18 ม.ค. 2022 เวลา 11:16 • สุขภาพ
เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ
“ผู้สูงอายุ” ตอนที่ 1
นิยามของผู้สูงอายุมีแตกต่างหลากหลายตามสังคม วัฒนธรรม สภาพร่างกาย ของไทยยึดตามนิยามองค์การสหประชาชาติที่ อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป
แม้จะอายุเกิน 60 ปี แต่ถ้าเทียบรุ่นในกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน ก็ถือว่ายังเป็นกลุ่มจูเนียร์ เพราะกลุ่มผู้สูงอายุ ในช่วง 60-69 ปี นั้น ถือว่าพึ่งจะเริ่มแก่ เป็นช่วงที่ยังแข็งแรง มีพลัง(Active aging)สามารถช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นสามารถแบ่งปันภูมิปัญญา ประสบการณ์แก่สังคมได้
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะได้เป็น Active agingกันหมด จริงๆแล้วอายุเยอะ ไม่ได้หมายความถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย เห็นได้ว่าแม้อายุเฉลี่ยของชาย กับหญิงไทยจะอยู่ที่ 71และ 77ปี แต่ถ้านับช่วงอายุที่ยังactive ไม่ต้องทุกทรมานจากโรคภัยนั้น จะลดลงเหลือ 68และ72 ปี ตามลำดับ โดยโรคหลอดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดทุพลภาพในประเทศไทย
ทุพลภาพ แล้วย่อมต้องพึ่งพา จากข้อมูลปัจจุบัน พบว่า ในช่วง20ปีมานี้ มีผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านเพียงลำพังเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และจำนวนคนวัยทำงาน 4 คนจะต้องเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 1 คน ผู้สูงอายุในไทยจำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากผู้อื่นถึง 55% ประเทศไทยจึงถูกจัดว่าประเทศ จนก่อนแก่ โดยสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน
ถึงอย่างนั้น นักการตลาดก็พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มากขึ้นนี้ จะก่อให้เกิดกำลังซื้อสูงขึ้น จนเป็น 1 ใน4 ของประชากรทั้งประเทศ เรียกกลุ่มนี้ว่า Silver age ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตขึ้นอย่างมากมายขณะนี้และในอนาคต
ในอนาคต มีงานวิจัยที่น่าสนใจว่า หากเราสามารถขจัดปัจจัยที่รบกวนการมีอายุยืนออกไปได้ทั้งหมด มนุษย์เราจะสามารถมีอายุได้ถึง 142 ปี!! (ยกตัวอย่างชาวโอกินาวา เป็นต้น)
อายุยืนเท่าไหร่อาจจะไม่สำคัญ แต่คำถามที่น่าคิดมากกว่า คือเราจะมีคุณภาพชีวิตแบบไหนในวัยสูงอายุ เราวางแผนในเรื่องต่างๆทั้งสุขภาพ การเงิน การใช้ชีวิตกับคนในครอบครัวไว้บ้างหรือยัง คำถามนี้มักคิดกันว่าไกลตัว แต่แท้จริงแล้ว เราอาจเลือกและพยายามที่มองข้ามมันไปก่อนหรือไม่ เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่อยากคิดกันอ่านครับ
ตอนหน้า ผมจะขอชวนทุกท่าน ไปพบกับสถิติที่น่าสนใจในแง่มุมต่างๆของผู้สูงอายุกันต่อ อย่าลืมติดตามกันนะครับ ^_^
โฆษณา