Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฝึกใจไปกับธรรมะ
•
ติดตาม
2 ก.พ. 2022 เวลา 11:59 • ปรัชญา
ไ อ น์ ส ไ ต น์ . . .
เน้นเรื่องตัวตนมาก คำถามคือว่า เขาพบอะไรที่ใกล้เคียงกับคำว่าตัวกู - ของกูในทางพุทธศาสนาหรือไม่ กายกับจิตไม่ใช่ส่วนเดียวกัน เมื่อใดที่เราสามารถปล่อยให้จิตเป็นอิสระจากการเชื่อมโยงของประสาทสัมผัสภายนอกที่ทำให้รับรู้ถึงการมีตัวตน (อัตตา) เห็นสัมผัสในสมองเป็นรูป และเห็นจิตที่รับอารมณ์เป็นนาม เมื่อนั้นเราจะสามารถรับรู้เข้าใจความจริงแท้ ความรู้สึกถึงตัวกู - ของกูทำให้มีความทุกข์ ตัวตนคือองค์ประกอบของขันธ์ 5 ได้แก่ รูป สัญญา เวทนา สังขารวิญญาณ เมื่อบรรลุภาวนามยปัญญาก็จะรู้ว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่เกิดขึ้น แม้สมองจะแปลผล แต่ถ้าจิตไม่ขึ้นมารับอารมณ์เสียอย่าง เวทนา ตัณหาก็ไม่เกิด อุปาทานไม่มี สภาวะนั้นจิตจะเป็นอิสระ สงบ และพบกับความสุขอย่างแท้จริง
มนุษย์มีช่วงที่ตัวตนหายไปวันละ 6-8 ชั่วโมง คือขณะนอนหลับ เมื่อหลับไปไม่มีความทุกข์ ร่างกายก็ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ช่วงที่หลับสนิทจะมีความสุขที่สุด ในทางการแพทย์ก็ยอมรับว่าการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ ถ้าเราสามารถปรับตัวตนได้ขณะยังตื่นอยู่ เราจะพบว่าโลกมนุษย์ก็คือสวรรค์ดี ๆ นั่นเอง
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ยึดติดกับตัวตน เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถสกัดผัสสะเหล่านี้ได้ เมื่อนั้นเราจะสามารถหลุดพ้นจากตัวตน ซึ่งวิธีการสกัดผัสสะนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้อย่างละเอียดแล้ว ทั้งทางวิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน
คำคมประโยคนี้ของไอน์สไตน์ใกล้เคียงมากกับความหมายของระดับญาณในวิปัสสนากรรมฐานหรือสามารถบอกได้เช่นกันว่าระดับญาณสามารถพบได้ตามระดับที่มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากตัวตน
• • • • •
ทันตแพทย์สม สุจีรา
.. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ที่มา : หนังสือ "มรดกไอน์สไตน์"
|มองโลกเข้าใจชีวิตผ่านความคิดอัจฉริยบุคคลของโลก
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
มรดก ไอน์สไตน์ 🔭
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย