25 ม.ค. 2022 เวลา 11:00 • การเกษตร
โรคราสีชมพู รู้ก่อน ป้องกันก่อน
โรคราสีชมพู
โรคราสีชมพู เป็นเชื้อราที่จะอาศัยอยู่ตามกิ่ง ง่ามกิ่ง และลำต้น เชื้อจะเดินทางโดยอาศัยอยู่ในท่อน้ำ
ท่ออาหาร และเจริญเติบโตปกคลุมกิ่ง โรคราสีชมพูเกิดจากเชื้อราครอติเซียม(Corticium salmonicolor)
มักพบใน ต้นทุเรียน, ส้ม, มะม่วง, ลำไย, ลองกอง, เงาะ, กาแฟ และต้นยางพาราเป็นต้น
อาการของเชื้อราสีชมพู มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากโรคไฟทอปธอร่า ลักษณะของโรค
จะสังเกตได้ว่าตามกิ่งหรือตามโคนจะมีจุดสีขาวปกคลุมอยู่ซึ่งเป็นระยะเริ่มแรกของเชื้อ
เมื่อลุกลามมากขึ้นเชื้อราตัวนี้จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู ส่งผลให้ใบแห้ง เหลืองซีด และบริเวณลำต้นจะมีน้ำเยิ้มออกมา
พอเอานิ้วจิ้มเข้าไปเนื้อไม้จะเละเนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายในส่วนของลำต้น
อาการจะเห็นได้ชัดในช่วงฤดูฝน ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถกำจัดเชื้อได้โดยตรง
เชื้อราตัวนี้จะแพร่กระจายโดยการสร้างสปอร์ และสปอร์จะเกาะไปตามลม ฝน และแมลง
เชื้อราตัวนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปีในการพัฒนาเชื้อ ปัจจุบันเมื่อติดเชื้อทำได้เพียงแค่ฉีดพ่นยาป้องกันเท่านั้น
เมื่อเชื้อเริ่มหายต้นจะเริ่มสร้างเนื้อเยื่อใหม่ อาจใช้เวลาประมาณ 2-3ปี หรือมากกว่านั้นถึงจะหายขาด
การป้องกันของเชื้อราตัวนี้ คือ ทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง แต่งกิ่งที่เจริญซ้อนทับออก
ควบคู่ไปกับการฉีดสารป้องกันจากภายนอก จำพวกเมทาเลกซิล เมนโคเซป และทำการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกไม่ให้รกทึบ
ในฤดูฝนหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้ใช้สารในกลุ่ม อะซอกซิสโตบิน
เพื่อช่วยยับยั้งการงอกของสปอร์และเส้นใยของเชื้อรา หากพบอาการเริ่มของโรคที่กิ่ง
ให้ถากหรือเฉือนส่วนที่เป็นเชื้อราออกให้หมด ถ้าเชื้อราเจริญเข้าไปใต้เปลือกและลุกลามมาก
เมื่อเชื้อราหายต้นไม้จะเริ่มฟื้นฟูตัวเอง
สามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ จากพวกเราได้ที่
Facebook page : GLOBAL HEAL - ผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพผลผลิต และเกษตรกร
Blockdit : GLOBALHEAL
Line : @globalheal

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา