Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Innowayถีบ
•
ติดตาม
25 ม.ค. 2022 เวลา 13:00 • สิ่งแวดล้อม
หลอดยาสีฟันที่รีไซเคิลได้ เรื่องฟังดูธรรมดาแต่น่ายินดี
เพราะจะลดการฝังกลบขยะได้มากกว่า 1000 ล้านชิ้นต่อปี
ขยะที่เกิดจากหลอดยาสีฟันเป็นปัญหาของโลก??
ฟังแล้วอาจจะดูไม่น่าเชื่อ แต่ว่า…
ในหนึ่งปี เฉพาะที่อเมริกาทีเดียวจะมีขยะที่เกิดจากหลอดยาสีฟันราวๆ 1000 ล้านชิ้น
ขณะที่ในอังกฤษคนน้อยว่าหน่อยเลยมีขยะจากหลอดยาสีฟันที่ประมาณ 300 ล้านกว่าชิ้น แล้วมันเยอะไหม?
มีการประมาณไว้ว่าถ้าเอาหลอดยาสีฟัน 300 ล้านชิ้นมาเรียงต่อกันจะมีความยาวประมาณ 75,000 กิโลเมตร เรียกว่าพันรอบโลกได้สองรอบเลยทีเดียว
ว่าแต่ขยะพวกนี้มันหายไปไหนหมด?
ไม่น่าเชื่อว่าวิธีการกำจัดขยะจำพวกหลอดยาสีฟันนั้นส่วนใหญ่เป็นการฝังกลบ ไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ เนื่องจากกระบวนการผลิตหลอดยาสีฟันพวกนี้ ใช้พลาสติกหลายชนิดรวมทั้งโลหะที่มีขนาดบางมากๆ มาวางซ้อนกันหลายชั้น เพื่อให้หลอดยาสีฟันสามารถที่จะเก็บกลิ่น รสชาติ และให้ควบคุมให้เนื้อยาสีฟันมีความสดใหม่ได้
ดูจากภายนอกจะไม่รู้เลยว่ามีวัสดุกลายชั้นที่ใช้ในการผลิตหลอดยาสีฟัน
คอลเกตผู้นำแห่งโลกยาสีฟัน
หนึ่งในผู้นำของตลาดนี้ก็คือคอลเกต กินส่วนแบ่งของตลาดมากกว่า 34% ซึ่งการเป็นผู้ผลิตหลายใหญ่ ย่อมมีส่วนที่จะช่วยหาทางแก้ไขในปัญหานี้ ซึ่งทางคอลเกตเองก็ไม่นิ่งนอนใจ ทุ่มเทในพัฒนาวัสดุที่ใช้ในการผลิตหลอดยาสีฟัน จนทำให้สามารถที่จะทิ้งหลอดยาสีฟันที่หมดเเล้วลงในถังขยะรีไซเคิลที่เราเห็นทั่วไปได้เลย
ยาสีฟัน..มีมานานแล้วววว!!
ถ้าย้อนกลับไปจะมีประวัติการใช้ยาสีฟัน ต้องแต่ยุคอารยธรรมอียิปต์ซึ่งมีบันทึกการใช้ยาสีฟันที่ทำจากส่วนประกอบของเกลือ ใบมิ้นท์และดอกไอรอชนับว่าเป็นส่วนผสมของยาสีฟันที่ดูคล้ายกับปัจจุบันจริงๆ
ส่วนยาสีฟันสมัยใหม่ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันนั้น เริ่มมีการบันทึกการพัฒนาไว้ในช่วงปี ค.ศ. 1824 ซึ่งทันตแพทย์ที่ชื่อ Peabody ได้เติมส่วยผสมของสบู่ลงในครีมที่ใช้ขัดฟัน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาสูตรกันต่อมาเรื่อย
1
ต่อมา William Colgate (ผู้ก่อตั้งคอลเกต) ได้ทำการผลิตยาสีฟันในระดับอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรก ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็บรรจุยาสีฟันที่ว่าขายในขวดแก้วอีกด้วย
ยาสีฟันคอลเกตรุ่นแรก
ต่อมาการใช้งานในขวดแก้วดูจะไม่ค่อยดีต่อสุขลักษณะ (เพราะเราเอาแปรงสีฟันที่ใช้แล้ว จิ้มลงในกระปุก ซึ่งทำให้ยาสีฟันเสียได้) จึงมีการพัฒนามาใช้หลอดทรงที่เห็นปัจจุบันที่ทำจากอลูมิเนียม (ได้อิทธิพลมาจากหลอกสีอีกที)
ทีนี้เมื่อมีการใช้มากๆ เข้าการใช้หลอดอลูมิเนียมก็ไม่เป็นที่นิยม จนเป็นต้นเหตุในการพัฒนาวัสดุทดแทน ซึ่งต่อมากก็กลายเป็นปัญหาที่เราคุยกันอยู่นี้เอง
แล้วคอลเกตทำอย่างไร ให้สามารถนำหลอดยาสีฟันไปรีไซเคิลได้??
ตอบแบบง่ายๆ ถ้าเหตุผลที่รีไซเคิลไม่ได้เพราะใช้วัสดุหลายอย่างชนิด ก็ใช้มันแค่ชนิดเดียวสิ
แต่แน่นอนที่ต้องใช้วัสดุหลายชนิดเพราะแต่ละชั้นของวัสดุก็ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานในคุณสมบัติที่แตกต่างกัน คอลเกตจึงต้องใช้เวลาไม่นอนกว่าที่จะสามารถทำให้วัสดุชนิดเดียวแต่สามารถทำหน้าที่ได้ครบเหมือนหลอดยาสีฟันที่ใช้วัสดุหลากหลาย
ซึ่งวัสดุที่คอลเกตใช้ในการผลิตหลอดยาสีฟันแบบใหม่ก็คือพอลิเมอร์ในกลุ่มพอลิเอทิลีนที่มีความหนาแน่นสูง (High Density PolyEthylene, HDPE) โดยคอลเกตใช้ HDPE ที่มีคุณลักษณะที่หลากหลายจำนวนถึง 13 ชั้นมาวางซ้อนกันแทนที่จะใช้วัสดุที่แตกต่างกัน
เหตุผลที่คอลเกตใช้เวลานานกว่า 5 ปีในการพัฒนาหลอดยาสีฟันที่สามารถรีไซเคิลได้ ติดอยู่ตรงที่ไม่สามารถทำให้ผู้ใช้งานบีบหลอดยาสีฟันได้ง่าย เพราะการใช้ HDPE อย่างเดียวนั้นมันแข็งเกินไป HDPE ซึ่งการ mix & match วัสดุ HDPE ที่มีหลากกลายเกรดก็สามารถทำให้เกิดหลอดยาสีฟันที่มีคุณลักษณะเหมือนปัจจุบันแต่ทำจากวัสดุเพียงชนิดเดียวได้สำเร็จ
ทางคอลเกตคาดการว่าในปี 2568 (2025) หลอดยาสีฟันของคิลเกตทั่วฌลกจะใช้วัสดุที่สามรถรีไซเคิลได้ชนิด รวมกแถึงยังชักชวนให้คู่แข่งในตลาดยาสีฟันมาร่วมกันใช้วัสดุชนิดนี้เพื่อให้สามารถกำจัดขยะได้มีประสิทธิภาพมาดขึ้นอีกด้วย (หล่อไปอีก)
2
แน่นอนว่าการแก้ปัญหาพลาสติกล้นโลกก็มีอีกหลากหลายวิธี ซึ่งการใช้ยาสีฟันแบบรักษ์โลก ยังมีอีกตัวอย่างหลายแบบ
1) ยาสีฟันบรรจุในขวดแก้ว ซึ่งจริงๆแล้วยาสีฟันที่มีการผลิตและขายโดยคอลเกตในยุคแรกก็บรรจุลงในขวดแก้วแบบนี้เช่นกัน ซึ่งขวดแก้วก็เป็นวัสดุที่สามารถคัดแยกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้สะดวกกว่ามาก
1
ที่ประเทศอะงกฤษก็มีหลายแบรนด์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์แบบนี้เผื่อตอบโตทย์การลดขยะพลาสติก
ยาสีฟันแบบดั้งเดิม บรรจุลงขวดแก้ว
2) ยาสีฟันแบบเม็ด จริงๆ จะว่าไปยาสีฟันแบบนี้อาจจะไม่ได้มีสูตรเหมือนๆยาสีฟันที่เราใช่กันประจำนะ เพราะว่าประกอบได้สารจำพวกน้ำตาล กลุ่ม xylitol, แคลเซียมคอบอเนต และแบคกิ้งโซดา เมื่อนำมาอัดเป็นเม็ดก็สามารถทำให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น อาจจะใส่ในกล่องกระดาษหรือขวดแก้วที่นำไปส่งกำจัดต่อได้ง่ายกว่า
2
แต่ยาสีฟันแบบเม็ดก็ยังเป็นที่ถกเถียงว่ามีประสิทธิภาพเหมือนยาสีฟันแบบที่เราคุ้นชินไหม เพราะมายาสีฟันแบบเม็ดที่ใช้เคี้ยวส่วนใหญ่จะไม่มีองค์ปรพฝะกอบของฟลูออไรต์ที่มีส่วนในการช่วยป้องกันฝันผุ
ยาสีฟันแบบอาหารเม็ด เคี้ยวๆเอา
ขยะพลาสติกที่ล้นโลกซึ่งเกิดจากการใช้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทั้งโลกยังร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อส่งต่อโลกที่ดีขึ้นให้กับคนรุ่นถัดๆไป
บริษัทในไทยหลายแห่งก็มีความพยายามในการพัฒนาสินค้าพลาสติกที่ช่วยลดปัญหาของขยะ เช่นกลุ่ม SCG ที่นำพลาสติกใช้เเล้วมาผ่านกระบวนการรีไซดคิลและปรับปรุงคุณภาพ ให้กลับมาใช้งานได้โดยมีคุณสมบัติเหมือนพลาสติกที่ผลิตใหม่ (virgin polymer) ซึ่งมีความร่วมมือกับยูนิลิเวอร์ในการนำมาใช้งานจริงอีกด้วย
techsauce.co
ครั้งแรกของไทย Unilever จับมือ SCG พัฒนาขวดบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนหมุนเวียนมาผลิตใหม่
Unilever-SCG ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาและเปลี่ยนขวดบ...
https://www.fastcompany.com/90713412/after-149-years-colgates-toothpaste-tubes-are-finally-recyclable
https://www.nature.com/articles/s41415-021-2926-y
https://www.theguardian.com/fashion/2021/feb/15/down-the-tubes-should-you-brush-your-teeth-with-toothpaste-tablets
https://www.openculture.com/2016/02/oldest-known-recipe-for-toothpaste.html
บันทึก
25
35
7
25
35
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย