17 ม.ค. 2022 เวลา 08:29 • ข่าว
Grab จากสตาร์ทอัพเล็กๆ ในมาเลเซีย เริ่มต้นด้วยบริการแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ จากเงินทุนก้อนแรก 8แสนบาท ก้าวสู่การเป็นยูนิคอร์นบริษัทแรกของอาเซียนในเวลาเพียงไม่กี่ปี และขยายธุรกิจไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เติบโตเป็นซูเปอร์แอปพลิเคชันระดับโลก ครอบคลุมบริการสั่งอาหาร การเดินทาง การขนส่งพัสดุแบบรวดเร็ว บริการสั่งซื้อและส่งสินค้า กระเป๋าเงินออนไลน์ และเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ล่าสุดขยายธุรกิจสู่บริการด้านการเงิน หรือ Fintech
.
จุดแข็งที่ทำให้ Grab เติบโตได้ในทุกประเทศทั่วอาเซียน คือ Hyperlocal หรือการมีความเข้าใจบริบทที่แตกต่างของแต่ละท้องถิ่น และปรับรูปแบบการทำธุรกิจการให้บริการที่สอดคล้องเหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งต้องผ่านการเรียนรู้และปรับตัวอย่างมาก รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง
.
ขณะที่แนวโน้มของการเกิดสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นในอาเซียนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนจะมีมูลค่ากว่า 30 ล้านล้านบาทในปี 2030 ท่ามกลางความท้าทายหลายประการ ทั้งการแข่งขันในภูมิภาค ความต้องการแรงงานที่เชี่ยวชาญจำนวนมาก นโยบายภาครัฐ และอื่นๆ สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นใหม่ๆ ของอาเซียนและของไทยจะเกิดขึ้นและก้าวไปไกลได้มากน้อยเพียงใด
#สตาร์ทอัพ
#innovation
#นวัตกรรม
#ยูนิคอร์น
#สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
#grab
โฆษณา