19 ม.ค. 2022 เวลา 08:00 • ประวัติศาสตร์
พระนางมาเรีย เทเรเซีย สตรีผู้เรืองอำนาจที่สุดของยุโรปในศตวรรษที่ 17
พระนางมาเรีย เทเรเซีย สตรีผู้เรืองอำนาจที่สุดของยุโรปในศตวรรษที่ 17
ฝรั่งเศสนั้นขัดแย้งกับราชวงศ์ฮัพส์บวร์คของออสเตรียมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี เรียกได้ว่าแทบจะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก มหาอำนาจทั้งสองคือฝรั่งเศสและออสเตรียห้ำหั่นมานานมาก แต่ในเวลาต่อมาสถานการณ์กลับพลิกผัน เกิดมหาอำนาจใหม่คือปรัสเซียซึ่งสร้างความระแวงต่อออสเตรียเป็นอย่างมาก ทำให้ทางออสเตรียจึงจำเป็นต้องจับมือกับฝรั่งเศสเพื่อยับยั้งการเรืองอำนาจของปรัสเซีย
ด้วยเหตุนี้ทำให้พระนางมาเรีย เทเรเซีย (เยอรมัน: Maria Theresia, ค.ศ. 1717 - 1780, พ.ศ. 2260 - 2323) จึงจำเป็นต้องจับมือกับราชวงศ์บูร์บองสายต่างๆ ซึ่งปกครองฝรั่งเศส สเปนและปาร์มา เนเปิลส์อันเป็นรัฐในอิตาลี โดยกลุ่มราชวงศ์บูร์บองสายต่างๆ นี้เป็นพระประยูรญาติกัน อีกทั้งยังเป็นพันธมิตรกันในช่วงสงครามโดยยึดราชวงศ์บูร์บองในฝรั่งเศสเป็นหลัก
เวนเชสเลาส์ แอนทอน ฟอน เคานิทซ์ซึ่งเป็นอัครเสนาบดีแห่งออสเตรียผู้มีอำนาจมากในเวลานั้น ได้เริ่มเจรจาดับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในเวลานั้น อีกทั้งพระนางมาเรีย เทโรเซียแห่งออสเตรียทรงติดต่อในมาดาม เดอ ปงปาดูร์ผู้เป็นพระสนมเอกในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งนางยังมีอิทธิพลต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้เป็นพระราชสวามีอย่างมาก แม้พระนางมาเรีย เทเรเซียจะทรงรังเกียจการกระทำในราชสำนักฝรั่งเศสอย่างยิ่ง เพราะพระนางทรงเป็นผู้เคร่งครัดในศีลธรรม แต่ก็ทรงจำเป็นต้องจับมือกับฝรั่งเศสเพื่อต่อต้านอำนาจของราชอาณาจักรปรัสเซีย เนื่องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงไม่ชอบกษัตริย์ปรัสเซียเช่นกัน
นโยบายพันธมิตรใหม่นั้นได้เริ่มนำมาใช้ครั้งแรกในสงคราม 7 ปี โดยออสเตรียเลือกพันธมิตรอย่างฝรั่งเศสแทนที่อังกฤษเพื่อต่อต้านปรัสเซีย แต่ในขณะเดียวกันปรัสเซียก็ดันไปเป็นมิตรกับอังกฤษแทนเช่นกัน ทำให้มหาอำนาจสองขั้วคือฝรั่งเศส - ออสเตรียและอังกฤษ - ปรัสเซียเกิดความบาดหมางกันขึ้น เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นมีความขัดแย้งกันเรื่องอาณานิคม ส่วนออสเตรียและปรัสเซียนั้นขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ในยุโรป กับแคว้นไซลีเซียซึ่งแต่เดิมเป็นของออสเตรียแต่ปรัสเซียยึดไป โดยสงคราม 7 ปีเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุและหลายมุมมอง ถ้ามองในแง่ของอังกฤษและฝรั่งเศสคือสงครามฝรั่งเศสและอินเดียนในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ในมุมมองออสเตรียและพระนางมาเรีย เทเรซาคือการทวงดินแดนไซลีเซียกลับมาเป็นของออสเตรียดังเดิม เพราะแคว้นนี้เป็นเขตอุตสาหกรรมทอผ้าทั้งยังมีประชากรนับล้านคน ซึ่งสร้างความร่ำรวยแก่รัฐที่ยึดครองเป็นอย่างมาก
เพื่อให้เกิดความแน่นแฟ้นระหว่างราชวงศ์บูร์บองสายต่างๆ และราชวงศ์ออสเตรียมากขึ้น ทำให้พระนางมาเรีย เทเรเซียจำเป็นต้องสานสัมพันธ์กับราชวงศ์เหล่านี้ผ่านการอภิเษกสมรส ในปี ค.ศ. 1760 (พ.ศ. 2303) ท่ามกลางสงครามทั่วทวีปยุโรปซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงสงคราม 7 ปี พระนางทรงส่งโยเซฟผู้เป็นพระราชโอรสไปอภิเษกกับเจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งปาร์มา ซึ่งพระนางทรงเป็นเจ้าหญิงจากดินแดนอิตาลีตอนเหนือ อีกทั้งทรงเป็นพระญาติใกล้ชิดกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15
การอภิเษกสมรสกับหมู่ราชวงศ์บูร์บงครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1765 (พ.ศ. 2308) ระหว่างเลโอพ็อลด์พระราชโอรสของพระนางมาเรีย เทเรเซียกับมาเรีย ลุยซาผู้เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์สเปนจากราชวงศ์บูร์บองสายสเปน การเฉลิมฉลองหยุดกระทันหันเนื่องจากพระราชสวามีของพระนางมาเรีย เทเรเซียสวรรคต
ก่อนที่พระราชสวามีของพระนางจะสวรรคตนั้น พระองค์ได้ทรงออกมาเตือนและทรงไม่เห็นด้วยกับความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์บูร์บองกับฝรั่งเศสที่มากเกินไป โดยทรงมองว่าฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรที่ “ผิดธรรมชาติ” อีกทั้งพระสวามียังทรงพยายามขัดขืนการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ฮัพส์บวร์คออสเตรียกับราชวงศ์บูร์บอง จนกระทั่งเมื่อสวรรคตปัญหาต่างๆ จึงหมดไปเนื่องจากไม่มีใครห้าม อีกทั้งอัครมหาเสนาบดีก็มีอิสระในการบริหารราชการแผ่นดินมากขึ้นโดยปราศจากผู้ขัดขวาง ทำให้ทั้งสองราชวงศ์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นโดยไม่มีใครห้าม
ส่วนพระราชธิดาอีกองค์ของพระนางคือมาเรีย โยเซฟมาก็ได้รับเลือกให้เป็นพระมเหสีในกษัตริย์เนเปิลส์ - ซิซิลี ซึ่งถือว่าเป็นสาขาอีกสาขาของราชวงศ์บูร์บอง แต่ทางกษัตริย์เนเปิลส์ถือว่าพระนางทรงไม่มีพระรูปโฉมที่งามนักทั้งพระสติปัญญาก็น้อย ถึงกระนั้นพระนางทรงประชวรไข้ทรพิษและสิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน ทำให้ต้องแก้เกมโดยการใช้พระนางมาเรีย แคโรลินาซึ่งเป็นพระราชธิดาอีกองค์ไปแทน ทั้งนี้ราชวงศ์บูร์บองก็ได้ยอมรับคนใหม่มากกว่า
อีกอย่างคือพระนางก็ทรงส่งอาร์ชดัชเชสส์มาเรีย อามาลีผู้เป็นพระราชธิดาอีกองค์ไปสมรสกับราชวงศ์บูร์บอง - ปาร์มาด้วย และที่สำคัญที่สุดคือทรงส่งมาเรีย อันโทเนียไปสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งรัชทายาทแห่งฝรั่งเศส ซึ่งในเวลาต่อมามาเรีย อันโทเนียจะเป็นพระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์และเจ้าชายหลุยส์จะเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
เรียบเรียงและแปลจาก: Maria Theresia: die Schwiegermutter Europas, https://www.habsburger.net/de/kapitel/maria-theresia-die-schwiegermutter-europas
🖊️ ติดตามหัวข้อประวัติศาสตร์ได้ทุกช่องทาง
Facebook: หัวข้อประวัติศาสตร์
Blockdit: หัวข้อประวัติศาสตร์
YouTube: หัวข้อประวัติศาสตร
โฆษณา