Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FT.แฟนข่าว Thai
•
ติดตาม
24 ม.ค. 2022 เวลา 13:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ
"คลัง" เดินหน้าเก็บภาษี คริปโทฯ-ที่ดิน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังไม่มีนโยบายที่ยกเว้นภาษีกำไรจากการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ภาคเอกชนเสนอให้ยกเว้นไป 1-2 ปี เนื่องจากกรมสรรพากรได้ดำเนินการเก็บภาษีดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 61 แล้ว ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาธุรกรรมยังไม่มากจึงไม่มีปัญหาในการจัดเก็บ แต่ในปี 64 การซื้อขายเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้กรมสรรพากรต้องหาแนวทางการยื่นแบบของผู้เสียภาษีให้ถูกต้องและเกิดความสะดวกมากขึ้น
ส่วนการเก็บภาษีจากการขายหุ้นนั้น กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะเกือบทุกประเทศในโลกมีการเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นทั้งนั้น เพียงแต่จะเก็บรูปแบบใดเท่านั้น โดยมีอาจเป็นการเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเมื่อมีธุรกรรมซื้อขายเกิดขึ้น หรือ เก็บเป็นภาษีอากรแสตมป์ หรือการเก็บจากส่วนกำไรจากการซื้อขายหุ้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยก็จะดูรูปแบบที่ทำให้การเก็บภาษีง่ายที่สุด
ขณะที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น นายอาคม กล่าวว่า จากที่ได้หารือกับกระทรวงมหาดไทยสรุปว่าจะไม่มีการลดหย่อน 90% หรือเสียแค่ 10% ของภาระภาษีเหมือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาแล้ว เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์การระบาดโควิดและเศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้นแล้ว จึงให้มีการเก็บภาษีที่ดินเต็มจำนวน เพื่อที่จะไม่กระทบกับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)เนื่องจาก 2 ที่ผ่านมา มีการลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้รายได้หายไปจำนวนมาก และไม่ได้รับการชดเชยจากสำนักงบประมาณด้วย
นายอาคม ยังกล่าวอีกว่า กระทรวงการคลังยังไม่มีนโยบายลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเพื่อให้ราคาถูกลง เพราะเรื่องดังกล่าวรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนที่จะใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในดูแลราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร ซึ่งขณะนี้เชื่อว่ากองทุนน้ำมันฯ ยังมีสภาพคล่องเพียงพอ ทั้งการสนับสนุนจากภาครับและรายได้จากเงินนำส่ ดังนั้น มาตรการภาษีคงเป็นหนทางสุดท้าย อีกทั้งคาดว่าเมื่อพ้นฤดูหนาวไปแล้ว ราคาน้ำมันน่าจะปรับลดลง
ภาษีคริปโต
ภาษี
วางแผนภาษี
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย