19 ม.ค. 2022 เวลา 03:44 • ปรัชญา
พระพุทธเจ้าท่านสอนดังนี้ครับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
- ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ.. ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
- ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ..
กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี
ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
กรรมเก่า
อันได้แก่ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นกรรมเก่า
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น
เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้
กรรมใหม่
อันได้แก่ ผัสสะ
เป็นเหตุเกิดของกรรมใหม่
การประจวบพร้อมด้วยองค์ ๓ นี้เรียกว่า ผัสสะ
เช่น ตา ไป เห็น รูป หากจักขุวิญญาณ(เข้าไปตั้งอาศัย)
เข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป
อันเป็นวิสัยที่จะรู้ได้ด้วยตาแล้ว
ผัสสะทางตาย่อมถึงการเกิดขึ้น
(มีกรณีที่ ตา มอง รูป แต่ วิญญาณ( จิต หรือ มโน)
ไม่ได้เข้าไปอยู่ในคลองแห่งจักขุ
ผัสสะย่อมไม่เกิด
การหมายรู้ทางตาไม่มี(ขาดจักขุวิญญาณ)
จึงไม่ถึงการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๓ ) เพราะมีผัสสะ
จึงเกิดเวทนา
เพราะมีเวทนา จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (กรรม)
เพราะมีภพ ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมี
ดังนั้น
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๑๑/๒๘๘ ข้อที่ ๓๑-๓๗
โฆษณา