21 มี.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
บทความ Blockdit ตอน
The Rashomon Effect
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
1
อะไรคือ The Rashomon Effect
(มีสปอยเลอร์หนังเรื่อง ราโชมอน)
1
ประตูราโชมอน (羅生門) ​ในเมืองเกียวโตสร้างในปี ค.ศ. 789 กว้าง 32 เมตร สูง 7.9 เมตร ส่วนหนึ่งเป็นกำแพงหินสูง
1
ผ่านไปสามร้อยปี กำแพงนี้กลายเป็นซากปรักหักพัง เป็นที่ซ่องสุมของโจร มีคนนำศพหรือทารกมาทิ้ง มันเป็นห้วงเวลาที่สังคมญี่ปุ่นเต็มไปด้วยความขัดแย้ง พฤติกรรมสุดโต่งของคน
1
กำแพงปรักหักพังที่ราโชมอนเป็นสัญลักษณ์ของความเสื่อมโทรมของผู้คน ในด้านศีลธรรม ความเสื่อมของอารยธรรมวัฒนธรรมญี่ปุ่น และเป็นฉากของหนังญี่ปุ่นเรื่อง ราโชมอน (Rashomon 羅生門)
 
หนังเรื่องนี้สร้างมาจากเรื่องสั้นสองเรื่องของ Ryunosuke Akutagawa (芥川 龍之介) คือเรื่อง Rashomon (羅生門 1915) และ In a Grove (藪の中 1921)
หนังกวาดรางวัลมากมาย และเป็นที่พูดถึงจนกระทั่งปัจจุบัน ไม่เพียงในด้านการสร้างภาพยนตร์ แต่ในมุมมองของสังคม
1
กำแพงปรักหักพังที่ราโชมอน
อากิระ กุโรซาวา ทำหนังเรื่องนี้ตอนอายุสี่สิบ บริษัทหนังลังเลที่จะสร้างเรื่องนี้ เพราะไม่คิดว่าจะมีใครสนใจ แต่ผลออกมาตรงข้าม มันได้ทั้งเงินและกล่อง
เมื่อหนังเรื่องนี้ออกฉายที่ต่างประเทศทางตะวันตก ทุกคนตะลึง ไม่เคยดูหนังอย่างนี้มาก่อน มันฉีกแนว ใหม่สด มีวิธีเล่าเรื่องที่ไม่เหมือนใคร กุโรซาวาพาโลกภาพยนตร์สู่โลกศิลปะ
หนังเปิดเรื่องที่พายุฝนถล่มเมือง คนสามคนร่วมชายคาหนีฝนที่ประตูราโชมอนแห่งเมืองเกียวโต คือพระ คนตัดไม้ และขอทาน ทั้งสามคุยเรื่องเหตุการณ์ร้ายที่เพิ่งเกิดขึ้น นั่นคือผู้หญิงคนหนึ่งถูกข่มขืนในป่า สามีนางซึ่งเป็นซามูไรเสียชีวิต และโจรคนหนึ่งชื่อทาโจมารุถูกจับ
5
คนตัดไม้เล่าว่า เขาเป็นคนพบศพซามูไรขณะไปตัดไม้ในป่าเมื่อสามวันก่อน เขาพบหมวกของผู้หญิงซึ่งเป็นของภรรยาซามูไร เชือกเส้นหนึ่งที่ถูกตัดขาด เป็นเชือกที่ใช้มัดร่างซามูไร
1
เขาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
1
พระเล่าว่าในวันที่เกิดเหตุ เขาเห็นซามูไรกับเมีย
1
ทั้งสองถูกทางการเรียกไปให้การ ทางการจับตัวโจรคนหนึ่งได้ แต่ละคนก็ให้การต่อศาล
1
คำให้การของโจร
โจรมีชื่อว่า ทาโจมารุ ให้การว่าตนลวงซามูไรไปดูดาบเก่าเล่มหนึ่ง หลังจากนั้นก็มัดซามูไรกับต้นไม้ เขาคิดข่มขืนเมียซามูไร นางจะปลิดชีวิตตนเองด้วยมีดสั้น แต่โจรยึดตัวนางไว้ได้
ภรรยาซามูไรละอาย ขอให้โจรประลองดาบกับสามี เพื่อไม่ให้รู้สึกผิดที่ตกเป็นของชายสองคน
1
โจรจึงยอมปล่อยตัวซามูไร ทั้งสองสู้กันอย่างดุเดือด โจรมีฝีมือดีกว่า ฆ่าซามูไรตาย ทำให้ภรรยาซามูไรหนีไป
คำให้การของภรรยาซามูไร
1
ภรรยาซามูไรให้การต่อเจ้าหน้าที่ว่าโจรข่มขืนนางแล้วจากไป นางขอให้สามียกโทษให้นาง แต่เขาไม่แยแสนาง
นางตัดเชือกให้สามีเป็นอิสระแล้วขอให้เขาฆ่านาง เพื่อพ้นความอัปยศอดสู นางหมดสติ เมื่อรู้สึกตัวก็เห็นสามีถูกฆ่าตาย มีดสั้นปักอก นางคิดฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ
คำให้การของซามูไร
ศาลฟังคำให้การของซามูไรผ่านคนทรงเจ้า ซามูไรให้การว่า โจรทาโจมารุข่มขืนเมียของเขา แล้วขอให้นางไปกับเขา นางตกลง และขอให้ทาโจมารุฆ่าสามีนางเสีย เพื่อที่นางจะไม่รู้สึกผิดที่ตกเป็นของชายสองคน
2
ทาโจมารุให้ซามูไรเลือกว่าจะปล่อยภรรยาของเขาไปหรือจะฆ่านาง
วิญญาณซามูไรบอกว่า ยอมยกโทษให้โจร
ภรรยาซามูไรหนีไป ทาโจมารุปล่อยซามูไรเป็นอิสระ ซามูไรฆ่าตัวตายด้วยมีดสั้นของภรรยา ต่อมามีคนฉวยมีดสั้นเล่มนั้นไป
คำให้การของคนตัดไม้
กลับมาที่ประตูราโชมอน หลังจากการตัดสินของศาลแล้ว
คนตัดไม้บอกว่าเรื่องที่ทั้งสามคนเล่านั้นไม่จริง คนตัดไม้บอกว่าเขาเป็นประจักษ์พยานการข่มขืนและฆาตกรรม แต่ไม่ได้เข้าให้การเพราะไม่อยากเกี่ยวข้องด้วย คนตัดไม้เล่าว่าทาโจมารุขอให้ภรรยาซามูไรแต่งงานกับตน ภรรยาซามูไรปล่อยตัวสามี ซามูไรไม่อยากสู้กับโจร เพราะไม่คิดว่าคุ้มค่าที่จะปกป้องภรรยาที่มีราคีแล้ว แต่นางยั่วยุให้ทั้งสองสู้กัน
ทั้งสองสู้กันอย่างเสียไม่ได้ และไม่ดุเดือดอย่างที่โจรเล่า โจรชนะซามูไรได้อย่างบังเอิญ ภรรยาซามูไรหนีไป
 
นี่คือคำให้การของคนสี่คน ปัญหาคือคำให้การของแต่ละคนขัดแย้งกัน
 
อะไรคือความจริง?
หนังเรื่อง ราโชมอน เสนอความจริงหลายชุด เป็นไปได้ที่คนให้การแต่ละคนโกหกด้วยเหตุผลบางอย่าง เป็นไปได้ที่คนให้การเชื่อสิ่งที่เห็นจริง แต่ให้การเพี้ยนเพราะสิ่งที่ประกอบเป็นเรื่องตามพื้นฐานของแต่ละคนต่างกัน เป็นไปได้ที่แต่ละคนมองเหตุการณ์ไม่ครบส่วนและตีความเอง เป็นไปได้ที่แต่ละคนมีอคติที่ซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึก และให้การตามความจริงบางส่วนผสมอคติ เป็นไปได้ที่คำให้การที่แต่ละคนเล่ามาจากสิ่งที่เขาเห็นจริง แต่ตีความผิด กลายเป็นคำให้การผิด? ฯลฯ
2
เราอาจเรียกความจริงชุดต่างๆ นี้ว่า alternative facts
1
ความจริงชุดเดียวกันเมื่อมองจากคนละมุม คนละพื้นฐาน คนละความคิด ก็สามารถบิดเบี้ยวได้อย่างไม่น่าเชื่อ
1
ความจริงไม่ครบถ้วนก็อาจไม่ใช่ความจริง
2
แต่แค่ไหนจึงจะเข้าข่าย ‘ครบถ้วน’?
ทว่าในเมื่อเรารู้ว่ามันต้องมีความจริงเดียว ซามูไรตายเพราะเหตุเดียว เราจะมองข้อมูลที่ขัดแย้งกันแล้วตัดสินอย่างไร
นานปีมาแล้วผมเขียนเรื่องสั้นแนวทดลองเรื่องหนึ่งชื่อ คดีมโนสาเร่ (ในชุด อาเพศกำสรวล) เรื่องนี้ตัดข่าวจริงจากหนังสือพิมพ์มาจำนวนหนึ่ง แล้วแต่งร้อยเรียงเป็นเรื่องใหม่ นั่นคือแปลงความจริงตามรายงานข่าวเป็นความจริงอีกชุดหนึ่ง
3
ประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะ ส่วนข่าวหนังสือพิมพ์เขียนโดยคนเห็นเหตุการณ์ หรือคนที่เชื่อว่าเห็นเหตุการณ์ทั้งหมด
4
แต่ใครจะสามารถบอกได้ว่า ข้อมูลจากข่าวหนังสือพิมพ์เป็น ‘ความจริง’ ทั้งหมด?
2
เรื่องสั้น คดีมโนสาเร่ เสนอ ‘ความจริง’ ให้อีกชุดหนึ่ง โดยอิงข้อมูลที่มีประจักษ์พยานทุกประการ
2
เรื่องสั้นแนวทดลองเรื่องนี้บอกว่า
  • 1.
    ความจริงอาจไม่ใช่สิ่งที่เห็น สิ่งที่เห็นก็อาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป
  • 2.
    ข่าวหนังสือพิมพ์ที่เราอ่านอาจจะรายงานโดยอคติหรือข้อมูลไม่ครบถ้วน ภาพที่ผู้สื่อข่าวหรือพยานเห็นอาจเป็นสิ่งที่เห็นจริง แต่มันก็ปนกับความคิดหรือบทสรุปเองของผู้สื่อข่าวหรือพยาน ทำให้มันกลายเป็นความจริงชุดใหม่
3
‘ความจริง’ ใหม่นี้ก็ไม่ต่างจากคำให้การของตัวละครในเรื่อง ราโชมอน นั่นเอง
นี่ทำให้เราต้องตั้งคำถามว่า ประวัติศาสตร์ที่เราอ่านกันมีความจริงมากน้อยเพียงไร
1
แต่บ่อยครั้ง เช่นเดียวกับหนัง ราโชมอน เราก็ไม่อาจหาพบความจริง เช่นที่เราไม่มีทางรู้ความจริงในหนังเรื่อง ราโชมอน เพราะมันออกแบบมาให้ไม่มีทางสรุปได้
คำบอกเล่าของแต่ละคนไม่ตรงกัน ให้การตามความคิดของตนเอง อย่างนี้ กลายเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์ เรียกว่า The Rashomon Effect
2
Rashomon Effect ตั้งคำถามเรื่องอัตวิสัย (subjectivity) คู่กับภววิสัย (objectivity) ของมนุษย์ สิ่งที่เข้าใจ (perception) ความจำของคน
3
subjectivity คือสิ่งที่ตั้งอยู่บนความรู้สึก ความคิดส่วนตัว
5
objectivity คือสิ่งที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง ว่ากันที่หลักฐาน หรือกระบวนการแบบวิทยาศาสตร์
1
perception คือภาพที่เราหเ็นบวกความรู้สึกหรือข้อมูลเดิมในหัว
เรามักมองภาพไม่ครบ และมีความคิดปรุงแต่งล่วงหน้าเร็วเกินไป เช่น เรามองเห็นชายคนหนึ่งจูงเด็กหญิงเดินไป เราอาจสรุปจากประสบการณ์หรือภาพที่เคยเห็นมาก่อนว่า เด็กหญิงคนนั้นเป็นลูกสาวของชายคนนั้น แต่ความจริงอาจเป็นว่า ชายคนนั้นอาจเป็นคนร้ายลักพาเด็กหญิงไปขาย
2
การมองภาพภาพหนึ่งแล้วสรุปเลยว่าเป็นสัญชาตญาณปกติของคนทั่วไป มันก็คืออคติแบบหนึ่ง บ่อยครั้งกระทำโดยจิตใต้สำนึก
4
สำหรับความจำของมนุษย์ก็ไม่ใช่สิ่งที่เชื่อถือได้ เพราะมันมีจุดอ่อนโดยธรรมชาติ ต่อให้เรามีสมองระดับไอน์สไตน์ หรือเราเชื่อว่าเราจำได้แม่นแค่ไหน มันก็มีข้อผิดพลาด เพราะสมองคนถูกหลอกได้ และนักมายากลก็ใช้จุดอ่อนนี้มาหากินหลอกตาเรา
1
นักวิทยาศาสตร์ทางสมองทดลองมานานแล้ว ได้ผลว่าสมองของคนสามารถถูกหลอกได้อย่างง่ายดาย
ตัวอย่างการทดลอง เช่น เราเล่าเรื่องของชายขอทานที่สี่แยกซอยอโศกให้เพื่อนฟัง ผ่านไปหลายเดือน เมื่อเพื่อนไปที่สี่แยกนั้น อาจ ‘จำ’ ขึ้นมาว่าเคยเห็นขอทานนั่งอยู่ที่นั่น ทั้งที่เขาไม่เคยเห็นขอทานที่นั่นมาก่อน เขารวมภาพขอทานจากเรื่องที่เพื่อนเล่าให้ฟังเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำใหม่ของเขา แล้วเขาก็เชื่ออย่างนั้นจริงๆ
ปรากฏการณ์อย่างนี้ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Orwellian เป็นคำมาจากนวนิยายเรื่อง 1984 ของ จอร์จ ออร์เวลล์ ในนวนิยายกระทรวงแห่งความจริงเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ให้คนเชื่อ
ประสาทมนุษย์จึงเป็นพยานที่แย่ที่สุดในศาล เพราะมันอาจปนอคติหรือความคิดปรุงแต่งล่วงหน้าไป ตัวอย่างเช่น การพบยูเอฟโอ ร้อยละ 99 มีความคิดปรุงแต่งล่วงหน้าแล้วว่าเป็นยูเอฟโอ
ดังนั้นในโลกวิทยาศาสตร์ ประจักษ์พยานไม่ว่าจะน่าเชื่อถือเพียงใด ท้ายที่สุดแล้วก็ว่ากันที่หลักฐาน ในกระบวนการยุติธรรม ศาลจึงเชื่อพยานวัตถุมากกว่าคำให้การ เพราะการโยงเรื่อง คิดเอาเอง ไม่เป็นวิทยาศาสตร์
1
ในชีวิตจริง Rashomon Effect เกี่ยวข้องกับเราทุกคน ไม่เพียงแต่ในพื้นที่ของวงการยุติธรรม แต่เป็นเรื่องทั่วไปด้วย บ่อยครั้งโดยที่เราไม่รู้ตัว เราติดนิสัยตัดสินตามสิ่งที่เห็น ไม่ค่อยวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เห็นถูกหรือไม่ น่าเชื่อถือเพียงไร
2
เราอยู่ในโลกที่สนใจความจริงท่อนที่เราอยากรู้ เช่น ดาราคนนี้นอนกับดาราคนนั้นจริงหรือเปล่า มากกว่าจะรู้ความจริงทั้งหมด เวลาอ่านนิยายนักสืบ เราต้องการรู้ให้แน่ว่าใครคือฆาตกร เราต้องการบทสรุปความจริงแบบเดียวที่เราสามารถจับต้องได้
นี่ทำให้เราอาจติดนิสัยไม่มองต่างมุม
โลกปัจจุบันอาจเลวร้ายกว่าโลกของ ราโชมอน มันเต็มไปด้วย fake news ข้อมูลจริงและเท็จปนกัน คนเสพอาจสามารถก่นด่าใครคนหนึ่งได้อย่างง่ายดาย ด้วยภาพที่เห็นไม่ครบ หรือสรุปก่อนที่จะรู้ความจริงทั้งหมด
1
เราอยู่ในโลกที่บิดเบี้ยวของความจริงผสมความลวง ราวกับว่าเราอยู่ในจักรวาลคู่ขนานที่ซ้อนทับกัน จนเราแทบไม่สามารถไว้ใจใครหรืออะไรได้อีกต่อไป เราระแวงว่าสิ่งรอบตัวเราอาจเป็นเรื่องโกหก มันเป็นโลกที่ห่างไกลจากสังคมอุดมคติหลายปีแสง
1
สำหรับกุโรซาวา นี่ย่อมไม่ใช่โลกที่น่าอยู่ และเขาก็สะท้อนความคิดนี้ในเชิงสัญลักษณ์ในหนัง
กุโรซาวาใช้สัญลักษณ์ประตูราโชมอนในหนังอยู่ในสภาพซากปรักหักพัง ฉากส่วนใหญ่ในหนังหม่นมืด นับแต่ฉากแรกที่ฝนตกหนัก ไปจนถึงฉากป่าที่มืด แสงอาทิตย์ไม่แทงทะลุยอดไม้ลงมา ก็สะท้อนว่ามันเป็นโลกที่ไม่สดใส โลกที่มีแต่คำลวง
นี่ก็ไม่ต่างจากภาพสังคมญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงสงครามชาวญี่ปุ่นรู้ความจริงแค่บางส่วน และเป็นความจริงที่บ่อยครั้งบิดเบี้ยว
1
เป็นสังคมที่อยู่ในสภาพซากปรักหักพัง
2
แล้วจะทำอย่างไร?
ก็หายใจแล้วเดินหน้าต่อไป อยู่กับโลกของคำลวงให้ดีที่สุด
ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ในตอนท้ายเรื่อง ราโชมอน หนังแสดงให้เห็นว่าโลกยังมีความหวัง
บางทีกุโรซาวาต้องการบอกเราว่า บางครั้งมันไม่สำคัญที่จะรู้ความจริงทั้งหมด
3
ประโยชน์ของ Rashomon Effect ในชีวิตจริงก็คือไม่สำคัญว่าความจริงคืออะไร แต่อยู่ที่เรามองความจริงอย่างไร และใช้มันอย่างไร
4
โฆษณา