24 ม.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ของราคาแพง: ปัญหาร้ายแรงของหลายประเทศทั่วโลก
ที่ผ่านมา ข้าวของมากมายในประเทศไทยมีแนวโน้มขึ้นราคา (หรือบางอย่างก็ขึ้นไปแล้วด้วย) ไม่ว่าจะเป็นหมู ไข่ไก่ น้ำอัดลม หรือ น้ำมันปาล์ม
📌 แต่ราคาข้าวของที่เพิ่มขึ้นนั้นกำลังเป็นปัญหาทั่วโลก
อย่างในอังกฤษ อัตราเงินเฟ้อเดือนล่าสุดก็ได้แตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี (แผนภูมิ 1) หรืออัตราเงินเฟ้อเดือนล่าสุดของสหรัฐฯ(ธันวาคม 2021) ที่ถือว่าสูงสุดในรอบ 40 ปี (แผนภูมิ 2)
แผนภูมิ 1: อัตราเงินเฟ้อรายเดือนของอังกฤษ
แผนภูมิ 2: อัตราเงินเฟ้อรายเดือนของสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ประเทศในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น จีน เกาหลี อินเดีย หรือ ญี่ปุ่น ต่างก็กำลังเผชิญกับราคาน้ำมันที่แพงขึ้น
ทำไมราคาของมากมายถึงแพงขึ้นพร้อมๆ กัน?
อันที่จริง นักวิชาการมากมายและธนาคารกลางหลายแห่งก็คาดไว้อยู่แล้วว่าอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นเร็วจากเงินจำนวนมหาศาลที่หลายประเทศอัดฉีดไปในระบบเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงโควิด
แต่ในปัจจุบัน สถานการณ์หลายอย่างก็กำลังร่วมใจกันทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเร็วมากกว่าที่คาด ไม่ว่าจะเป็น
1. ห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงักนาน
1
เพราะการระบาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตอนนี้การระบาดของโอไมครอนได้ทำให้หลายประเทศมีการล็อกดาวน์อีกรอบ
อย่าง การล็อกดาวน์จีนก็ทำให้ส่งผลต่อการขนส่งสินค้ามากมาย จากรายงานของบริษัทโลจิสติกส์ Flexport ระยะเวลาในการส่งสินค้าจากจีนไปสหรัฐทางเรือ ได้เพิ่มขึ้นเป็น 113 วัน ในต้นเดือนมกราคม จากเดิมที่เคยใช้เวลาน้อยกว่า 50 วันในต้นปี 2019 ซึ่งนี่ก็จะกระทบธุรกิจมากมายที่นำเข้าอะไหล่จากจีน
3
แถมนโยบาย Zero COVID ของจีน (นโยบายลดผู้ติดเชื้อให้เหลือ 0) ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงว่าจะเกิดห่วงโซ่อุปทานติดขัดครั้งใหม่
2. อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
2
จากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะการเดินทาง ที่เริ่มกลับมา และทำให้ความต้องการในการใช้น้ำมันและพลังงานเพิ่มขึ้น
2
นอกจากนี้ สถานการณ์ในบางประเทศก็ทำให้อุปสงค์ของพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในอังกฤษ ที่เจอกับอากาศหนาวมากในปีที่แล้ว ประชากรจึงต้องการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงในการสร้างความอบอุ่นมากขึ้น
อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ยังคงขัดข้อง ก็ส่งผลให้ราคาสินค้ามากมายพุ่งขึ้น
1
3. ผลจากฐานราคาที่ต่ำในปีที่แล้ว
ระดับราคาที่ต่ำ จากกิจกรรมและการบริโภคที่หยุดชะงักในช่วงล็อกดาวน์ในปีที่แล้ว ก็อาจมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ คำนวณออกมาแล้วดูเพิ่มสูง เมื่อเทียบกันปีต่อปี
ปัจจัยเหล่านี้เมื่อรวมกัน ก็ทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2022 เพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่ใครๆ คิดไว้
📌 ธนาคารกลางมีปฏิกิริยาอย่างไรกับเหตุการณ์นี้?
ธนาคารกลางแต่ละประเทศ ก็มีปฏิกิริยาที่ต่างกันไป เนื่องจากสถานการณ์ในแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
อย่างในสหรัฐฯ ที่ตลาดแรงงานฟื้นตัวได้ดี ก็ทำให้ธนาคารกลางเชื่อว่าจะสามารถขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ อย่างเร็วที่สุดในเดือนมีนาคม
เช่นเดียวกับในอังกฤษ ที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา และเมื่อบวกกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินเป้าไปเยอะ ก็ได้ทำให้ธนาคารกลางปรับดอกเบี้ยขึ้นในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว และอาจปรับขึ้นอีกในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ (ตามการคาดการณ์ของ Bank of America)
ส่วนธนาคารกลางของสหภาพยุโรปก็ประกาศจะหยุดอัดฉีดเงินเข้าระบบในเดือนมีนาคม แต่ยังไม่มีทีท่าจะขึ้นดอกเบี้ยขึ้นในปีนี้
1
นอกจากนี้ ธนาคารกลางในประเทศกำลังพัฒนาที่ยังคงเจอกับปัญหาเศรษฐกิจจากการระบาด ก็ยังคงไม่น่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นได้เร็วๆ นี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการหลายคนยังคงมีคำถามเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยว่า
1
1. การขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ถึงแม้จะเป็นโดยประเทศที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดี จะทำให้เศรษฐกิจกลับไปซบเซาไหม เพราะสถานการณ์การระบาดก็ยังคงไม่แน่นอน
2. การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะสามารถแก้ปัญหาเงินเฟ้อในบริบทปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่มาจากห่วงโซ่อุปทานที่ขัดข้อง และสินค้าที่ขาดแคลน ได้หรือ
ดังนั้น ปัญหาเงินเฟ้อในตอนนี้ ก็ยังคงเป็นอะไรที่ทั่วโลกต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
1
ผู้เขียน : บูชิตา ปิตะกาศ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
1
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
โฆษณา