14 ม.ค. 2022 เวลา 07:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สัณฐานวิทยาโครงสร้างของแบคทีเรีย และ การย้อมสีแบคทีเรีย ผ่าน"กล้องจุลทรรศน์"
การศึกษาทางกล้องจุลทรรศน์เป็นขั้นแรกในการชี้เอกลักษณ์ (identify) แบคทีเรีย ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามการติดสีกรัมเป็นแบคทีเรียกรัมบวก (gram-positive bacteria) และแบคทีเรียกรัมลบ (gram-negative bacteria) ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ รูปร่าง (shape) ว่า กลม (coccus/cocci) แท่ง (bacillus/bacilli) หรือเกลียว (spirilli) และการเรียงตัวของเซลล์ (cell arrangement) รวมถึงการมีโครงสร้างที่เฉพาะตัว เช่น เอนโดสปอร์ (endospore), แส้เซลล์ (flagella), ปลอกหุ้ม (capsule) และเม็ดสีภายในเซลล์ (intracellular granules)
CR.https://en.wikipedia.org/wiki/Bacillus_(shape)
ขั้นตอนในการเตรียมเชื้อแบคทีเรีย (bacterial smear) ก่อนการย้อมสี
1. แบ่งแผ่นแก้ว (slide) เขียนชื่อแบคทีเรียกำกับในแต่ละช่อง
2. ใช้เทคนิคที่ลดการปนเปื้อนจุลินทรีย์ (aseptic technique) โดยใช้ห่วงถ่ายเชื้อ (loop) ถ่ายเชื้อจากอาหารเลี้ยงเชื้อที่เป็นของเหลว (broth) 3-4 loop หยดบนสไลด์ที่สะอาด
3. ทิ้งไว้ให้แห้งในอากาศ (air dry)
4. ทำให้เชื้อติดแน่น (fixation) บนแผ่นแก้วโดยผ่านสไลด์ ให้รอยคราบเชื้อ (smear) อยู่ด้านบน เหนือเปลวไฟของตะเกียงผ่านไปมา 4-5 ครั้ง
5. ให้วางสไลด์บนแท่งเหล็กที่พาดบนอ่างน้ำ หยดสีที่ใช้ให้ท่วมแผ่นคราบเชื้อ เมื่อครบเวลาให้รินสีที่เหลือออก ล้างสีด้วยน้ำก๊อก วางไว้ให้แห้ง นำไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ แผ่นกระจก
6. เตรียมเองที่ดูเสร็จแล้ว ให้แช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อ (disinfectant)
  • การย้อมสีแบคทีเรีย
แบคทีเรียประกอบด้วย ส่วนประกอบด้วยของเซลล์ (protoplasmic matter) ที่ใสไม่มีสีจุดประสงค์ของการย้อมสีก็เพื่อให้แบคทีเรียติดสี ทำให้เห็นได้ง่ายในการศึกษารูปร่าง ขนาดและลักษณะของเซลล์ รวมถึงส่วนประกอบต่าง ๆ และช่วยในการจำแนกให้เห็นความแตกต่างระหว่างเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
1. การย้อมสีชนิดเดียวกัน (simple staining)
2. การย้อมสีเหลายสีเพื่อจาแนกเชื้อ (differential staining)
CR.https://microbeonline.com/types-of-staining-techniques-used-in-microbiology-and-their-applications/
Gram staining
1. แบ่งแผ่นกระจกออกเป็น 3 ส่วน
2. เตรียมเชื้อตามขั้นตอนที่กล่าวไว้ข้างต้น
3. วิธีย้อมสีกรัม
3.1 หยด crystal violot ให้ท่วมรอยเชื้อ 30 วินาที แล้วล้างน้ำ เทน้ำออกให้หมด
3.2 หยด Gram iodine 30 วินาที ล้างน้ำ
xii
3.3 ล้างสี (decolorize) ด้วย 95% แอลกอฮอล์ โดยเอียงแผ่นกระจกไปมาประมาณ 5-10 วินาที ล้างน้ำ ระวังอย่าล้างสีนานเกินไป เพราะจะทำให้สารประกอบเชิงซ้อน crystal violet-iodine complex หลุด
3.4 หยด safranin 15 วินาที ล้างน้ำ แล้วซับให้แห่งก่อนดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
การอ่านผล
เซลล์สีม่วงของ crystal violet=แบคทีเรียกรัมบวก
เซลล์ติดสีแดงของ safranin =แบคทีเรียกรัมลบ
Acid-fast staining (Kinyoun’s)
1. หยดสี carbol fuchsin บนสไลด์ให้ท่วมรอยเชื้อ ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที ล้างน้ำ
2. ล้างสีด้วย acid alcohol จนกระทั่งสีจาง (ประมาณ 1 นาที) ล้างน้ำ
3. ย้อมทับด้วย methylene blue ประมาณ 30 วินาที ล้างน้ำ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
การอ่านผล
เซลล์รูปแท่งติดสีแดงของ carbol fuchsin =acid fast bacilli
เซลล์อื่น ๆ ติดสีน้ำเงินของ methylene blue=non-acid fast bacilli
ขอขอบคุณ หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สานักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
☺️ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานทุกท่านค่ะ
📌สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
จำหน่ายกล้องจุลทรรศน์
☎️ 02-747-2155, 086-341-3755
Line id : 086-341-3755
#กล้องจุลทรรศน์ #Microscope #serviece #ล้างกล้อง #คลีนนิ่งกล้อง #อาหาร
โฆษณา