20 ม.ค. 2022 เวลา 10:00 • คริปโทเคอร์เรนซี
Blockchain คืออะไร?
จุดกำเนิดของ Blockchain
เมื่อปี 2008 ในช่วงวิกฤตเศษฐกิจครั้งใหญ่ที่เราเรียกว่า Global Financial Crisis บุคคลนิรนามที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์ขึ้นมา โดยออกแบบให้บิทคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ ทุกคนสามารถถือเงินและโอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่นธนาคาร และที่สำคัญ มันไม่ได้ถูกสร้างหรือควบคุมโดยรัฐหรือองค์กรใด ๆ
."บางคนอาจจะคิดว่า Blockchain นั้นมีไว้สร้างสกุลเงิน จริง ๆ แล้วสกุลเงินนั้นก็เป็นเพียงหนึ่งใน Application ของ Blockchain เท่านั้นเอง"
หลัก ๆ แล้ว Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า Trustless System ซึ่ง Bitcoin Network ถือว่าเป็นระบบแรก โดยมีตัว Bitcoin ที่เป็นสกุลเงินใช้งานบนนั้น
อาจเป็นเพราะ Satoshi Nakamoto คิดว่าสร้างสกุลเงินที่ไร้ตัวกลาง ไร้คนควบคุม เขาก็เลยคิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ขึ้นมาเพื่อทำให้เขาสร้างบิทคอยน์ได้สำเร็จ
โลกที่ต้องพึ่งพาตัวกลาง กับธุรกิจที่เกิดขึ้นจากคำว่า Trust ซึ่งก็คือเรื่องการโอนเงินนั้นเอง
จากรูปข้างบนนี้ เราจะเห็นได้ว่า A,B ฝากเงินกับ Bank 1 ในขณะที่ C,D ฝากเงินกับ Bank 2 ดังนั้น
A โอนหา B โดยผ่าน Bank 1
ถ้า A จะโอนหา D โดยผ่านทั้ง Bank 1 และ Bank 2
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกคนต้องพึ่งธนาคารตัวกลางในการโอนเงินหากัน
แต่ Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่จะสามารถมาสร้างระบบที่กระจายอำนาจความเชื่อใจของตัวกลาง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเชื่อตัวกลางคนใดคนนึงอีกต่อไป หรือทำให้เราทำธุรกรรมกันแบบ Peer-to-Peer ได้นั้นเอง
การกระจายบัญชีให้ทุกคนถือ
ที่นี้มาดูกันว่า เราจะทำยังไงให้ A B C และ D โอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร
ซึ่งคอนเซปของ Blockchain เนี่ยบอกว่า แทนที่จะให้ธนาคารเก็บข้อมูลบัญชีพวกเรา ทำไมเราไม่ให้ทุกคนใช้บัญชีเล่มเดียวกัน แล้วให้ทุกคนนั้นได้ก๊อปปี้อันเดียวกันไปเก็บหล่ะ ? มาดูกันครับว่าเป็นยังไง
ดูจากรูปข้างบนแล้ว ถ้าทุกคนมีข้อมูลบัญชีอันเดียวกัน
เราสามารถเช็คได้เลยว่าใครมีเงินเท่าไหร่ เราก็ไม่ต้องเป็นห่วงแล้วใช่ไหมครับว่าคนนี้มีเงินจริงไม่จริง ถ้าสมมติ B แอบแก้บัญชีตัวเอง จากมี 100 เป็น 1000 บัญชีของ B ก็จะไม่ตรงกับ A C และ D ทุกคนก็จะรู้ว่า B นั้นโกงนั้นเอง
เวลามีการโอน เช่น A โอนให้ D ข้อมูลธุรกรรมก็จะถูก Broadcast ประกาศให้ทุกคนรู้และอัพเดทบัญชีตามกัน ดังนั้นถ้าโอนแล้วมาบอกทีหลังว่าไม่ได้โอน ก็ไม่ได้ใช่ไหมละครับ
ทำไมถึงเรียกว่า Blockchain ?
Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง
สิ่งที่ทำให้ Blockchain ต่างจากการเก็บบัญชีแบบอื่นคือ เราไม่ได้กลับไปเปิดกล่องบัญชีเก่าเพื่อแก้หรืออัพเดทข้อมูลธุรกรรม แต่กล่องธุรกรรมใหม่จะถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆไปในทางเดียว โดยจะเชื่อมและอ้างอิง reference กับกล่องเก่าอยู่เสมอ ในลักษณะของกล่องหลายๆกล่องที่มีโซ่เชื่อมกัน มันถึงเรียกว่า Blockchain นั้นเอง
ยกตัวอย่างจากรูปข้างบน พอเราสร้าง Block 4 แล้ว เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ข้อมูลใน Block 1 2 หรือ 3 ได้ ผลก็คือข้อมูลธุรกรรมจะถูกเก็บถาวร
** ข้อมูลธุรกรรมของ Block ก่อนหน้าจะถูก Cryptographic Hash ไว้ (การเข้ารหัสทางเดียว ไว้เพื่อแค่เช็คว่าข้อมูลนั้นเป็นต้นฉบับจริง ไม่ถูกใครเปลี่ยนแปลง)โดยที่ Block ใหม่ที่ถูกสร้างก็จะมี Hash ของ Block เก่าระบุอยู่ด้วย (จึงอ้างอิงกลับได้ว่า Block ก่อนหน้าคืออันไหน) ถ้าหากมีคนแอบไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลธุรกรรม Block เก่า แม้แต่เพียงนิดเดียว Hash ก็จะเปลี่ยน ทำให้เรารู้ว่ามีการแอบแก้ไข ตัวอย่างเช่นรูปข้างล่าง เราจะเห็นได้ว่าประโยค “How are you” ถ้าแค่เติมเครื่องหมายคำถาม “?” เข้าไป ผลลัพท์ Hash ก็จะเปลี่ยนไปทันที
มาถึงตอนนี้ ทุกคนน่าจะทราบกันแล้วว่า Blockchain ทำงานอย่างไร ทำไมมันถึงตัดตัวกลางออกไปได้ ทีนี้เรามาดูดีกว่าว่า เราได้อะไรจากการตัดตัวกลางออก
Ownership ความเป็นเจ้าของ จากที่เราต้องฝากเงินฝากชีวิตให้กับตัวกลางเป็นคนดูแล ต้องขออนุญาตทุกครั้งไม่ว่าจะดูหรือโอนเงินในบัญชี มาตอนนี้ Blockchain ทำให้เราสามารถเก็บทรัพย์สินหรือเงินนี่แหละกับตัวเองได้จริง ๆ ตอนโอนก็โอนเลยแบบ Peer-to-Peer ไม่ต้องขอใคร
Open & Neutral ความเป็นระบบเปิดและเท่าเทียม ไม่ว่าเราจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ ทำงานอะไร ระบบไม่สนใจหรอกครับ ทุกคนมีสิทธิเข้ามาใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีลำเอียงหรือสองมาตรฐาน
Transparency & Immutability ความโปร่งใสและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ ซึ่งข้อมูลบน Blockchain นั้นจะเชื่อถือได้โดยทุกฝ่าย เพราะเรารู้ว่าไม่มีบริษัทไหนหรือใครแอบเข้าไปแก้ข้อมูลย้อนหลังได้ อีกทั้งมันจะอยู่อย่างถาวรอีกด้วย
Security ความปลอดภัย ถ้าเซิฟเวอร์กลางมันมีไม่กี่ที่ Hacker ก็รู้เป้าโจมตี และทำจนว่ามันจะสำเร็จใช่ไหมละครับ แค่พลาดครั้งเดียวข้อมูลบัญชีก็อาจถูกแก้ไขได้ แต่ถ้าเรากระจายบัญชีไปทั่วโลกละ จะแก้ทีก็ต้องแฮกคอมพิวเตอร์นับไม่ถ้วนพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว ไม่งั้นก็ถูกจับได้ว่าข้อมูลผิด
Borderless ความไร้พรมแดน ปกติแล้วเราจำเป็นต้องพึ่งตัวกลางในแต่ประเทศ ยกตัวอย่างเช่นการเปิดบัญชีธนาคาร แต่ระบบนี้มันไม่จำกัดประเทศ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามันไม่รู้ด้วยว่าเราอยู่ที่ไหน เพียงแค่เรามีอินเตอร์เน็ต เราสามารถใช้งานระบบได้ทุกเมื่อ
Cut Cost ลดค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าพอไม่มีธุรกิจตัวกลางที่มากินกำไรแล้ว ค่าใช้จ่ายของการทำธุรกรรมนั้นลดลงแน่นอน
** ที่ยกมานี้เป็นคุณสมบัติหลัก ๆ ของ Permissionless / Public Blockchain นะครับ ซึ่งถ้าเป็น Permissioned / Private Blockchain อาจจะไม่ได้มีคุณสมบัติครบแบบนี้ ไว้โอกาสหน้าจะมาเจาะลึกถึงประเภท Blockchain ว่ามันต่างกันยังไงนะครับ
การพัฒนาไม่ได้หยุดแค่เรื่องการเงิน
อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ สกุลเงินนั้นเป็นเพียง 1 ในแอปพลิเคชันของ Blockchain เท่านั้น เราสามารถนำระบบ Trustless System ที่ถูกสร้างด้วย Blockchain มาปฏิรูปธุรกิจที่เราต้องพึ่งพาตัวกลางในปัจจุบันได้อีกด้วย
โฆษณา