21 ม.ค. 2022 เวลา 15:31 • หนังสือ
Grief work #คู่มือหัวใจสลาย
Julia samuel เขียน, วรรธนา วงศ์ฉัตร แปล, สนพ. OMG books
เรื่องเล่าของนักบำบัดกับคนที่เกิดการสูญเสียจากความตาย โดยจัดกลุ่มความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนตาย แบ่งเป็น พ่อแม่ ลูก คู่รัก พี่น้อง และตัวเองที่กำลังจะตาย (โดยส่วนใหญ่เป็นโรคร้ายและไม่สามารถรักษาหาย)
คนที่เผชิญกับความสูญเสียและเกิดความเศร้าเสียใจ มีการรับมือความรู้สึกนั้นต่างกัน ความเศร้าฯ เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ทันทีหรืออาจจะไม่ทันที อย่างไรก็ดี มันจะเกิดขึ้นแน่ ๆ เมื่อหากคนที่ตายมีความผูกพันธ์กับเรา
ความเศร้าฯ ของแต่ละคนมีปัจจัยที่ส่งผลหลายอย่าง ทั้งประสบการณ์ ลักษณะนิสัยของแต่ละคน การเลี้ยงดู ประสบการณ์วัยเด็ก ความเข้มข้นของความสัมะพันธ์ ความช้า/เร็วของความตายที่เกิด ฯลฯ จึงทำให้วิธีการแสดงออกนั้นต่างกัน
ความเศร้าฯ จะทำงานโดยตัวของมันเอง หน้าที่เราคือหาวิธีให้ความรู้สีกนั้นแสดงออก ออกมา บางคนแสดงออกในแง่บวก บางคนแสดงออกในแง่ลบ
สิ่งที่น่าสนใจของเล่มนี้คือ การพูดเรื่องความตายกับเด็ก เพราะปกติแล้วเราอาจไม่บอกความจริงหรือโกหกเด็กเมื่อมีคนใกล้ตัวตายไป แต่สิ่งที่ควรทำจริง ๆ คือ การบอกให้เด็กรู้ว่ามีความตายเกิดขึ้น และอธิบายเป็นรูปธรรม และตรงไปตรงมา เช่น คนที่ตายแล้วจะไม่หายใจ ไม่มีความรู้สึก ฯลฯ และควรพาเด็กเข้าไปมีส่วนร่วมในพิธีกรรมด้วย
เด็กที่อายุ 8 ขวบ ขึ้นไป สามารถรับรู้ได้แล้วว่า ความตายคือสิ่งที่ถาวร หมายถึง รู้ว่าเมื่อใครตายไปแล้ว จะไม่สามารถพอเจอกับคนนั้นในลักษณะบุคคลได้อีก
ความชอบส่วนตัวต่อหนังสือเล่มนี้ คือ การเขียนที่ทำให้รู้สึกเหมือนกำลังอ่านบันทึกการทำงาน การเขียนที่สื่อถึงการใคร่ครวญอย่างมาก รู้สึกว่าคนเขียนมีการตระหนักในตัวเองและจริงใจระดับหนึ่งเลย ต่อการถ่ายถอดข้อมูล เหตุการณ์ของเคส และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชั่วโมงการบำบัด เพราะเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง ทั้งความรู้สึกเห็นใจ คล้อยตาม(บ้าง) ความรู้สึกขัดแย้ง และความรู้สึกลบต่อเคสในบางกรณี
โฆษณา