22 ม.ค. 2022 เวลา 01:05 • สุขภาพ
ภาวะ New Year’s Blues หรือ ภาวะซึมเศร้าช่วงปีใหม่
ในช่วงวันหยุดยาวปีใหม่นี้ แม้คนส่วนใหญ่จะมีความสุขเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่เทศกาลรื่นเริง แต่คนจำนวนหนึ่งจะเริ่มทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตลอดปีที่ผ่านมา หรือได้รับฟังข่าวสารที่มีการสรุปเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาและเกิดความผิดหวัง กังวล หรือซึมเศร้าขึ้นได้
จากการสำรวจของกรมสุขภาพจิต พบว่า ในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ประชาชนมีความเครียดสูงร้อยละ 5.24 และมีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 6.72 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ประชาชนมีความเครียดสูงร้อยละ 8.41 และมีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 10.60 แต่สถิติดังกล่าวของเดือนธันวาคมนี้ ยังไม่รวมช่วงวันหยุดยาวขึ้นปีใหม่
ในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ประชาชนมีความเครียดสูงร้อยละ 5.24 และมีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 6.72 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ประชาชนมีความเครียดสูงร้อยละ 8.41 และมีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 10.60 แต่สถิติดังกล่าวของเดือนธันวาคมนี้ ยังไม่รวมช่วงวันหยุดยาวขึ้นปีใหม่
ภาวะ “New Year’s Blues” หรือ ภาวะซึมเศร้าช่วงปีใหม่ ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยทางจิตเวช แต่เป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
สาเหตุของการเกิดภาวะ “New Year’s Blues”
หลายคนเกิดความเครียดเรื้อรังสะสม รวมถึงมีอุปสรรคปัญหาด้านต่างๆ เกิดขึ้น ทั้งสุขภาพกาย ปัญหาจากการทำงาน และปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น หลายคนไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ตามสิ่งที่ตนเองเคยคาดหวังและวางแผนไว้ ก่อให้เกิดความรู้สึกล้มเหลว ความทรงจำด้านลบ การสูญเสีย และความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง นอกจากนั้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตอยู่เดิม อาจจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มยิ่งขึ้นได้ในช่วงนี้ เช่น คนที่มีภาวะซึมเศร้าอยู่เดิมอาจมีอาการเศร้ารุนแรงมากขึ้น และช่วงวันหยุดเทศกาลไม่สามารถสร้างความสุขให้ได้
อาการของภาวะ “New Year’s Blues”
ผู้ที่กำลังประสบภาวะนี้ในช่วงหยุดยาววันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นี้ หรืออาจเกิดต่อเนื่องไปยังช่วงต้นเดือนมกราคมแม้สิ้นสุดวันหยุดยาวไปแล้ว จะมีอาการได้แก่
- ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้
- รู้สึกไร้ค่า รู้สึกสิ้นหวัง ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง
- มีปัญหาเรื่องการกินหรือการนอน
- ในบางรายอาจมีความคิดไม่อยากอยู่หรืออยากทำร้ายตัวเอง
การป้องกันตนเองและคนใกล้ชิดไม่ให้เข้าสู่ภาวะ New Year’s Blues
- หมั่นสำรวจอารมณ์ของตนเองและคนรอบข้าง ทั้งในระหว่างช่วงหยุดยาวและหลังหยุดยาว
- มองเห็นคุณค่าของตนและสิ่งดี ๆ ที่ตนเองได้ทำไว้ในช่วงที่ผ่านมา เช่น การมองหาสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ พลังใจที่เกิดขึ้นในตนเอง
- การไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
- การแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
- ใช้เวลาที่มีคุณภาพกับครอบครัวหรือคนสนิท เรียนรู้วิธีใช้ช่องทางออนไลน์ในการเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างเพิ่มเติม
- หากรู้สึกว่าตนเองอาจมีภาวะ New Year’s Blues สามารถเริ่มปรึกษาพูดคุยกับใครสักคน เช่น คนใกล้ชิดหรือสมาชิกในครอบครัว
- สามารถติดต่อขอคำปรึกษาจากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ ปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมต่อไป และประเมินตัวเองผ่าน www.วัhttp://xn--82cx5l.com/
โฆษณา