13 ม.ค. 2022 เวลา 03:43 • ครอบครัว & เด็ก
ใส่ Q ให้ลูกเริ่มตัวไหนดีหน่อ????
พักเรื่องปลูกผัก มาเรื่อง Q ความฉลาด
ในด้านต่าง ๆ ให้ เด็ก ๆ กันก่อนนะครับ
ผมโทมัส อายุ 7 ขวบ ย่าง 8 ขวบ
ขึ้น ป.3 (Years 3) ปีนี้ เมื่อเปิดเทอม
แม่ผมมีข้อมูล ดี ๆ เกี่ยวกับ Q
วัยของผม เรียกว่า วัยประถมต้น
(ช่วงอายุ 6 - 9 ปี)
ซึ่งวัยนี้ เริ่มมีการเรียนรู้หลายสิ่ง
หลายอย่าง เริ่มจริงจัง จากวัยอนุบาล
ซึ่งวัยนี้ เน้นเรียนรู้การเปิดโลกทัศน์
และ สังคม กับ จินตนาการ
ทำให้พ่อแม่หลายคนเริ่มกังวลผลการเรียน
หากลูกทำไม่ได้ดั่งความตั้งใจที่เราคาดหวัง
เราควรใส่ Q ให้สมวัย และ รู้ว่าวัยนี้เขาจะเด่นเรื่องอะไร
สำคัญที่สุด อย่าเปรียบเทียบลูกคุณ กับ ลูกข้างบ้าน
ให้กำลังใจ ลูกคุณ ใส่คำพลังงานบวก ให้ลูกต่อสู้ ไม่ถอย
ถอดใจกับอะไรง่าย ๆ
ถ้าขยันเปรียบเทียบลูกตัวเอง กับข้างบ้าน
แนะนำ ให้ไปแลกลูกกันเลี้ยง สักเดือน
แล้วดูผลลัพธ์ ถ้าสมมุติ ลูกคุณ ดีขึ้น เก่งขึ้น
คุณควรเปลี่ยนวิธีเลี้ยง แล้ว เปรียบเทียบตัวคุณ กับ พ่อแม่ข้างบ้านแทน อย่าผลักภาระให้ลูก รับกรรม ฝ่ายเดียว
เข้าใจ รู้เรื่อง
“แม่ใจเย็น ๆ ครับ อารมณ์หงุดหงิดบ่อยนะครับ”
มาพักเบรคให้แม่ผมหายหงุดหงิดก่อนนะครับ
ผมพามาต่อเลโก้ครับผม
สิงโต 🦁 ต่อไม่ยาก ไม่ง่าย ใช้สมาธิล้วน ๆ
ช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่าเพิ่งเน้นเรื่องเรียนวิชาการ
มากจนเกินไป แต่ควร สร้าง EQ ความฉลาดเฉลียวทางด้านอารมณ์เป็นพื้นฐานก่อนก็ดี
เรื่องแรกที่ต้องทำ “สมาธิ”
เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้การเรียนดีขึ้น
การฝึกสมาธิเบื้องต้น ไม่ต้องถึงขั้นลาก ลูก ๆ มานั่งสมาธิ
แต่ขอให้เริ่มด้วยการฝึกเขา ให้ทำอะไรนานขึ้นให้ได้
เช่น วาดรูป ระบายสี ต่อเลโก้ ปั้นดินน้ำมัน
สิ่งเหล่านี้ทำให้ลูก ๆ มีสมาธิจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานขึ้น
เมื่อเขาทำเสร็จ ควรมีรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ
เพื่อเสริมกำลังใจ
การฝึกแบบนี้ พ่อแม่ ต้องมีความอดทนมากขึ้นในการสอนด้วย อย่าฝึกแต่ลูก จนลืมฝึกตัวเราเอง เพราะเราคือ ตัวอย่าง
ที่ดีที่สุด
เมื่อลูก ๆ สามารถทำอะไรได้นานขึ้นกว่าเดิม
ค่อย ๆ ปรัยกิจกรรม เป็น ก่อนนอนก็สวดมนต์อย่างง่าย ดู
คั้นสายตา ด้วยคนหล่อ
เรื่องต่อไปสำคัญมาก ๆ
สำคัญกว่าการเรียนรู้วิชาในตำราอีก
คือ
“การสร้างความมั่นใจในตนเอง”
หากสร้างความมั่นใจเป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อน ไม่ได้
ก็ส่งผลต่อการเรียนด้วย ว่าไหมครับ
และวัยนี้ละ เริ่มทำตัวแปลก ๆ
เพราะกำลังค้นหาจุดยืนของตัวเอง
เชื่อไหมครับ ใครที่มีพฤติกรรมเหมือนกัน
พวกเขาก็จะกลายเป็นเพื่อนสนิทกันทันที
เคมีตรงกัน ว่างั้น
เด็ก ๆ จึงต้องการความเชื่อมั่น
ในการทำอะไรสักอย่าง
เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม
คุณละ เคยเป็นแบบนี้ไหม
แต่ต้องทำความเข้าใจให้ลูกด้วยนะครับ
อย่าให้ลูกหลงผิด จนสร้างอุปนิสัย
ต้องการเป็นจุดเด่น เพียงเพราะไม่อยากน้อยหน้าใคร
หรือ อยากให้มีคนมาห้อมล้อมยอมรั
เพราะเขาอาจทำในสิ่งที่ดูแย่ เพียงเพราะอยากเด่น ก็ได้
ปัญหาเรื่องความต้องการจะเด่นอีกอย่างที่สังเกตได้ชัด ๆ
บางครั้งเด็กเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองทางวัตถุ
เพื่อเสริมความมั่น ก็จะแสดงออกด้วย พฤติกรรม
เช่น เริ่มมีอาการก้าวร้าว ชอบหาเรื่องระรานคนอื่นไปทั่ว
ชอบท้าตีท้าต่อย ทับถมคนอื่น พูดจากหยาบคาย
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือ พฤติกรรมที่แสดงออกว่า
ต้องการให้คนยอมรับโดยการสร้างความเกรงกลัวให้คนอื่น
มีใครติดพฤติกรรมนี้ ตั้งแต่เด็ก มาจนถึง ปัจจุบันนี้บ้างครับ
ผมโทมัส ขออนุญาตแนะนำ แบบนี้นะครับ
การสร้างความมั่นใจให้กับลูก ๆ
เริ่มจาก ที่ ผู้ใหญ่ ต้องเอาใจใส่เรื่องความคิดเห็นของลูก
คือ ให้โอกาสพวกเราได้พูด ได้แสดงออกถึง
ความคิด ไอเดีย ส่วนพ่อแม่จะชอบหรือไม่
ฟังไว้ก่อน อย่าเพิ่งตัดสินใจ ขัด และคิดแต่ว่า
พวกเราคือ เด็ก
และการที่ผู้ใหญ่ ตัดสินว่า เราเด็ก ความคิดไม่เข้าท่า
ถ้าไม่ทำตาม ก็ไม่ต้องขัดได้ปะ ฟังเฉย ๆ มันต้องเสียภาษีเพิ่มปะละ
สิ่งเหล่านี้ คือ การแสดงออกถึงความกล้า สร้างความมั่นใจ
ที่จะตอบ ถึงมันจะไม่เหมาะ หรือ เข้าท่า ในสายตาผู้ใหญ่ ก็ตาม
เรื่องอะไรก็ได้ ไม่ว่า จะเป็นเรืาองในชีวิตประจำวัน
ยิ่งคุยกับลูกบ่อย ๆ ลูก ๆ จะรู้สึกอบอุ่น มีความมั่นใจในตัวเอง
เพิ่มขึ้น กล้าที่จะคุยกับพ่อแม่ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ความไว้ใจ ความไม่เหินห่าง เหมือนพ่อแม่ คือเพื่อนสนิทอีกคน ลูกคุณก็ไม่ติดเพื่อนละ
เมื่อยมือ ขอพักก่อนดีกว่า
บทความหน้า ผมจะมาบอก
ว่า
เพื่อนสนิทที่อันตรายที่สุด คือ ใคร???
ติดตามความซนของผมได้ที่
หรือ ยูทูป ที่นี่
หรือ จะพบกันที่ TikTok
อยากได้ของอร่อยไปติดครัว
สอบถามเพจนี้เลยครับ แม่ผมเป็นเจ้าของแบรนด์
โฆษณา