18 ม.ค. 2022 เวลา 11:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เป็นที่ถกเถียงกันมานานว่า ถ้าใช้สารไซคีเดลิก อย่างเหมาะสมกับปริมาณ และการใช้ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญจะส่งผลต่อการเกิดโรคจิตเภทหรือเป็นบ้าหรือไม่ และนี้อาจจะเป็นงานวิจัยหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนในการตอบกับคำถามเหล่านี้
งานวิจัยใหม่พบว่า การใช้สารไซคีเดลิกอาจจะส่งผลต่ออาการทางจิตเวชเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ร้ายแรงในด้านสุขภาพจิตต่อผู้ใช้ที่มีสุขภาพที่ดี (ทั้งร่างกายและจิตใจ)
ภาษาบ้านๆคือ เขาวิจัยว่าใช้สารไซคีเดลิกแล้วไม่ได้ทำให้เป็นบ้า หรือเป็นโรคจิตเภท ซึ่งมันต่างจากสารอื่นๆ แต่เขาไม่ได้สนับสนุนให้ใช้นะ เพราะบางอย่างก็ต้องศึกษาต่อไปยาวๆ ว่าเกี่ยวข้องกับอาการอื่นๆตามมาอีกหรือไม่
ผู้ที่ใช้สารไซคีเดลิกมักจะรายงานหรือบอกเหล่าถึงอาการทางจิตเวช แต่ส่วนใหญ่จะอธิบายได้จากภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ และการใช้ยาออกฤทธิ์ทางจิตอื่นๆ การค้นพบนี้มาจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports ซึ่งพบว่ามีการบูรณาการในการค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับคำตอบนี้ได้ดีขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเรียนรู้ความกลัวด้วยการสัมผัสกับไซคีเดลิก
สารไซคีเดลิก (Psychedelics) เป็นรูปแบบของสารประเภทหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างภาพหลอนขึ้น (hallucinogenic) และสามารถเปลี่ยนแปลงการรับรู้ อารมณ์ รวมไปจนถึงการรับรู้ได้ สารไซคีเดลิกที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ LSD (lysergic acid diethylamide) และ Psilocybin (“ในเห็ดวิเศษ หรือ magic mushrooms”) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นถึงผลการรักษาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารเหล่านี้ แต่มีการศึกษาเพียงไม่กี่ชิ้นที่ตรวจสอบผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตวิทยาที่อาจเป็นอันตรายได้
แม้ว่าจะมีการแนะนำว่าสารไซคีเดลิกนั้นสามารถกระตุ้น "การพัฒนาปฏิกิริยาทางจิตที่ยืดเยื้อ (development of prolonged psychotic reactions)" แต่การศึกษาขนาดใหญ่กลับไม่พบหลักฐานดังกล่าว ทีมวิจัยที่นำโดย Alexander V. Lebedev ต้องการสำรวจคำถามนี้ซ้ำในกลุ่มประชากรวัยหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดี พวกเขาเสนอว่ามีหนทางที่จะทำให้ง่ายกว่านั้น ในการระบุการแสดงออกทางจิตวิทยาย่อยของลักษณะทางจิต เช่น อคติทางความคิด (cognitive bias) ที่พบได้ทั้งใน กลุ่มโรคจิตเภท (Schizophrenia spectrum) และ กลุ่มที่ไม่เกี่ยวกับจิตเวช (non-psychiatric group)
นักวิจัยได้เผยแพร่การสำรวจไปยังวัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยทำงานชาวสวีเดน 1,032 คน โดย 701 คนมีอายุระหว่าง 18 ถึง 35 ปี ที่ไม่มีอาการทางจิตเวช และไม่มีประวัติการบาดเจ็บหรือการกระทบกระเทือนทางสมอง ด้วยแบบสอบถามที่ชี้วัดแนวโน้มการเกิดอาการทางจิตเวช รวมถึงลักษณะบุคลิกภาพที่มีลักษณะเหมือนโรคจิตเภท เช่น ความคิดที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน และความคิดหวาดระแวง
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ใช้สารไซคีเดลิกกับผู้ที่ไม่ใช่สารดังกล่าว ผู้ที่ใช้มีคะแนนการเกิดความผิดปกติทางจิตเวชหรือคะแนนของแนวโน้มการเกิดโรคจิตเภท (schizotypy) โดยเฉลี่ยในกลุ่มผู้ใช้นั้นสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปริมาณผลกระทบที่เกิดขึ้นมีจำนวนเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้เมื่อดูเฉพาะตัวอย่างย่อยของผู้เข้าร่วมที่มีสุขภาพดี ผลกระทบก็มีนัยสำคัญเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
สุดท้ายแล้วเมื่อคำนึงถึงการใช้สารที่เกิดขึ้นร่วมกัน ผลของการใช้สารไซคีเดลิกต่อการเกิดโรคจิตเภทนั้นไม่มีนัยสำคัญอีกต่อไปในกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง
การสำรวจติดตามผลในกลุ่มตัวอย่างย่อยของผู้เข้าร่วม 197 คน ได้ตรวจสอบรูปแบบการใช้สารไซคีเดลิก และไม่พบหลักฐานของการเกิดโรคจิตเภทที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ที่ได้รับสารไซคีเดลิกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับการใช้ในกลุ่มสารกระตุ้น (stimulants) อื่นๆ เช่น โคเคน (ocaine) หรือแอมเฟตามีน (amphetamines) นั้นมีแนวโน้มของการเกิดโรคจิตเภทที่สูงขึ้นอย่างมาก และนำไปสู่โรคจิตเภทแน่นอน
ในการสำรวจผลกระทบเชิงสาเหตุ นักวิจัยยังได้ทำการศึกษาพฤติกรรมในกลุ่มย่อยของผู้เข้าร่วม 39 คน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ใช้สารไซคีเดลิกจำนวน 22 คน และผู้ที่ไม่ได้ใช้จำนวน 17 คน (โดยไม่อาศัยอายุ หรือเพศ) ผู้เข้าร่วมทำงานเพื่อวัดความลำเอียงในการต่อต้านหลักฐานยืนยัน (Bias Against Disconfirmatory Evidence หรือ BADE) ซึ่งเป็นอคติทางความคิด (cognitive bias) ที่พบได้ทั้งใน กลุ่มโรคจิตเภท (Schizophrenia spectrum)
งานศึกษาครั้งนี้ขอให้อาสาสมัครให้คะแนนความเป็นไปได้ของการตีความสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และประเมินด้าน BADE ของความบกพร่องของหลักฐานโดยรวม (Evidence Integration Impairment หรือ EII) หรือ "การขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนความเชื่อเมื่อต้องเผชิญกับข้อมูลใหม่"
น่าแปลกที่การได้รับสารไซคีเดลิก (Psychedelic) ทำนายคะแนนความบกพร่องของหลักฐานโดยรวม หรือ EII ที่ต่ำกว่า ในขณะที่การใช้สารกระตุ้น (stimulants) ทำนายคะแนนความบกพร่องของหลักฐานโดยรวม หรือ EII ที่มากขึ้น จากผลลัพธ์ที่ได้เหล่านี้ ผู้ศึกษาวิจัย กล่าวว่า "สนับสนุนเหตุผลของการบำบัดด้วยการใช้สารไซคีเดลิกสำหรับเงื่อนไขทางจิตเวชที่ไม่เกี่ยวกับการเกิดโรคจิตเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของรูปแบบการรับรู้ที่ตายตัวมากเกินไป เช่น ภาวะซึมเศร้า"
ผู้เข้าร่วมที่ได้รับการประเมินเสร็จสิ้นในการเรียนรู้แบบพลิกกลับซึ่งวัดการตอบสนองต่อความกลัวของพวกเขาต่อสิ่งเร้าที่มีขึ้นภายใต้เงื่อนไข ซึ่งบางครั้งก็ถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยตามกฎที่เปลี่ยนแปลง หลังจากควบคุมการใช้สารไซคีเดลิกร่วมกันแล้ว ผู้ที่มีอาการจากการใช้ดังกล่าวโดยรวมมากกว่า จะมีความไวต่อความรู้สึด ที่ได้รับคำแนะนำมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงความยืดหยุ่นในการเรียนรู้เกี่ยวกับความกลัวที่มากขึ้น ทางด้าน Lebedev และเพื่อนร่วมงานของเขากล่าวว่าสิ่งนี้อาจบอกได้ว่าสารไซคีเดลิกนั้น (psychedelics) สามารถ "เพิ่มการเรียนรู้จากความกลัวตั้งแต่จากบนลงล่างได้ในระยะยาว (หมายถึงการเรียนรู้จากความกลัวในทุกๆมิติ ทุกๆด้าน) ซึ่งอาจอธิบายประสิทธิภาพเฉพาะของพวกเขาในการรักษาความวิตกกังวล (anxiety) และ ความผิดปกติทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ (trauma-related psychiatric disorders) ต่างๆได้ด้วยเช่นกัน"
โดยรวมแล้ว ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่กันเพียงเล็กน้อยระหว่างอาการคล้ายโรคจิต และอาการจาการใช้สารเพียงเท่านั้น "การวิเคราะห์ของเราไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่าสารไซคีเดลิกนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อการพัฒนาการทางด้านอาการทางจิตเวชในกลุ่มวัยหนุ่มสาวจนถึงวัยทำงานที่มีสุขภาพดี" ผู้ทำการศึกษาและวิจัย กล่าว แม้ว่าพวกเขาจะระบุว่า "ยังขาดความสัมพันธ์บางอย่างที่จะชี้ชัดระหว่างการใช้สารไซคีเดลิก และอาการทางจิตอื่นๆ ซึ่งยังไม่ได้ระบุว่าสารดังกล่าวเป็นอันตรายต่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคจิตเภท ซึ่งเป็นคำถามสำคัญที่ต้องได้รับการตรวจสอบในการศึกษาในอนาคต"
นี้จึงเป็นหนึ่งในหลักฐานที่สำคัญที่จะช่วยตอบได้ว่า ใช้แล้วจะมีผลใดต่อการเกิดปัญหาด้านจิตเวชหรือไม่ เพราะเป็นคำถามทางด้านการทดลองทางคลินิกที่มีอยู่มาอย่างยาวนาน และเป็นคำถามสำคัญที่รอการหาคำตอบ เพื่อผลักดันไปสู่การใช้อย่างถูกกฎหมาย และการใช้อย่างเสรีที่จะมีขึ้นตามมาในอนาคต แต่ควรต้องใช้อย่างระมัดระวัง และสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตอยู่แล้วมาใช้สารไซคีเดลิก หรืออาการทางจิตอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคจิตเภท อาจจะต้องดูว่าการศึกษาวิจัยที่อยู่ระหว่างการศึกษาจะมีผลลัพธ์จากงานวิจัยไปในทิศทางไหน และจะเป็นอย่างไร ต้องมาคิดตามกันอีกที ถ้าแอดมีงานวิจัยใหม่ๆใดที่ต่างประเทศเขาศึกษามา จะเอามาให้ทุกท่านได้ทราบอย่างแน่นอน
อ้างอิง
Alexander V. Lebedev and Other (Scientific Reports), Psychedelic drug use and schizotypy in young adults, Published: 23 July 2021
โฆษณา