18 ม.ค. 2022 เวลา 05:55 • ข่าวรอบโลก
ปัญหาที่เจอบ่อยที่สุด 9 ข้อมีดังนี้
1. ไม่เห็นคุณค่าในงานที่ลูกน้องทำออกมา (Not recognizing employee achievements)
2. ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน (Not giving clear directions)
3. ไม่มีเวลาให้ลูกน้อง (Not having time to meet with employees)
4. ปฏิเสธที่จะคุยกับลูกน้อง (Refusing to talk to subordinates)
5. เอาหน้าในเรื่องที่ตัวเองไม่ได้ทำ/คิด (Taking credits for others’ ideas)
6. ไม่ให้ฟีดแบ็คในทางสร้างสรรค์ (Not offering constructive feedback)
7. จำชื่อพนักงานไม่ได้ (Not knowing employees’ names)
8. ไม่ยอมคุยทั้งทางโทรศัพท์หรือแบบเห็นหน้า (เดาว่าอาจให้ลูกน้องรับหน้าแทน) (Refusing to talk to people on the phone / in person)
9. ไม่ถามไถ่ลูกน้องเรื่องชีวิตนอกออฟฟิศ (Not asking about employees’ lives outside work)
ข้อแนะนำอีก 7 ข้อ เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้
1.แสดงให้ลูกน้องเห็นว่าเราเห็นคุณค่าในตัวเขา โดยต้องยกตัวอย่างที่จับต้องได้ด้วย เพื่อให้ลูกน้องเห็นว่าเราใส่ใจมากพอที่จะสังเกตเห็นสิ่งดีๆ ที่เขาทำให้บริษัท
2. กล่าวขอบคุณ ทั้งเป็นการส่วนตัวและต่อหน้าคนอื่น โดยอย่างแรกอาจจะทำโดยวาจา อีเมล์หรือแม้กระทั่ง Post-it ส่วนอย่างหลังนั้นอาจจะทำในที่ประชุมหรือในจดหมายข่าวก็ได้
3. ถามความเห็นลูกน้อง ถ้าหัวหน้ารู้ดีไปหมดทุกเรื่องลูกน้องก็คงไม่อยากนำเสนอไอเดียอะไร หัวหน้าควรจะหมั่นถามคำถามลูกน้องอยู่เสมอ เช่น “น้องคิดว่าเราจะปรับปรุงเรื่องนี้ได้ยังไง?” หรือ “น้องคิดว่าต้นเหตุของปัญหาน่าจะอยู่ตรงไหน” หรือ “งานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ชอบส่วนไหนเป็นพิเศษรึเปล่า” หัวหน้าที่ดีควรจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสดงออกทางความคิด
4. อธิบายที่มาที่ไปของการเปลี่ยนแปลง องค์กรย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเราเองอาจจะไม่ได้รู้ทุกอย่างหรือเรื่องบางเรื่องก็ยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด แต่การไม่บอกอะไรลูกน้องเลยรังแต่จะทำให้ลูกน้องกังวลและเก็บเอาไปมโนกันเอง จึงเป็นการดีกว่าที่เราจะให้ข้อมูลเท่าที่เราให้ได้ เพราะคำอธิบายที่อยู่บนข้อเท็จจริงนั้นยังไงก็ดีกว่าการไม่อธิบายอะไรเลย
5. ให้ฟีดแบ็คกับลูกน้องอย่างทันท่วงที เพราะพวก Millenials (คนที่เริ่มทำงานหลังปี 2000) นั้นต้องการฟีดแบ็คและการโค้ชชิ่งมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ
6. เล่าความผิดพลาดของตัวเองให้ฟัง เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าหัวหน้าเองก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน และลูกน้องย่อมจะเคารพหัวหน้าที่พร้อมจะเปิดเผยและยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเคยทำพลาด เพื่อที่ลูกน้องจะได้ไม่พลาดซ้ำเดิมอีก
7. จำชื่อพนักงานให้ได้ ถ้าองค์กรใหญ่เกินไปก็เริ่มจากการจำชื่อคนในทีมก่อน การจะมาบอกว่าตัวเองเป็นคนจำชื่อไม่เก่งนั้นเป็นข้ออ้างที่ใช้ไม่ได้ เพราะคนที่จำชื่อคนอื่นได้แม่นนั้นเพราะเขาใช้ความพยายามและความใส่ใจต่างหาก
โฆษณา