Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thai Aerospace
•
ติดตาม
16 ม.ค. 2022 เวลา 03:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ท้องฟ้าที่เรามองเห็น จริง ๆ แล้วมีสีอะไรกันแน่ Part 2
หลังจากที่ได้รู้ว่าแสงอาทิตย์สีขาวและท้องฟ้าสีฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ในส่วนต่อไปจะเป็นการหาคำตอบของข้อสงสัยเรื่องสีของท้องฟ้าเวลาเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้น และเย็นที่ดวงอาทิตย์ตกว่าทำไมท้องฟ้าจึงมีสีส้มแดง และทำไมในเวลากลางคืนท้องฟ้าจึงเป็นสีดำ
Credit: https://1freewallpapers.com/horizon-sea-sunset-sky
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่บริเวณเส้นขอบฟ้า (Horizon) ไม่ว่าจะเป็นช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก ในส่วนบริเวณที่อยู่ใกล้เส้นขอบฟ้าเราจะไม่เห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า แต่จะเห็นเป็นสีส้มแดง ทั้งนี้เนื่องจากการที่แสงอาทิตย์เดินทางบริเวณเส้นขอบฟ้าจะเป็นช่วงที่มีระยะทางที่แสงอาทิตย์ต้องเดินทางผ่านมากที่สุดกว่าจะมาถึงตาเรา การผ่านชั้นบรรยากาศที่หนามากนั้น ส่งผลให้แสงสีม่วง-น้ำเงินซึ่งมีความยาวคลื่นสั้นและมีความสามารถในการกระเจิงแสงได้ดี เกิดการกระเจิงแสงจนหมดก่อนที่จะเดินทางมาถึงตาเรา คงเหลือเฉพาะแสงสีส้ม-แดงที่กระเจิงแสงได้น้อยกว่าเนื่องจากความยาวคลื่นสั้นกว่า ที่สามารถเดินทางมาถึงตาเราได้
Credit: https://www.ukessays.com/essays/physics/scattering-light-7887.php
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เรามองเห็นท้องฟ้า โดยเฉพาะบริเวณเส้นขอบฟ้าในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตก เป็นสีส้ม-แดงนั่นเอง นอกจากนี้การที่เราเห็นแสงสีส้ม-แดงในแต่ละเวลาอยู่ในเฉดสีที่แตกต่างกันออกไปนั่นมาจากตัวแปรอื่น ๆ ที่ส่งผลในการมองเห็น เช่น ผลกระทบจากความชื้นหรือฝุ่นละอองในอากาศ การที่แสงเดินทางผ่านชั้นโอโซน หรือแม้แต่มลภาวะในอากาศต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถในการรับรู้และแยกแยะสีของดวงตามนุษย์นั่นเอง
สำหรับเหตุผลว่าทำไมในเวลากลางคืน เราจึงมองท้องฟ้าเป็นสีดำ เชื่อว่าหลายคนคงจะมีคำตอบในใจ นั่นคือ เรามองไม่เห็นแสงจากดวงอาทิตย์ที่เดินทางโดยตรงผ่านชั้นบรรยากาศโลกมาถึงตาเรา อาจมีเพียงแสงจากแหล่งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ หรือแสงจากดวงอาทิตย์ที่ไปสะท้อนดาวเคราะห์ รวมถึงดวงจันทร์ มายังโลก ซึ่งก็จะมีความเข้มของแสง (Intensity) ไม่มากพอที่จะทำให้เห็นท้องฟ้าเป็นสีต่าง ๆ ได้ ดังนั้นโดยสรุปก็คือ การที่พื้นที่อวกาศเกือบทั้งหมดเป็นความว่างเปล่า ถึงแม้จะมีแสงอาทิตย์เดินทางผ่าน แต่เราก็ไม่สามารถมองเห็นได้เนื่องจากไม่มีอนุภาคใดทำการสะท้อนหรือดูดกลืนแสงไว้ มีเพียงพื้นที่ส่วนน้อยที่มีดาวเคราะห์ หรือวัตถุอวกาศต่าง ๆ สะท้อนหรือดูดกลืนแสงไว้ เราจึงมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีดำเกือบทั้งหมด คงเหลือเฉพาะแสงที่ตกกระทบกับวัตถุในอวกาศที่จะเห็นได้บ้างเท่านั้น
ทั้งหมดนี้คือคำตอบให้เราได้ไขข้อสงสัยเรื่องแสงจากดวงอาทิตย์และสีของท้องฟ้าว่าเหตุใดเราจึงมองเห็นสีที่เปลี่ยนแปลงไป ในแต่ละช่วงเวลานั่นเอง
ที่มา
https://www.forbes.com/sites/startswithabang/2017/09/08/why-the-sky-is-blue-according-to-science/?sh=167b810361eb
https://www.uu.edu/dept/physics/scienceguys/2000Oct.cfm
https://www.livescience.com/why-does-space-look-black.html
https://cefrc.princeton.edu/sites/cefrc/files/Files/2011%20Lecture%20Notes/Alden/Lecture-7-Rayleigh.pdf
https://www.ukessays.com/essays/physics/scattering-light-7887.php
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย