Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องอยากเล่า
•
ติดตาม
16 ม.ค. 2022 เวลา 11:07 • สุขภาพ
"โนโมโฟเบีย" อาการของคนติดมือถือ
ยุคปัจจุบันมือถือหรือสมาร์ทโฟนกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของคนเราไปแล้ว ถ้าวันไหนไม่ได้จับมือถือคงแย่แน่ๆ แต่รู้ไหมค่ะว่าการติดมือถือมากๆ มีผลเสียกับตัวเรา ซึ่งผลเสียของการติดมือถือมีอาการอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "โนโมโฟเบีย" รายละเอียดจะเป็นยังไงนั้นมาติดตามอ่านกันเลยค่ะ
โนโมโฟเบียใช้เรียกอาการที่เกิดจากความวิตก หรือความหวาดกลัวเมื่อต้องขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อการติดต่อสื่อสาร และอาการนี้จัดอยู่ในหมวดของโรคจิตเวชที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล
อาการโนโมโฟเบียจะพบได้ในวัยรุ่น วัยทำงานมากกว่าวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากวัยรุ่นนั้นเป็นวัยที่มีเพื่อนมาก ชอบเที่ยว ชอบทำกิจกรรม ชอบเล่นเกม จึงทำให้ต้องคอยอัปเดตข่าวสารกันอยู่บ่อยๆ เมื่อไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องทำเป็นประจำก็จะมีอาการพะว้าพะวงกับการใช้โทรศัพท์ พบได้ในกลุ่มของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาจเป็นเพราะผู้หญิงนั้นมีนิสัยที่ชอบพูดคุยและสนใจสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวมากกว่าผู้ชาย
มาดูอาการของโรคโนโมโฟเบียกันว่าจะมีอะไรบ้าง
★
พกมือถือติดตัวตลอดเวลา จะกังวลเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัว
★
เช็กโซเชียลมีเดียหรือแอปพลิเคชันต่างๆตลอดเวลาถึงแม้จะไม่มีเรื่องด่วนก็ตาม
★
จับมือถือตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นจนถึงก่อนนอน
★
เมื่อหามือถือไม่เจอจะเกิดความเครียดและความวิตกกังวลมากกว่าหาอย่างอื่นไม่เจอ
★
เล่นมือถือตลอดเวลา แม้ขณะที่ทำกิจกรรมอื่นๆอยู่ เช่น กินข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ
★
กลัวมือถือหายแม้จะเก็บไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว
★
ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือ
★
เล่นหรือคุยกับคนในโทรศัพท์มากกว่าคนรอบข้าง
อาการของโนโมโฟเบียมีความเสี่ยงที่จะเกิดอีกสารพัดโรค เช่น อาการทางสายตา
ทำให้สายตาเกิดอาการล้า ตาแห้ง พอนานเข้าก็จะทำให้จอประสาทตาและวุ้นในตาเสื่อมได้ ซึ่งความผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่เราต้องจ้องหน้าจอเล็กๆ เป็นเวลานาน
นิ้วล็อก
เกิดขึ้นเมื่อเราต้องใช้นิ้วจิ้ม กด หรือสไลด์หน้าจอติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการนิ้วชา ปวดข้อมือ ไปจนถึงเอ็นข้อมืออักเสบ หากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่านิ้วแข็ง กำแล้วเหยียดออกไม่ได้ จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที
หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ
เมื่อนั่งผิดท่า หรือนั่งเกร็งเป็นเวลานานๆ เมื่อทำเป็นประจำก็จะติดเป็นนิสัย เมื่อหนักเข้าก็จะมีอาการปวดมากๆ เมื่อไปพบแพทย์ก็จะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงวิธีเดียว
ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่
คนส่วนใหญ่เวลาที่เล่นโทรศัพท์มือถือมักจะก้มหน้าและค้อมตัวลง ทำให้คอ บ่า และไหล่เกิดอาการเกร็ง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่สะดวก หากทำเช่นนี้นานๆ เข้าก็จะทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมา
โรคอ้วน
ถึงแม้ว่าความผิดปกตินี้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับการใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ แต่หากเรามีอาการติดมือถือขนาดหนัก เราก็จะนั่งเล่นมันทั้งวันไม่ยอมลุกไปไหน หากเป็นอย่างนั้นร่างกายก็จะไม่เกิดการเผาผลาญ อาหารที่เราทานเข้าไปก็จะกลายเป็นไขมันไปสะสมส่วนต่างๆ ของร่างกาย คราวนี้ก็จะได้เป็นโรคอ้วนอย่างสมใจ
เมื่อเรารู้ตัวว่าตัวเองเข้าข่ายโนโมโฟเบียแล้วจะมีวิธีแก้ยังไง มาอ่านกันต่อเลยค่ะ
หากรู้สึกเหงาๆ แนะนำว่าให้หาเพื่อนคุยแทนการเล่นโทรศัพท์ เช่น เดินไปคุยกับคนในบ้าน เพื่อนร่วมงาน หรืออาจนัดกับเพื่อนให้ออกมาเจอกัน อย่าเลือกที่จะอยู่กับโทรศัพท์มือถือ หรือเล่นอยู่ในโลกออนไลน์มากจนเกินไป
พยายามใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น แนะนำให้หากิจกรรมอื่นทำทดแทน เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ
ลองกำหนดให้ห้องนอนของตัวเองเป็นเขตปลอดโทรศัพท์มือถือ แล้วก็ต้องทำมันให้ได้ ถ้าทำเป็นประจำเราจะได้ไม่หยิบมือถือขึ้นมาเล่นทันที่ที่ตื่นนอน หรือหลับไปพร้อมกับมือถือที่เล่นก่อนนอน
ลองตั้งกฎว่าจะไม่จับมือถือในเวลาที่กำหนด อย่าง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มเวลาห่างโทรศัพท์มือถือให้มากขึ้น
หากคิดว่าอาการติดมือถือเริ่มหนักขึ้นและไม่สามารถอยู่ห่างมันได้ ควรจะไปปรึกษาจิตแพทย์ ซึ่งคนที่มีเป็นหนักมากๆ แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาแบบ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ซึ่งได้รับความนิยมในผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวลและมีอาการกลัวในระดับต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อเฉพาะตัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีมือถือ
เราอาจจะคิดว่าแค่ติดมือถือไม่น่าจะมีอะไรร้ายแรงมั้ง แต่ใครจะไปรู้ว่าอาการที่เราคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็กๆ นี่แหละที่จะทำลายสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราได้ หากใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแบบไม่ระมัดระวัง
สำหรับใครที่คิดว่าตัวเองมีอาการใกล้เคียงกับโนโมโฟเบียลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ตั้งแต่ตอนนี้เพื่อลดความเสี่ยงของโรค
https://www.sanook.com/hitech/1489863/
ขอบคุณภาพจาก
pexels.com
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย