2 ก.พ. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
ผู้อ่านที่เคยดูหนังซีรีส์เกาหลีเรื่อง Sisyphus: The Myth อาจสังเกตเห็นภาพคนเข็นก้อนหินในไตเติล ภาพนี้มีที่มาจากตำนานกรีกเรื่องซิซีฟัส (Sisyphus)
3
ซิซีฟัสเป็นกษัตริย์แห่งเอพไฟรา กระทำผิดเรื่องโกงความตายสองครั้ง จึงต้องคำสาปลงโทษให้เข็นก้อนหินใหญ่ขึ้นเขา เมื่อใกล้ถึงยอด หินจะร่วงลงมาทุกครั้ง แล้วต้องเข็นขึ้นไปใหม่ ต้องทำอย่างนี้นิรันดร์
ในมุมมองของ อัลแบร์ กามูส์ (นักคิด นักปรัชญา และนักเขียนรางวัลโนเบล) การแบกหินขึ้นเขาลงเขาซ้ำๆ กันย่อมเป็นเรื่อง ‘ไร้สาระ’
2
แต่กามูส์ก็ถามต่อว่า "คุณจะเอาสาระไปทำไม"
2
เราได้รับการกรอกหูมาแต่เกิดว่า ชีวิตต้องมีสาระ ต้องมีความหมาย
1
แต่จริงหรือ? ทำไม?
ภาพซิซีฟัสเข็นหินนี้ ดูเหมือนน่าสงสาร แต่กามูส์มองอีกมุมหนึ่งว่า ขณะที่ใครๆ ก็คิดว่าซิซีฟัสโชคร้ายเหลือเกิน ต้องทำงานเข็นหินขึ้นเขา และจะต้องล้มเหลวเสมอ แต่ใครบอกว่าเขาต้องทุกข์ล่ะ? หากซิซีฟัสยอมรับว่าเรื่องทั้งหมดนี้ "ไร้สาระ" เขาก็อาจแบกหินไปอย่างมีความสุขได้ เพราะความสุขเกิดจาก ‘ปัจจุบันขณะ’ ของการเข็นหิน
4
ก็คือ ‘enjoy the process’
2
เอนจอยการแบกหินระหว่างทาง ไม่ใช่นึกถึงแต่ภาพที่หินที่จะกลิ้งตกลงมาในอนาคต
1
มุมมองน่าสนใจใช่ไหม?
คนเราเกิดมาทำไม? ชีวิตเรามีความหมายหรือไม่? เรามีเจตจำนงอิสระจริงๆ ไหม? มีอำนาจบางอย่างกำหนดแผนทางเดินทั้งชีวิตของเราหรือไม่? เราเลือกทางเดินของเราเองได้จริงหรือ? หรือว่าความหมายและสาระนี้เป็นสิ่งที่เราหลอกตัวเอง ชีวิตปราศจากความหมายใดๆ โดยสิ้นเชิง?
1
อยากรู้คำตอบ คลิกอ่านได้เลย https://www.blockdit.com/posts/61ea3b2f03d4a33ff6a26c12
1
[ติดตามข้อเขียนของ วินทร์ เลียววาริณ ได้ทุกวันที่เพจ https://bit.ly/3amiAvG และ blockdit.com]
โฆษณา