Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
17 ม.ค. 2022 เวลา 01:08 • ความคิดเห็น
ทำไมคนหลายล้านรอดตายจากอุบัติเหตุบนถนนตั้งแต่ยุค 60
หากคุณต้องเลือกระหว่าง โอกาสในการทำกำไรมหาศาล กับ โอกาสที่จะช่วยชีวิตมนุษย์ได้หลักล้าน เป็นคุณจะเลือกอะไร? ในขณะที่คนจำนวนมากคงจะเลือกโอกาสในการทำกำไรมหาศาล หนึ่งในเจ้าของนวัตกรรมบนท้องถนนแห่งยุคสมัย ได้เลือกคำตอบที่จะช่วยชีวิตคน
3
📌 นวัตกรรมที่ให้คู่แข่งใช้ได้ฟรีๆ
นวัตกรรมที่เรากำลังพูดถึงนี้คือ “เข็มขัดนิรภัย” แบบสามจุด ที่รถยนต์ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ตั้งแต่มันถูกประดิษฐ์ออกมา ก็สามารถช่วยชีวิตผู้คนได้มากกว่าล้านชีวิตไปแล้ว และตัวเลขการช่วยชีวิตก็ยังถูกนับต่อไปอยู่เรื่อยๆ
โดยต้นกำเนิดของมัน ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยก่อนปี 1960 ที่ในตอนนั้น เข็มขัดนิรภัยยังเป็นแบบสองจุด ที่พาดผ่านแค่บริเวณหน้าขาเท่านั้น ทำให้อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ก็ยังรุนแรงอยู่มาก จากการที่ไม่สามารถป้องกันร่างกายท่อนบนได้ดี
1
จนกระทั่งในปี 1959 วิศวกรของ Volvo ที่มีชื่อว่า Nils Bohlin ก็ได้ออกแบบ “เข็มขัดนิรภัยแบบสามจุด” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันขึ้นมา ซึ่งก็กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานความปลอดภัยบนรถยนต์
แน่นอนว่า การประดิษฐ์นวัตกรรมที่ต่อมาได้ช่วยชีวิตคนจำนวนมหาศาลแบบนี้ มีต้นทุนการทดสอบความปลอดภัยมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ
เจ้าเข็มขัดนิรภัยแบบใหม่นี้ มันผ่านการทดสอบทั้งในห้องทดลองหลายร้อยครั้ง และการทำวิจัยประสิทธิภาพบนท้องถนนจริงอีกหลักแสนครั้ง
2
ซึ่งด้วยต้นทุนมหาศาลและประสิทธิภาพที่ช่วยชีวิตคนได้อย่างมีนัยยะ ก็มาถึงจุดสำคัญที่ Volvo ต้องตัดสินว่า “พวกเขาจะหากำไรจากนวัตกรรมใหม่นี้ดีหรือเปล่า ?”
2
ซึ่งสุดท้าย การตัดสินใจของ Volvo ก็เลือกที่จะช่วยชีวิตคนมากกว่า เมื่อพวกเขาเปิดโอกาสให้บริษัทคู่แข่งและทุกคนสามารถนำสิ่งประดิษฐ์นี้ไปใช้ได้อย่างเสรี แทนที่จะใช้ประโยชน์จาก “สิทธิบัตร” ที่พวกเขาได้มาจากการประดิษฐ์เข็มขัดนิรภัยขึ้นมา
📌 สิทธิบัตร: แรงจูงใจทางด้านการเงิน เพื่อให้คนสร้างนวัตกรรมเพื่อส่วนรวม
จากเรื่องของเข็มขัดนิรภัย เราจะเห็นได้ว่า มีหลายครั้งที่นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ออกมาใหม่ ถ้าเราเปิดโอกาสให้คนทั้งสังคมสามารถใช้นวัตกรรมเหล่านี้ได้อย่างเสรี ก็จะมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอย่างมาก
อย่างไรก็ดี ในหลายประเทศก็ยังมีการคุ้มครองสิทธิของนักประดิษฐ์ผ่านการให้ “สิทธิบัตร” อยู่ หรือก็คือ การที่อนุญาตให้คนที่ประดิษฐ์สิ่งใหม่ได้นั้น มีโอกาสแต่เพียงคนเดียว ที่จะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่สร้างขึ้น แม้มันอาจจะเปลี่ยนโลกได้ดังที่เข็มขัดนิรภัยเคยทำ
ซึ่งที่ภาครัฐทำแบบนี้ จริงๆ ก็ทำจากเจตนาที่ดี เพราะพวกเขามองว่า ถ้าไม่คุ้มครองคนที่สร้างสิ่งใหม่ให้สามารถหาประโยชน์จากสิ่งที่สร้างได้เพียงผู้เดียวเลย ก็จะไม่มีใครอยากสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาเลย เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดสิ่งใหม่ๆ นั่นเอง
แต่สิทธิบัตร ก็จะมีอายุของมัน แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งหลังจากสิทธิบัตรหมดไปแล้ว ทุกๆ คน ก็จะสามารถเข้าถึงนวัตกรรมเหล่านี้ได้นั่นเอง
ดังนั้น ภาครัฐก็ต้องไตร่ตรองให้ดีว่า ควรให้ระยะเวลาคุ้มครองเท่าไร จึงจะเหมาะสม ที่จะทำให้นักประดิษฐ์ก็ยังอยากคิดสิ่งใหม่ แต่สังคมก็ไม่ต้องรอนานเกินไป ที่จะสามารถเข้าถึงสิ่งดีๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมา
📌 แต่หาจุดที่เหมาะสมมันไม่ง่ายเลย
แต่ในอีกหลายกรณี เมื่อเกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรแล้ว ก็ยากที่จะบอกว่า จุดไหนกันแน่ที่เหมาะสม ที่สามารถคุ้มครองทั้งสิทธิของคนคิดค้น และรักษาสมดุลประโยชน์ของสังคมได้อย่างดีด้วย
ประเด็นร้อนแรงในปีก่อน อย่างเรื่องสิทธิบัตรวัคซีน ที่ทางสหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ มีการเรียกร้องให้ยกเลิกสิทธิบัตรวัคซีน เพื่อให้ทุกประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ทั่วโลก แต่ก็โดนต่อต้านจากหลายประเทศ
มีหลายคำถามเกิดขึ้น ในการถกเถียงกันเรื่องวัคซีนนี้ เช่น บริษัทที่ผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้กำไรพอหรือยัง? ประโยชน์จากยกเลิกสิทธิบัตรวัคซีนสูงมากพอไหม? การยกเลิกสิทธิบัตรจะทำให้ครั้งต่อไป ไม่มีเอกชนรายไหนกล้าลงทุนเสี่ยงๆ กับนวัตกรรมหรือเปล่า? เป็นต้น
จนถึงตรงนี้ ถ้าเราตั้งคำถามเดิมกับตอนต้นบทความอีกครั้ง ระหว่างกำไรมหาศาล กับ ชีวิตคนมากมาย จะเลือกอะไร? ผมเชื่อว่า หลายท่านน่าจะพบว่า คำถามนี้นั้นยากขึ้นมากว่าเดิมพอสมควร
1
เพราะในหลายกรณี การจะตอบคำถามนี้ มันไม่ใช่แค่ว่า เราให้คุณค่ากับเงินหรือชีวิตมากกว่าเท่านั้น แต่มันยังต้องคำนึงถึง การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม ที่จะสร้างนวัตกรรมอื่นๆ ที่ดีอีกในระยะยาวต่อไป...
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนกานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
https://www.investopedia.com/terms/p/patent.asp\
https://www.forbes.com/sites/douglasbell/2019/08/13/60-years-of-seatbelts-volvos-great-gift-to-the-world/?sh=5cb9888122bc
https://www.nature.com/articles/d41586-021-01224-3
สิทธิบัตร
รถยนต์
เรื่องเล่า
8 บันทึก
14
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economics Outside The Box
8
14
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย