEN BANGKOK 2030 ที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียว จาก 6.9 ตร.ม./คน เป็น 10 ตร.ม./คน ภายในระยะ 10 ปี และเป็นการกระจายการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นในระดับ 50% ของพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันก็มีพื้นที่นำร่องโครงการ 11 แห่ง ตัวอย่างเช่น สวนปิยะภิรมย์,
สวนสันติพร, สวนต่างระดับร่มเกล้า-เจ้าคุณทหาร เป็นต้น และปัจจุบันก็มี สวนบางขุนเทียนที่ขยายเพิ่ม เสร็จเรียบร้อยในเดือนกันยายนปีที่แล้ว
เราจึงคิดหากพึ่งพาเพียงแต่สวนหรือพื้นที่สีเขียวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่นั้น จะไม่สามารถเข้าถึงระดับชุมชน หรือตามตรอกซอย หรือแม้กระทั่งพื้นที่ที่เล็กที่ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะเราเพียงกระจายแค่พื้นที่สีเขียวขนาดกลางไปใหญ่เพื่อรองรับระดับคนเมืองในส่วนต่าง ๆ แต่กลับไม่คำนึงถึงพื้นที่เล็กที่สามารถใช้ประโยชน์ได้เช่น ซึ่งจะเห็นว่าตามชุมชน ตรอกซอย พื้นที่มุมอาคาร (ที่ร้าง) มักจะไม่มีพื้นที่สีเขียวเข้าถึงซึ่งสามารถทำให้เกิดกิจกรรมแห่งความอบอุ่นทั้งกายและใจ
จึงทำให้แนวคิด POCKET PARK เพราะเป็นสวนแบบพกพา เล็ก กะทัดรัด สามารถที่จะเข้าถึงได้ตั้งได้มุมอาคาร ตรอกซอย ชุมชน POCKET PARK ยังสามารถอยู่ในเมือง ชานเมือง ชนบท หรือแม้หลังคาที่อาจไม่ได้ใช้งานเปิดให้สาธารณะเข้าใช้ได้ และด้วยความเป็นพื้นที่เล็กอาจไม่ได้นำไปสู่กิจกรรมขนาดใหญ่ได้ แต่นั้นก็เพียงส่วนหนึ่งเพราะ POCKET PARK คือการสร้างพื้นที่ให้เรานั้น นั่งภายนอกอาคารได้บ้าง มีต้นไม้เข้าถึง หรือออกแบบผสมผสานสนามเด็กเล่นขนาดเล็กได้
POCKET PARK นั้นยังสามารถที่จะทำให้ผู้คนโดยรอบสามารถเข้าได้สะดวก เพราะยิ่งใกล้ก็ยิ่งสร้างประโยชน์ในการผ่อนคลาย และยังช่วงให้ผู้คนใช้งานเดินทางด้วยการเดินเท้า จักรยานลดภาวะความอ้วนเติมสุขภาพความแข็งแรงได้ POCKET PARK ยังคงมีส่วนช่วยในการเคลียพื้นที่รกร้างอย่างที่บอกไปข้างต้น เพราะช่วยเคลียขยะ ปูหญ้ารกร้าง ให้มาเขียวสดใส ใช้งานได้ และยังช่วยลงอาชญากรรม ตั้งแต่ขโมยไปจนถึงการเกิดอาชญากรรมร้ายแรงได้
ซึ่งปัจจุบัน POCKET PARK ก็มีเพียงไม่กี่แห่งในกรุงเทพฯ เช่น ชุมชนคลองเตย, Vadhana Pocket Park, ซอยหน้าวัดหัวลำโพง จึงเป็นทางที่ดีอีกทางที่จะใช้พื้นที่สวนเล็ก ๆ แห่งนี้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในกรุงเทพฯ ชานเมือง หรือชนบท เพื่อที่จะสามารถให้ประชากรได้ใช้อย่างเป็นสาธารณประโยชน์
สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเป็น GREEN SPACE หรือ POCKET PARK ก็สามารถที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้เหมือนกัน เพียงแค่ต่างกันที่พื้นที่ขนาด ทั้ง 2 ยังคงที่จะสร้างพื้นที่ธรรมชาติที่ทำให้ผู้คนในกรุงเทพฯ ผู้คนชานเมือง หรือผู้คนต่างจังหวัด มีพื้นที่ที่จะรวมตัว ทำกิจกรรมเล็กน้อย ๆ หรือแม้ได้พักผ่อน ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจที่สดชื่นเบิกบาน แถมยังลดอาชญากรรมได้ เพิ่มมูลค่าของที่ดินได้ นี่จึงเป็นผลดีที่ไม่น้อยก็มากที่จะทำให้เราทุกคนเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
- สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ
- องค์การอนามัยโลก (WHO)
- Pocket Park 1988 (Process Architecture)
- X world’S
- Facebook : X21
- YouTube : X21
- Blockdit : X21
- Instagram : x21_group
#architecture #architecturedesign #interiordesign #archdaily #home #homedesign #house #green #sustainablearchitecture #housedesign #Official #bangkok #thailand
#x21group
#architectsplusx21
#xworlds
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย