Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนเกิร์ล
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
16 ม.ค. 2022 เวลา 03:30 • การตลาด
‘จ้าง Influencer’ หรือ ‘สร้าง Personal Branding’ กลยุทธ์ไหนดีกว่ากัน ?
2
หากเราพูดถึง Tesla หรือ SpaceX ทุกคนจะนึกถึงอะไรคะ ?
สำหรับบางคนแทนที่จะเห็นภาพของรถยนต์หรือจรวด ก็อาจจะเห็นหน้าของอีลอน มัสก์ ลอยขึ้นมาแทน
ซึ่งนั่นก็เพราะว่า อีลอน มัสก์ ใช้ตัวเองเป็น “Personal Branding” หรือที่เราเรียกว่า การสร้างตัวตนขึ้นมาให้สังคมจดจำ จนกลายเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ในที่สุด
1
ในขณะเดียวกัน ก็มีบางแบรนด์เลือกที่จะให้ “Influencer” หรือคนที่มีอิทธิพล มาช่วยในการโปรโมตสินค้าและเป็นตัวแทนของแบรนด์ ในการสื่อสารกับผู้บริโภค ซึ่งในปี 2021 จากรายงานของ Research and Markets พบว่าตลาดอินฟลูเอนเซอร์นี้มีมูลค่าสูงถึง 3.5 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
แล้ว Personal Branding กับ Influencer ต่างกันอย่างไร ?
และหากเราต้องการเริ่มธุรกิจ เราควรเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดแบบไหนดี ?
ลงทุนเกิร์ลจะพาไปหาคำตอบกัน
อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจความหมายของ Personal Branding กับ Influencer กันก่อน
1
Personal Branding คือการสร้างตัวตนขึ้นมาให้สังคมจดจำ จากจุดเด่น, ความเชื่อ หรือเรื่องราวของแบรนด์ จนกลายเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์
ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคเห็นภาพลักษณ์นั้น ๆ จนคุ้นชิน เพียงแค่เอ่ยถึงบุคคลนั้น ภาพลักษณ์นั้น ๆ ผู้บริโภคก็จะนึกถึงแบรนด์ขึ้นมาเองโดยปริยาย
ซึ่งส่วนใหญ่ เราก็คงจะเห็นเจ้าของธุรกิจหลาย ๆ คน เริ่มหันมาใช้ “ตัวเอง” ในการสร้าง Personal Branding
เช่น หากเราพูดถึง iPhone ภาพของสตีฟ จอบส์ ก็คงจะลอยขึ้นมาทันที ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบัน คนที่นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทจะเป็น ทิม คุก มานานกว่า 10 ปีแล้ว
ซึ่งสำหรับในประเทศไทยเอง ก็มีเจ้าของธุรกิจหลาย ๆ คน เลือกที่จะใช้ตัวเองเป็น Personal Branding ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างของหนึ่งใน Personal Branding ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็คือคุณพิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักกันในชื่อ “พิมรี่พาย” แม่ค้าไลฟ์ขายของ ที่ขายสินค้าแทบทุกอย่าง
โดยแครักเตอร์ที่คุณพิมรี่พายสร้างขึ้นก็คือ แม่ค้าไลฟ์สดกับโกดังใหญ่ที่พูดจาเข้าถึงง่าย ใจใหญ่ กล้าได้กล้าเสีย และมีเรื่องราวใหม่ ๆ ให้ลูกค้าได้เซอร์ไพรส์ตลอดเวลา
1
ซึ่งหากเราพูดถึงการไลฟ์ขายของบนเฟซบุ๊ก ชื่อของคุณพิมรี่พายก็จะขึ้นมาเป็นอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน
ต่อมา คุณอูน-ชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์ เจ้าอาณาจักร Diamond Grains ที่ปัจจุบันเดินทางเข้าสู่ปีที่ 7 แล้ว แต่แบรนด์กลับไม่เคยใช้พรีเซนเตอร์ในการขาย หรือโปรโมตสินค้าเลย
เนื่องจากคุณอูนเลือกที่จะใช้ตนเอง ในการทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ ด้วยแครักเตอร์นักธุรกิจสาว ที่จริงใจ และใส่ใจกับการพัฒนาสินค้าและบริการให้กับลูกค้า และหลัง ๆ เพิ่มเติมมาด้วยการให้ความรู้ รวมถึงแง่คิดเกี่ยวกับการทำธุรกิจ SME ที่เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเธอ
3
ซึ่งจริง ๆ แล้วหลายคนอาจไม่รู้ว่า แบรนด์ Diamond Grains ยังมีผู้ร่วมก่อตั้งอีกคน ซึ่งก็คือ คุณวุฒิกานต์ วงศ์ดีประสิทธิ์ สามีของคุณอูน แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว ภาพจำของ Diamond Grains ก็น่าจะยังคุ้นชินกับคุณอูนมากกว่าอยู่ดี
1
และเจ้าของธุรกิจคนสุดท้ายก็คือ คุณแพร-วทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา เจ้าของห้องเสื้อ Vatanika
ซึ่งแต่ก่อน จะเป็นแบรนด์ที่รู้จักเฉพาะกลุ่มแค่ในวงการแฟชั่นเท่านั้น
3
แต่หลังจากที่คุณแพรได้เริ่มสร้างภาพลักษณ์ ไฮโซสาวใช้ชีวิตหรูหรา ผ่านช่อง YouTube ส่วนตัว แบรนด์ Vatanika ก็กลายเป็นที่รู้จักกว้างมากขึ้นพร้อมกับวลี “It’s me Vatanika”
1
ดังนั้นข้อดีของการสร้างตนเองเป็น Personal Branding ก็คือ ช่วยให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์ แม้ไม่ได้ติดตาม หรือสนใจสินค้าและบริการของแบรนด์อย่างจริงจังเลยก็ตาม
1
ส่วนสำหรับผู้บริโภคที่สนใจสินค้าและบริการของแบรนด์อยู่แล้ว ก็จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกคุ้นเคย และเชื่อถือในตัวแบรนด์มากขึ้นไปอีก
นอกจากนั้นยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างอินฟลูเอนเซอร์ หรือพรีเซนเตอร์ในการโปรโมตแบรนด์ เพราะผู้บริโภคยึดเจ้าของแบรนด์เป็นภาพจำไปแล้ว
แต่การที่สร้างตัวบุคคลเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะหากบุคคลนั้น ๆ ประพฤติตัวไม่ดี หรือไม่เป็นที่ยอมรับ ก็อาจจะส่งผลกระทบไปถึงแบรนด์ได้ โดยที่แก้ไขได้ยาก
1
นอกจากนั้น การสร้างภาพลักษณ์ให้คนจดจำยังไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่สร้างขึ้นได้ภายในวันหรือสองวัน หรือเพียงแค่ประกาศว่าเราจะเป็นพรีเซนเตอร์ของแบรนด์ แล้วจะกลายเป็น Personal Branding ทันที
1
เพราะจำเป็นต้องมีบุคลิกที่โดดเด่น และหมั่นสื่อสารกับผู้บริโภคอยู่เสมอ เพื่อที่จะสร้างความคุ้นเคย และเข้าไปอยู่ในความทรงจำของคนเหล่านั้นในที่สุด
แล้ว Personal Branding ต่างจากการจ้าง Influencer อย่างไร ?
สำหรับ Influencer หรืออินฟลูเอนเซอร์ ก็คือบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือคนที่มีอิทธิพลต่อผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง โดยไล่เรียงลำดับไปตั้งแต่คนที่มีอิทธิพลในวงเล็ก ๆ ไปจนถึงคนที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เช่น Nano, Micro และ Macro
2
Influencer ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาด ที่สามารถดึงดูดให้คนมาสนใจแบรนด์ได้ เนื่องจากคนรุ่นใหม่ยุค Millennial และ Gen Z รู้สึกเชื่อถือในตัวอินฟลูเอนเซอร์มากกว่าแคมเปญใหญ่ ๆ หรือดาราชื่อดัง เพราะรู้สึกถึงความใกล้ชิดและเข้าถึงง่ายมากกว่า
3
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่เราจะเห็นทั้งแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ ต่างก็จ้าง Influencer ในการโปรโมตแบรนด์ตัวเองทั้งนั้น
โดยเฉพาะในปี 2022 นี้ ที่คนได้หันมาให้ความสนใจกับ Nano Influencer หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามไม่ถึง 1,000 คน มากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากคนเหล่านี้จะมีอัตราค่าจ้างที่ไม่สูง แต่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ติดตามได้อย่างใกล้ชิด
1
อย่างไรก็ตามอินฟลูเอนเซอร์ที่มีภาพลักษณ์ไม่ดี ก็สามารถทำลายชื่อเสียงให้กับแบรนด์ได้เช่นกัน
1
แต่ปัญหาเหล่านี้ก็จะส่งผลกระทบได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะแบรนด์เปลี่ยนอินฟลูเอนเซอร์ที่โฆษณาสินค้าได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากอินฟลูเอนเซอร์คนไหน ทำให้แบรนด์เสียชื่อเสียง ก็สามารถปลดลงได้ง่าย ๆ
1
ต่างจาก Personal Branding ที่เปลี่ยนได้ยากกว่า เพราะเป็นคนใกล้ชิด และมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับแบรนด์ จนแทบแยกไม่ออก
นอกจากนั้น อีกหนึ่งเทรนด์ของอินฟลูเอนเซอร์ ที่มาแรงไม่แพ้กัน ก็ยังมี “Virtual Influencer” หรืออินฟลูเอนเซอร์เสมือน ที่รูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ แต่ถูกสร้างมาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อมาแทนอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นคน
1
เช่น เครือข่าย AIS ก็ดึงเอา “ไอ-ไอรีน” อินฟลูเอนเซอร์เสมือนที่พัฒนาโดยคนไทย มาเป็น Brand Ambassador หรือ “วันนี้” อินฟลูเอนเซอร์ของแบรนด์ทิพยประกันภัย
พอเรื่องเป็นอย่างนี้ จึงเรียกได้ว่าช่วยขจัดปัญหาการปลดอินฟลูเอนเซอร์ที่ไม่เหมาะสมในอนาคต
เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์เสมือนเหล่านี้ นอกจากจะสามารถควบคุมพฤติกรรมได้แล้ว ยังคงความเยาว์วัยตลอดกาลอีกด้วย
1
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงจะรับรู้ได้แล้วว่าทั้งการสร้าง Personal Branding และการจ้าง Influencer เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองในยุคดิจิทัลอย่างมาก ซึ่งทั้ง 2 กลยุทธ์นี้ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป หากเรานำมาใช้ไม่ถูกต้อง
1
ส่วนคำตอบเรื่องการสร้าง Personal Branding หรือจ้าง Influencer กลยุทธ์ไหนจะดีกว่ากัน เราก็ควรถามตัวเองก่อนว่าเราต้องการสร้างธุรกิจแบบไหน แล้วเราพร้อมหรือไม่
ดังนั้นเราควรเลือกหนทางที่เหมาะกับรูปแบบธุรกิจของเรามากที่สุด
References:
-
https://www.entrepreneur.com/article/402133
-
https://webflow.com/blog/personal-branding-examples
-
https://influencermarketinghub.com/influencer-marketing-trends/
-
https://www.guillemrecolons.com/en/personal-branding-empresa/
-
https://www.josephwriteranderson.com/blog/the-pros-and-cons-of-creating-an-online-personal-brand
influencer
personalbranding
การตลาด
32 บันทึก
29
50
32
29
50
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย