31 มี.ค. 2022 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
ภาครัฐอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดแนวทางการจัดเก็บภาษีความเค็มเพื่อลดการบริโภคโซเดียมของคนไทย
ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศแนวทางปฏิบัติในปี 65 เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับปรุงการผลิตก่อนจะมีการบังคับใช้
รัฐเตรียมเก็บ ภาษีความเค็ม
ทั้งนี้ การบริโภคโซเดียมเฉลี่ยของไทย อยู่ที่ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน สูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำเกือบ 2 เท่า
ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิด คิดเป็นค่ารักษาพยาบาลรวมไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดของประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า กลุ่มสินค้าที่อาจเข้าข่ายมีปริมาณโซเดียมสูง (วัดจากปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งบรรจุภัณฑ์จากการสำรวจสุ่มตัวอย่างสินค้าในตลาด)
น่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 88,000 ล้านบาทในปี 65 หรือคิดเป็น 18% ของมูลค่าตลาดอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปทั้งหมด
โดยแม้ยังต้องติดตามเกณฑ์ที่ภาครัฐจะใช้กำหนดอัตราภาษี แต่ในกรณีที่มีการจัดเก็บภาษีความเค็มในระยะข้างหน้า คาดว่ากลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบเรียงตามลำดับ น่าจะได้แก่
  • 1.
    บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • 2.
    อาหารแช่เย็น/แช่แข็ง
  • 3.
    โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
  • 4.
    อาหารปรุงสำเร็จ
  • 5.
    ปลากระป๋อง
  • 6.
    และขนมขบเคี้ยว
  • ท่ามกลางสถานการณ์ต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งต้นทุนด้านพลังงาน ราคาน้ำมันปาล์ม และข้อจำกัดด้านการขนส่ง ซึ่งสวนทางกับกำลังซื้อที่ต้องใช้เวลาฟื้นตัวและค่าครองชีพที่เร่งตัวขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ
  • อย่างไรก็ตาม นอกจากประเด็นภาษีความเค็มแล้ว การเร่งขึ้นของต้นทุนท่ามกลางภาวะค่าครองชีพสูง ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพควบคู่กับการให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
นับเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการผลิตอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปจำเป็นต้องเร่งปรับตัว ดังนั้น
  • การบังคับใช้ภาษีดังกล่าวอาจต้องพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมและมีระยะเวลาให้ผู้ผลิตสามารถปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการปรับสูตรอาหารหรือการใช้เกลือโซเดียมต่ำทดแทน
  • ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการรวมไปถึงให้ความรู้ถึงความเสี่ยงของโรคจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไป
#KResearch #KBankLive
ขอบคุณภาพจาก Shutterstock.com
โฆษณา