19 ม.ค. 2022 เวลา 05:03 • การศึกษา
ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ ช่วยแก้ไขคำถามเป็นว่า "จริงหรือไม่ที่ในการสัมภาษณ์งาน กก.มักจะดูชื่อมหาวิทยาลัยก่อน"
1
ในกระบวนการสัมภาษณ์และคัดเลือก จะเริ่มจากการรับสมัคร ซึ่งผู้ทำหน้าที่คัดกรองใบสมัครจะคัดเฉพาะรายที่คุณสมบัติเบื้องต้นตรงทั้งหมดเท่านั้น ห้ามทิ้งแม้แต่ใบเดียว (ตรงนี้ในองค์กรมาตรฐานจะมีฝ่ายตรวจสอบ ทำการสุ่มตรวจการทำงานด้วยค่ะ) ยกเว้นในรายที่ส่งใบสมัครล่าช้าเลยกำหนดเวลา คุณเคยเห็นประกาศรับสมัครงานที่ใด กำหนดหรือไม่คะ ว่าต้องจบจากมหาวิทยาลัยสีชมพู? (ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มจะขาลง จนสู้มหาวิทยาลัยสีน้ำเงินไม่ได้แล้วหนา)....หรือ ต้องจบจากมหาวิทยาสีเหลืองแดงเท่านั้น??
ขั้นตอนต่อมาก็จะมีการนัดหมายเข้ารับการสัมภาษณ์ กระบวนการตรงนี้ ก็ต้องยอมรับว่า กก.แต่ละท่าน มักมีอุปนิสัยลำเอียงเลือกน้องรุ่นบ้าง อาทิเช่น บางคนไร้มารยาท เปิดปากถาม อ้าว! รุ่นน้องพี่เลยนะนี่ (หลายครั้งที่เราในฐานะประธานกก.สัมภาษณ์ เคยนำเรื่องนี้ไปพูดอบรมบ่มนิสัยกก. สัมภาษณ์ด้วยกัน เพื่อให้เก็บอาการที่ไม่ควรเช่นนี้ หรือไม่ก็ขอเปลี่ยนตัวกก.) และที่เราบอกมาทั้งหมด มันควรจะเกิดขึ้นในองค์กรขนาดใหญ่และผู้บริหารมืออาชีพทุกคนด้วยค่ะ
กลับกัน หากเป็นองค์กรขนาดกลาง เราเคยได้ยินเพื่อนสนิทเรา เล่าให้ฟังว่า เจ้านายของเขา Anti เด็กสีชมพู ด้วยเหตุผลว่าเคยรับแล้วมักมีปัญหาเรื่องการทำงานเป็นทีม ซึ่งก็จริง เพราะมักจะอยู่ไม่ทนสักคน แต่กลับสนใจเด็กสีเขียว หรือม่วง เพราะทำงานเก่ง เป็นนักปฏิบัติ...เป็นงั้นไป
ที่เราอยากบอกคือ บรรดาผู้บริหาร ผู้จัดการ ที่อายุใกล้เกษียณ หรืออาจเกษียณแล้ว ในสถาบันการเงินขนาดใหญ่ระดับประเทศหลายท่าน จบมหาวิทยาลัยเปิด ไม่ก็มหาวิทยาลัยราชภัฎ แต่กลับมีผู้ใต้บังคับบัญชา จบจากต่างประเทศ หรือจบมหาวิทยาสีชมพู สีน้ำเงิน หรือเหลืองแดง ก็มีถมไปนะคะ ท่านเหล่านี้สู้ชีวิตในองค์กรระดับนี้ได้เพราะอะไร ลองตรึกดูค่ะ
โฆษณา