"ทำไมคนที่ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน
แต่รับวิบากกรรมต่างกัน ?"
🍂 ใครพึงกล่าวว่า ‘คนทำกรรมอย่างใดๆ’
ย่อมเสวย "กรรม" นั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ
ส่วนใครกล่าวว่า ‘คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ’
ย่อมเสวย "ผลของกรรม" นั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ
🍂 บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่บุคคลบางคนทำแล้ว
บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้
บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว
กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน)
ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
🍃 จำแนกได้อย่างไร ว่ารับวิบากกรรมแบบใด
🍂 บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรม
มีศีลมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม
มีคุณความดีน้อย
เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม)
เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุเล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์)
บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้
🍂 บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว
มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรมแล้ว
มีคุณความดีมาก
เป็นมหาตมะ(ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง)
เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรม อันหาประมาณมิได้
คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส
ซึ่งจะเป็นเหตุให้เขาประมาณได้ว่าเป็นคนดีแค่ไหน)
บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว
กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
🍃 ตัวอย่างอุปมาที่ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น
🍂 ถ้ามีคนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้ำเล็ก ๆ 1 ก้อน
กับ ใส่เกลือก้อนเดียวกันนั้นลงไปในแม่น้ำคงคา
ผลที่เกิดย่อมต่างกัน
คือ ถ้วยน้ำนั้นย่อมเค็ม แต่แม่น้ำคงคาไม่เค็ม จากการใส่เกลือก้อนนั้น
น้ำในถ้วยเปรียบเสมือนผู้มีกายมิได้อบรม … ฯลฯ …
น้ำในแม่น้ำคงคาเปรียบเสมือนผู้มีกายได้อบรมแล้ว ... ฯลฯ …
...
🍂 อานิสงส์ของการรักษาศีล (หน้า ๑๑๑) …
🍂 สุคติของผู้มีศีล (หน้า ๑๑๕) ...
🍂 วิบากของผู้ทุศีล (หน้า ๑๑๗) ...
🍂 ทุคติของผู้ทุศีล (หน้า ๑๒๐) ...
.
... ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :