18 ม.ค. 2022 เวลา 02:30 • การตลาด
‘Brand Identity’
ปั้นตัวตนของแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำ
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand identity) คือความเป็นตัวต้นของแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นบุคลิก ภาพลักษณ์ หรือความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านชื่อแบรนด์ โลโก้ สี สโกแกน นามบัตร โฆษณา ผู้บริหารหรือ Spokeperson เป็นต้น และจะสัมพันธ์ไปกับกลยุทธ์ภาพใหญ่ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นทิศทางการดำเนินงาน การวางตำแหน่งของแบรนด์ Brand Identity ที่ดีนอกจากจะสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ยังเป็นการมอบประสบการณ์ให้ลูกค้าระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค
Brand Identity ทั้ง 4 แบบ
1. Graphic Identity เช่น โลโก้ รูปภาพ ตัวหนังสือ สี ลวดลาย
2. Sensorial Identity เป็นความรู้สึกที่รับรู้ได้ เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และยังรวมถึงรูปร่างลักษณะ พื้นผิวสัมผัส
3. Behavioral Identity การเชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคบน Customer journey ตัวอย่าง เช่น การออกแบบแอปพลิเคชันในการซื้อสินค้าให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายในยุคดิจิทัล
4. Functional Identity อัตลักษณ์ที่เน้นคุณสมบัติของแบรนด์หรือสินค้า เช่น รองเท้าเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
จากแนวคิดของ Kapferer ได้พัฒนาเครื่องมือช่วยสร้าง Brand Identity ด้วย Brand Identity Prism ซึ่งประกอบด้วยองค์กรทั้ง 6 รูปแบบ ดังนี้ Physique, Personality, Relationship, Culture, Reflect และ Self-image สำหรับองค์กรในการเตรียมวางแผนหรือปรับปรุง Brand Identity ให้ผู้บริโภคสามารถจดจำได้อย่างรวดเร็ว
1. Physique คือลักษณะที่ผู้บริโภคมองเห็น รวมถึงภาพที่ผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์ เช่น โลโก้ สี ฟ้อนต์ ภาพประกอบ รวมถึงพรีเซนเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานแรกในการแสดงภาพรวมของแบรนด์ให้กับผู้บริโภคว่าเราคือใคร ทำอะไร ขายอะไร และผู้ให้บริการอยากให้ผู้บริโภครับรู้แบบใด
2. Personality คือลักษณะนิสัย บุคลิกของแบรนด์เป็นอย่างไรในการสื่อสารสู่สาธารณะ ซึ่งอาจมีได้ทั้ง Excitement ที่แสดงถึงความตื่นเต้นมีชีวิตชีวา, Competence ลักษณะของความเป็นผู้นำ ความโดดเด่น นำสมัย, Reggedness หมายถึงความทนทาน การผจญภัย เผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ ๆ, Sinerity ตัวแทนของความอ่อนโยน จริงใจ และ Sophistication ความลึกลับซับซ้อนที่น่าค้นหา ความหรูหราที่มีระดับ เป็นต้น
3. Culture คือวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงตัวแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นทั้งวัฒนธรรมจากภายในองค์กร หรือต้นกำเนิดของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ที่สามารถนำเสนอออกมาเป็นวัฒนธรรมของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นความล้ำค้าอันแบบทรงคุณค่าชนิดที่มีประวัติมายาวนาน หรือวัฒนธรรมทางเทคโนโลยีที่นำเสนอความล้ำหน้า ความว่องไว รวดเร็ว เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเหมือนอีกวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนแบรนด์และพนักงาน รวมไปถึงองค์กร
4. Relationship คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ซึ่งอาจเห็นได้ในหลายรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริการหลังการขาย ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ว่าแบรนด์ดูแลดีและเอาใจเหมือนเป็นเพื่อน เป็นต้น และความสัมพันธ์เหล่านี้จะก็ยิ่งช่วยสร้างให้ลูกค้าติดกับเราและพัฒนาขึ้นเป็นลูกค้าประจำได้ง่าย ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากพัฒนาความสัมพันธ์ไปในทิศทางใด
5. ​Reflection คือมุมมองของภายนอกที่สะท้อนกลับมาถึงแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานต่าง ๆ ที่ว่าผู้บริโภคมองเห็นแบรนด์เป็นอย่างไร เช่น ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เป็นสินค้าสำหรับนักวิ่ง ภาพลักษณ์ความสบายเป็นเครื่องบินสำหรับกลุ่มนักธุรกิจ เป็นต้น เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องคำนึงและเชื่อมโยงเพื่อให้เจาะเข้าไปถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้
6. Self-image คือภาพลักษณ์ที่แบรนด์เห็นเราเป็นอะไร คล้าย ๆ กับการสร้างแรงบันดาลใจของแบรนด์ที่จะส่งต่อไปถึงผู้บริโภค ว่าผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราจะมีลักษณะหรือความเชื่อมโยงออกมาในรูปแบบใดได้ เช่น ดูเป็นคนสุขุมนุ่มลึก แสดงออกถึงความสนุกสนาน เป็นต้น ที่จะเป็นเหมือนตัวแทนในการนำเสนอผู้ใช้งาน
#BrandIdentity #Branding #Marketing #Bluebik #BluebikGroup #BBIK
🌟อย่าลืมกด See first จะได้ไม่พลาดข่าวสารจาก Bluebik
🔹ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bluebik ได้ที่
โฆษณา