22 ม.ค. 2022 เวลา 10:53 • สุขภาพ
หลาย ๆ คนที่เพิ่งฉีดวัคซีนไปครบ 2 เข็ม และได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน หลังจากที่ต้องอยู่แต่บ้านเพราะกลัวเชื้อ COVID-19 มานาน กลับต้องรู้สึกระแวงอีกครั้ง เพราะเชื้อกลายพันธุ์ที่เรียกว่า “โอมิครอน” หรือที่หลาย ๆ คนอ่านว่า โอไมครอน กลับมาระบาดอีกครั้ง แถมยังติดได้ง่ายกว่าเดิม เชื้อสายพันธุ์นี้จะรุนแรงขนาดไหน ต้องป้องกันตัวเองอย่างไร ทาง Wongnai Beauty จะมาสรุปให้ฟังสั้น ๆ แบบเข้าใจง่ายกันค่ะ
สรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับโอมิครอนรวมเรื่องราวที่ต้องรู้ไว้ จะได้ระวังตัว
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโอมิครอน
Omicron อ่านว่า โอมิครอน พบครั้งแรกในบอตสวานา แอฟริกาใต้ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการกลายพันธุ์มากกว่า 50 ครั้ง และมีการกลายพันธุ์ที่หนามโปรตีน หรือ Protein spike 30 ครั้ง แพร่กระจายได้รวดเร็วเป็นสองถึงสามเท่าของเดลต้า สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดี แต่ก็ยังสามารถตรวจจับเชื้อโอมิครอนได้โดยวิธี RT-PCR หรือ การ Swab ชุดตรวจ ATK ก็สามารถตรวจจับเชื้อได้ แต่มีความคลาดเคลื่อนสูงกว่า วัคซีนสองเข็มมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนลดลง ส่วนใหญ่พบเชื้อในผู้ป่วยอายุน้อย
COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่มาของเชื้อ
เชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Dr. Angelique Coetzee ที่บอตสวานา ประเทศแอฟฟริกาใต้ โดยผู้ป่วยวัยรุ่น 2 คนที่มีอาการเป็นไข้ 1-2 วัน มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหัว และไอแห้ง หลังจากนั้นก็ได้ตรวจและพบว่ามีเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน และดร. แองเจลีก โคเอตซี ก็ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนนี้ เธอบอกว่า อาการของผู้ป่วยที่มารักษามีผลเป็นบวก แต่แปลกที่อาการไม่รุนแรงขนาดที่ต้องนอนโรงพยาบาล สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ป่วยสามารถได้กลิ่น และรับรู้รสชาติได้ปกติ นักวิทยาศาสตร์จากแอฟริกาใต้ ได้สันนิษฐานเกี่ยวกับเชื้อโอมิครอนว่าอาจจะพัฒนามาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างและความเชื่อมโยงหนึ่ง
พบว่าอาจจะมาจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะผู้ป่วย HIV ไม่สามารถกำจัดเชื้อแปลกปลอมได้ดีเท่าคนปกติ และมีผู้ป่วย HIV เป็นหญิงสาวชาวแอฟริกาใต้รายหนึ่งที่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 เป็นบวก นานถึง 8 เดือน ข้อมูลเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ข้อมูลจาก The New York Times พบว่ามีการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ โอมิครอน กว่า 95 ประเทศทั่วโลก และมีการกระจายตัวอย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์ โอมิครอน จำนวน 104 รายแล้วในปัจจุบัน
ชื่ออื่นของสายพันธุ์โอมิครอน
B.1.1.529
การแพร่เชื้อ
สามารถแพร่เชื้อผ่านทางอากาศ น้ำลาย สารคัดหลั่ง เหมือนเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อื่น ๆ
โอมิครอน อาการ
ปกติแล้ว อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา โดยมีอาการดังต่อไปนี้
น้ำมูกไหล
ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยตัวเล็กน้อย
จามหรือไอแห้ง
เจ็บคอ
จมูกยังรับกลิ่น ลิ้นรับรสได้ปกติ
เหงื่อออกมากตอนกลางคืน แม้อากาศหนาว
โอมิครอน รุนแรงแค่ไหน?
พอ ๆ กับสายพันธุ์เดลต้า สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็ว อาการไม่หนักถึงขั้นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยการให้ออกซิเจน เพราะออกซิเจนในเลือดยังเท่าเดิม แต่การกลายพันธุ์ที่หนามโปรตีนทำให้เชื้อเกาะติดกับเนื้อเยื่อปอดได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ วัคซีน mRNA 2 เข็มป้องกันได้ไม่ 100% และยังคงต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการเฝ้าระวังอยู่ ถึงอาการจะไม่รุนแรง แต่ก็เป็นตัวแปรที่ยังน่าเป็นห่วง เพราะสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว
วิธีดูแลตัวเอง ให้ห่างไกลจากโอมิครอน
ฉีดวัคซีน mRNA 3 เข็ม เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปในที่แออัด
รักษาระยะห่าง อย่างน้อย 1-2 เมตร
ไอ/จามใส่ข้อพับแขนของตัวเอง
เปิดหน้าต่างระบายอากาศในห้อง
ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์/สบู่ อย่างสม่ำเสมอ
วัคซีนที่สามารถป้องกันโอมิครอนได้ มีอะไรบ้าง
ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถกันเชื้อโอมิครอนได้ 100% แต่จากวิจัยของบริษัทต่าง ๆ พบว่า
Pfizer 2 เข็ม ป้องกันได้ 33%
Pfizer 3 เข็ม ป้องกันได้ 80%
*AstraZeneca เข็มบูส ป้องกันได้ 70%
*Moderna เข็มบูส (50 ไมโครกรัม/ครึ่งโดส) ป้องกันได้ 37%
*Moderna เข็มบูส (100 ไมโครกรัม/เต็มโดส) ป้องกันได้ 83%
*วัคซีนก่อนจะฉีด AstraZeneca และ Moderna เป็นเข็มบูสหรือเข็มที่ 3 เป็นวัคซีนชนิด mRNA วัคซีนชนิดอื่นยังไม่มีผลการวิจัย โดยองค์กรอนามัยแห่งชาติ หรือ WHO แนะนำให้ทุกคนฉีดวัคซีน mRNA กระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้ว 6 เดือน แต่สำหรับผู้ที่ได้วัคซีน Johnson & Johnson ไปแล้ว 1 เข็ม สามารถฉีด Pfizer หรือ Moderna ต่อได้เลย หลังจากครบ 2 เดือน เป็นวัคซีนสูตรไขว้ที่ได้รับรองจาก WHO ว่าปลอดภัย และช่วยลดอัตราการป่วยหนักจาก Omicron ได้
Reference :
Carl Zimmer and Andrew Jacobs. 2021. "Omicron: What We Know About the New Coronavirus Variant" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.nytimes.com/article/omicron-coronavirus-variant.html สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564
Jonathan Corum and Carl Zimmer. 2021. "Tracking Omicron and Other Coronavirus Variants" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.nytimes.com/interactive/2021/health/coronavirus-variant-tracker.html สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564
The Telegraph.Peta Thornycroft and Will Brown. 2021. "South African doctor who raised alarm about omicron variant says symptoms are ‘unusual but mild’" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.telegraph.co.uk/global-health/science-and-disease/south-african-doctor-raised-alarm-omicron-variant-says-symptoms/ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564
BBC News. Andrew Harding. 21 Dec 2021. "Omicron: South African scientists probe link between variants and untreated HIV" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.bbc.com/news/world-africa-59697807 สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564
Euro News. Tom Bateman. 2021. "Omicron COVID variant could resist protection from two doses of Pfizer and Sinovac vaccines" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.euronews.com/next/2021/12/15/omicron-covid-variant-could-resist-protection-from-two-doses-of-pfizer-and-sinovac-vaccine สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564
Clifford Colby and Peter Butler. 2021. "Moderna booster update today: How effective is it against omicron? Here's the latest" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.cnet.com/health/moderna-booster-update-today-how-effective-is-it-against-omicron-heres-the-latest/ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564  อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/articles/omicron-variant?is_retargeting=true&c=TRAFFIC--Beauty--WN_Organic--FBBeauty&af_ad=TRAFFIC--Beauty--WN_Organic--FBBeauty--Single----omicronvariant&pid=WN_Organic&af_click_lookback=1d&af_channel=FBBeauty&af_adset=TRAFFIC--Beauty--WN_Organic--FBBeauty--&af_force_deeplink=true&ref=ct
โฆษณา