17 ม.ค. 2022 เวลา 09:43 • ความงาม
📍แนะนำเทคนิคดูแลแผลเป็นนูนคีลอยด์ Ep. 3 คีลอยด์ใบหู? Ear Keloid ดูแลได้อย่างไร❓
👨‍⚕️แนวทางในการรักษาโรคคีลอยด์ใบหูนั้น จะพิจารณาตามขนาดของคีลอยด์เป็นสำคัญ โดยแบ่งวิธีการรักษาได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ
🔬คีลอยด์ที่ใบหูมีขนาดเล็กกว่า 1 ซม.
•จะใช้การรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อทำให้คีลอยด์ยุบตัวลง ซึ่งแพทย์จะทำการนัดมาฉีดยารักษาทุกเดือนจนกว่าแผลจะยุบ โดยวิธีการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อรักษาคีลอยด์ใบหูนั้น
•จะใช้วิธีการฉีดแบบ Intralesional ซึ่งก็คือ การฉีดยาเข้าไปที่ตัวก้อนคีลอยด์เลยโดยตรง ไม่ได้ฉีดผ่านเข้าเส้นเลือดนั่นเอง
🧬คีลอยด์ที่ใบหูมีขนาดใหญ่กว่า 1 ซม.
***จะรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาฉีดสเตียรอยด์ ***
•โดยส่วนใหญ่แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้การผ่าตัดรักษาเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้สูง***
•เนื่องจากการผ่าตัดก็คือหนึ่งในการสร้างบาดแผลใหม่ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดคีลอยด์ได้
•ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฉีดยาสเตียรอยด์ร่วมด้วยเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแผล โดยส่วนมากจะฉีดหลังจากผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว
•การดูแลรักษาจะแตกต่างกันในแต่ละคนแนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดนะครับ
💉สำหรับการผ่าตัด จะเป็นการผ่าแบบยกผิวหนังใบหูขึ้นเพื่อคงรูปใบหูไว้ แล้วตัดเอาเฉพาะก้อนคีลอยด์ออกไป ก่อนจะเย็บปิดแผลให้สนิท แล้วจึงค่อยฉีดสเตียรอยด์ในวันที่ตัดไหม หรือในบางรายที่มีความเสี่ยงเป็นคีลอยด์ซ้ำมากกว่าคนทั่วไป แพทย์จะใช้การผ่าตัดร่วมกับการฉายแสง เพราะการฉายแสงจะมีลักษณะคล้ายกับการใช้ยาเคมีบำบัด คือมีส่วนในการช่วยยับยั้งการสร้างตัวของเซลล์ ทำให้มีโอกาสเกิดคีลอยด์ซ้ำได้น้อยกว่า รวมถึงอาจมีการใช้ยา “ไมโตไมซิน mitomycin” ร่วมด้วยก็ได้ เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำอีก แต่ก็จะพิจารณาให้ใช้เป็นรายๆ ไป
🔬ป้องกันตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลจากคีลอยด์ใบหู?
แนวทางในการป้องกันการเกิดคีลอยด์ใบหูหลักๆ ก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแผลบริเวณใบหู โดยเฉพาะในคนที่มีความเสี่ยงเป็นคีลอยด์มากกว่าคนทั่วไปนั้น หากทำได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการเจาะหูไปเลย สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า…เราจะสามารถทราบว่าตัวเองมีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้หรือไม่นั้น ให้สังเกตง่ายๆ จาก “รอยการฉีดวัคซีนที่บริเวณหัวไหล่” หากพบว่ามีแผลนูน ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์ได้ง่าย หรืออาจสังเกตจาก “รอยแผลบริเวณหน้าอก หรือสิวบริเวณหน้าอก” ที่หากพบว่ามีการเปลี่ยนเป็นแผลนูนมากขึ้น ก็แสดงว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์ได้ง่าย ซึ่งหากพบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นคีลอยด์ ก็จะต้องระมัดระวังการผ่าตัด การเจาะหู ตลอดจนดูแลบาดแผลตัวเองให้ดี ทำความสะอาดอย่างดี และไม่ควรแกะเกาจนแผลลุกลามติดเชื้อ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดคีลอยด์ได้
แม้คีลอยด์ใบหูจะเป็นโรคที่ไม่ได้มีความอันตรายรุนแรงถึงชีวิต แต่ก็นับว่าเป็นโรคที่ทำร้ายและทำลายความมั่นใจในการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งหากปล่อยทิ้งไว้ ก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดการติดเชื้อจากการเกาจนเป็นอันตรายได้ ดังนั้น หากพบอาการผิดปกติว่าบาดแผลจากใบหู หรือบาดแผลตามร่างกายมีลักษณะของการเป็นแผลเป็นที่นูนขยายใหญ่กว่าแผลเริ่มต้น ก็อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเติมเต็มความมั่นใจ และความปลอดภัยให้กับตัวเราเองให้ได้มากที่สุดครับ
#หมอรุจชวนคุย 👨‍⚕️😉🔬
#รักษาคีลอยด์ #รักษาแผลเป็น #คีลอยด์ที่หู #คีลอยด์ #แผลเป็น #ผ่าตัดหลุมสิว
โฆษณา