19 ม.ค. 2022 เวลา 11:19 • ปรัชญา
อุปาทินกสังขาร และ อนุปาทินกสังขาร
Artist: Pavida Rujatikumporn
อุปาทินกสังขาร คือ สังขารที่มีวิญญาณครอง
เป็น สังขารที่รู้ตามช่องทางตรงของแต่ละช่อง อายตนะ ทั้ง 6 ต่อโลก คือ
ตา จักขุวิญญาณ รู้แล้วดับ
หู สัททวิญญาณ รู้แล้วดับ
จมูก ฆานะวิญญาณ รู้แล้วดับ
ลิ้น ชิวหาวิญญาณ รู้แล้วดับ
กาย โพฏฐัพพะวิญญาณ รู้แล้วดับ
ใจ มโนวิญญาณ รู้แล้วดับ
อนุปาทินนกสังขาร คือ สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง เป็น เจตสิกที่เกิดต่อจาก จิตที่เป็นสังขารที่มีวิญญาณครอง รู้ อารมณ์เดียวกัน เกิดและดับพร้อมกันในขันธ์ห้า
 
ต่อมา เป็น เวทนา สัญญา เป็น “วิบาก” ของ “อุปาทินกสังขาร” คือ วิบากจิต ของ สังขารที่มีวิญญาณครองทั้งหกช่องอายานตนะ
สามกาลถูกปรุงที่สังขาร เป็น มโนกรรมในกาลปัจจุบัน
ส่วน “สังขาร” ก็เป็น อนุปาทินนกสังขารที่ถูกปรุงแต่งในขณะปัจจุบัน และหลากหลายในอดีต และอนาคต พร้อมทั้งธรรมสัมปยุต กับเจตสิก 52 ที่ร่วมด้วยช่วยกันปรุงแต่ง เป็นสังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง เกิดทุกช่องอายตนะ ที่เป็นสังขารที่มีวิญญาณครอง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น
อภิสังขาร ทาง ตา
อภิสังขาร ทาง หู
อภิสังขาร ทางจมูก
อภิสังขาร ทางลิ้น
อภิสังขาร ทางกาย
อภิสังขาร ทางใจ
ถ้าแยกไม่ออก คือ สติมองไม่เห็น ไม่ระลึกได้ สัมปัญชัญญา ไม่ชัดละเอียดพอ ก็จะมองไม่เห็นเป็นสภาวะ ที่เป็น “ปริเฉทรูป” ที่เกิดและดับ แต่ละช่องของอายานตนะหก เพราะ “อภิสังขาร” ทำให้จิตพองตัวเป็นใหญ่ คือ เป็น “ปุญญาภิสังขาร บุญ” หรือ “อปุญญาภิสังขาร บาป” และเป็น “กามสุขัลลิกานุโยค” ได้ด้วย
อัตตกิลมถานุโยค
เพราะ อวิชา ตัญหา กรรม และ อุปทาน นี่เองที่เราไม่รู้ จึงทำให้ “อภิสังขาร” ทุกช่องอายาตนะ ถูกยึดไว้เป็น อัตตา เป็นเรา เป็นของเราหมดทุกช่องทาง ก็ไปรวมกันที่วิญญาณในขัณฑ์ห้าตัวสุดท้าย ถูกยึดเป็นอุปทานวิญญาณ เป็น “อัตตกิลมถานุโยค” ด้วย นี่เป็น “อาหารของวิญญาณโดยแท้ของผู้ที่เห็น เป็นสัตว์ เป็นอัตตา ตัวตน ที่เรียกว่า “วิญญาณหาร”
คือ อาหารของก้อนเนื้อ ก้อนทุกข์ ก้อนนี้ ต้องดำเนินชีวิตให้ได้ในภพชาตินี้ด้วยอาหารของก้อนเนื้อ ก้อนนี้ ต้องดำเนินชีวิตให้ได้ในภพชาตินี้ด้วยอาหารของก้อนเนื้อ ก้อนนี้ หรือชีวิตนี้ หรือ ร่างกายนี้ หรือ รูปนามนี้ คือ
1) กวฬิงกลาหาร คือ อาหารเป็นก้อนข้าวที่กินเข้าไปทางปาก
2) ผัสสาหาร คือ อายานตนะทั้งหกทาง ต้องสามารถรับรู้ผัสสะได้ดีในภพชาตินี้ ตรงตามความจริงของช่องทาง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดนามธรรมสี่ตัว คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
3) มโนสัญญเจตนาหาร คือ ตัว “สังขาร นี้แหละ คือความสัมพันธ์ กายและจิต ทั้ง อดีต อนาคต และปัจจุบัน สามารถที่จะทำให้สามารถ สร้างสรร “สังขาร” หรือ “อภิสังขาร” หรือ “กรรม” คือ รูปนามใหม่ๆ เพื่อสืบทอดตามความพีงพอใจของเผ่าพันธุ์เดิมตามวิถีของการสืบทอดโดย “กรรม”
ที่บอกว่า กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กรรมเป็นแดนเกิด กรรมเป็นตัวจำแนกเราไปสู่ชีวิตที่สูงหรือที่ต่ำ เรามีกรรมเป็นของของตน เราจะหลีกลี้หนีกรรมของเราไม่พ้น จักเหมือนเป็นตัวเงาติดตามตนไป กรรมจักแสดงผลของกรรมแน่นอนเสมอ คือ “วิบาก”
4) วิญญาณาหาร อาหาร คือ วิญญารที่ถูกยึดถือไว้ด้วย “กรรม” คือ อุปทานของ “สังขาร” หรือ อภิสังขาร คือ บุญ หรือ บาป เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และ อาเนญชาภิสังขาร ดังนั้น ในขันธ์ห้า ที่เรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
รูป เป็น อุปาทินกสังขาร คือ สังขารที่ถูกกรรมเข้ายึดครอง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ที่เกิดมาในภพชาตินี้ เป็นสังขารที่มีวิญญาณครอง
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็น อนุปาทินกสังขาร คือ สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง
เมื่อรูปทำงานตามช่องทางประจักษ์แจ้งตามความเป็นจริง ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้ว
อนุปาทินนกสังขาร ที่เป็นสังขารที่ไม่มีวิญณาณครอง คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เกิด
ตามมาเป็นลำดับ เพื่อทำการปรุงแต่งภพชาติ ของชีวิตในภพนี้ ให้เป็นไปตามกรรม และวิบากของกรรม หรือ ผลของกรรม ด้วยการกระทำร่วมด้วยช่วยกันของเจตสิกทั้งห้าสิบสอง ทั้ง อดีต อนาคต และปัจจุบัน
ชีวิตก็เหมือนกับ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ในภาษาไทย
ถ้าเปรียบ อุปาทินกสังขาร เป็นพยัญชนะในอักษรไทย 44 ตัว และอนุปาทินกสังขาร เป็นสระในภาษาไทย 32 ตัว รวมทั้ง วรรณยุกต์อีก 4 ตัว ลำพัง ก ไก่ ข ไข่ พยัญชนะทั้ง 44 ตัวล้วนๆ คงเขียนแสดงเรื่องราว อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ไม่ได้แน่นอน
ต้องอาศัยสระ ทั้ง 32 ตัว และวรรณยุกต์อีก 4 ตัว เข้ามาประกบด้วยก็จะแสดงเขียนเป็นอารมณ์ เรื่องราวทางวิชาการ เรื่องของโลก เรื่องของชีวิต แยกแยะออกไปมากมายไม่มีที่สิ้นสุด เกิดเป็น สังขาร รูปนาม ใหม่ๆ ออกมาเต็มไปหมด
แล้วเราก็ลืมไปว่า เรื่องราวมากมายในโลกบนตัวหนังสือที่ให้ความรู้ อารมณ์ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ด้วยอ่านตัวหนังสือที่ผสมกัน สลับซับซ้อนกัน จนเห็นเป็นจริง เป็นจัง เป็นความแท้จริง เป็นความมีอยู่จริง ที่สำคัญเป็นตัวตนจริงจัง เป็นของเราเป็นของเขา เป็นคนดี เป็นคนไม่ดี เช่นกัน
ทั้งนี้ เพราะเราอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ อ่านอารมณ์ เขียนอารมณ์ ดูอะไรก็เป็นตัวเป็นตนไปหมด มนุษย์จึงต้องมี “กรรม” ต้องเรียนเขียนอ่านหนังสือให้ได้เมื่อเกิดมาในโลกนี้ ภพนี้
การเรียน การเขียน การอ่าน ก็เป็นกรรม ของ “มนุษย์” ที่ไม่รู้จบ ชาติแล้ว ชาติเล่า ตายไปเกิดใหม่ ก็ต้องมาเรียน ก ไก่ ข ไข่ ใหม่ กว่าจะผสมกัน เขียนเป็นตัวเป็นตน เป็นเรื่องเป็นอารมณ์ได้ ก็ต้องทำกรรมแล้วทำกรรมอีก รับวิบากจากการเรียน การอ่าน การเขียน ตลอดชีวิตไม่รู้จบ
ก็เช่นเดียวกับ เราเกิดมา มีหู มีตา อายานตนะ ครบถ้วน มีใจด้วย
ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิด เราก็เริ่มเรียนรู้จากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จากบิดา มารดา ญาติ ครู อาจารย์ ก็โดยอาศัย อุปาทินกสังขาร และอนุปาทินกสังขารเท่านั้น ที่ทำหน้าที่จนตลอดชีวิต โดยที่เราก็ไม่รู้เรื่องนี้เลย คิดว่าเป็นตัวตนของเรา เป็นเราทำ ถ้าอุปาทินกสังขารเกิด คือ สังขารที่มีวิญญาณครอง แล้วอนุปาทินนกสังขารก็ต้องเกิด
แต่ถ้าเกิดแค่เวทนาแล้วดับ และเรารู้ทันยับยั้งไม่ให้สัญญาและตัณหาเกิดก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะเวทนาเกิดตัวเดียว ยังไม่มีอิทธิพลของ เจตสิก สัญญาในอดีต และตัณหา ซึ่งแรงมาก จึงต้องฝึกฝน เจริญสติ สมาธิ ปัญญา เพื่อให้ได้วิชากำหนดรู้เท่าทันรูปนามในขันธ์ห้า
ระวัง! อัตตกิลมถานุโยค
เพราะเวทนาเป็นวิบากของจิตแรก คือ สังขารที่มีวิญญาณครอง ถ้าฝีกสติดี รู้ทัน ก็จะรู้ว่า อารมณ์ของสัญญา จะพาเราไปทางไหน บุญ หรือ บาป ถ้าสติไม่มี ไม่รู้เรื่อง ไม่เคยอบรมกายและจิต ที่เรียกว่า อาตาปิ สัมปฌาโน สติมา ไม่เคยฝึก สติปัฏฐานสี่ ไม่เคยฝึกวิปัสสนาภาวนา ถ้าปล่อยให้สัญญาเอาของเก่าเข้ามาแล้ว ก็จะยั้งไม่อยู่แน่นอน
เพราะอารมณ์ของสัญญากับเจตสิก 52 และตัณหา เป็นความเคยชินที่คุ้นเคยมาก มาเร็ว ปรุงเร็ว ตกแต่งไปตามทางเดิมของมันที่เคยชิน ก็จะเอาไม่อยู่ แน่นอน จะเลยเถิด เพลิดเพลิน เผลอไป จนถึง “อภิสังขาร” พร้อมด้วยตัณหาแน่นอน
เรียกว่า จบกันที่ วิญญาณยึดเป็นอุปทานเรียบร้อยแล้ว ด้วยความเคยชินป็น
อัตตกิลมาถานุโยค พร้อมที่จะเกิดใหม่ในจิตดวงต่อไป และจิตดวงต่อไปนี้ก็จะเป็นรูปนามหรือสังขารที่เป็น “วิบาก” ของจิตที่เป็น “อัตตกิลมาถานุโยค” ก่อนหน้านี้ ก็เริ่มต้นของห่วงโซ่ขันธ์ห้าห่วงต่อไปที่คล้องเกี่ยวเนื่องกันเป็นสันตติของสังสารวัฎของขันธ์ห้าที่สืบทอดต่อๆกันไปเป็นห่วงโซ่ของ อิทัปปัจจัยตา ในวิถีของจิตที่เรียกว่า ...
ปฏิจจสมุปบาท คือ อวิชาที่ทำให้เกิดสังขาร ได้แก่
ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร
สังขารทำให้เกิด วิญญาณ ปฎิสนธิวิญญาณ หรือ วิญญาณในวิถีของนามรูป ที่เป็น อัตตกิลมถานุโยค คือ อุปทานวิญญาณในขันธ์ห้าตัวสุดท้าย และดับลง
วิญญาณ ทำให้เกิด นามรูป
นามรูป ทำให้เกิด สฬายตนะ
สฬานตยะ ทำให้เกิด ผัสสะ
ผัสสะ ทำให้เกิด เวทนา
เวทนา ทำให้เกิด ตัณหา
ตัณหา ทำให้เกิด ภพ
ภพ ทำให้เกิด ชาติ
ชาติ ทำให้เกิด ชรา มรณา โศกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปปายสะ
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
โดยยึดอุปทานขั้นธ์ทั้งห้า ก็เป็นทุกข์
นี่คือ ความเกิดขึ้นทั้งปวงของกองทุกข์
EP.3 เขียนตามที่เห็น บันทึกตามที่เป็น - นายซิดหยุ่น 83
โฆษณา